พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาชี้ การพักยอดเรียกเก็บเพื่อตรวจสอบเอกสาร ยังไม่ถือเป็นการเริ่มนับอายุความ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำสั่ง จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาให้แก่โจทก์อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: การพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวไม่ตัดอายุความ เริ่มนับเมื่อโจทก์แจ้งเรียกเก็บใหม่
จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยจำเลยมีสิทธินำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบการและถอนเงินสดจากธนาคารที่เป็นสมาชิกของโจทก์ และโจทก์ตกลงออกเงินทดรองจ่ายให้แก่สถานประกอบการและธนาคารแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงรวบรวมหลักฐานเรียกเก็บเงินจากจำเลย จำเลยจะต้องชำระเงินที่เรียกเก็บแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงิน หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในรูปของค่าทดแทนการออกเงินทุนไปก่อนและค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บ โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยระบุยอดเงินที่จำเลยจะต้องชำระซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวได้รวมรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. 11 รายการ รวมอยู่ด้วย จำเลยคัดค้านว่าไม่ได้ใช้จ่ายตามรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. ทั้ง 11 รายการ โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบกับร้านค้าตามใบเรียกเก็บเงิน เมื่อโจทก์ตรวจสอบกับร้านค้าเสร็จแล้ว โจทก์ได้ยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวและได้ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยอีกโดยให้จำเลยชำระภายในกำหนดแต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาการใช้บัตรของจำเลยและเรียกให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ภายใน 10 วัน แต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินไว้ก่อนเพื่อตรวจสอบนี้เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนดอายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ตามใบเรียกเก็บเงินซึ่งจำเลยจะต้องชำหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้จำนวนดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
แม้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสมอไปไม่ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความดังที่โจทก์ฎีกา คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสมอไปไม่ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความดังที่โจทก์ฎีกา คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกินดุลพินิจ - คดีขาดนัด - การคืนค่าธรรมเนียมศาล
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าซึ่งมีหลายวิธี ทั้งการให้กู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินหรือด้วยวิธีอื่นใดที่สามารถทำได้ในการให้สินเชื่อหรือหลักประกันแก่ลูกค้า โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่น จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าโจทก์สามารถทำธุรกรรมการเงินกับโจทก์โดยไม่จำกัดวิธีหนึ่งวิธีใดเพียงอย่างเดียว การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ทำหนังสือรับรองวงเงินกู้ระยะสั้น และออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ ซึ่งล้วนเป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อขึ้นทั้งหมดกับโจทก์ โดยมิได้แบ่งแยกว่าเป็นประกันหนี้รายใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละรายการจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย
การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 202 ประกอบด้วยมาตรา 132 บทบัญญัติสองมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่า ให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ก็เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่มีระเบียบให้ต้องคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 202 ประกอบด้วยมาตรา 132 บทบัญญัติสองมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่า ให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ก็เป็นเรื่องที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่มีระเบียบให้ต้องคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในการพิจารณาคดีหลังการกระทำเสร็จสิ้น การฟ้องขอปรับปรุงสิ่งแวดล้อมหลังถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จแล้วจึงไม่มีประโยชน์
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 290 และ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 23 แสดงให้เห็นว่า ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 พยายามทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตหาดมาหยาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 กระทำหรือขอให้บังคับจำเลยที่ 4 ที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติได้ ซึ่งรวมทั้งฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้ด้วย
คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่และอาศัยอยู่บริเวณรอบอ่าวมาหยายื่นฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหา คือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมแม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไร ถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหาย หรือเกิดมลพิษอย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุง ตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอน มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้ว การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคำขอดังกล่าวต่อไป
คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่และอาศัยอยู่บริเวณรอบอ่าวมาหยายื่นฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหา คือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมแม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไร ถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหาย หรือเกิดมลพิษอย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุง ตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอน มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้ว การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคำขอดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอุทธรณ์: การส่งสำเนาคำอุทธรณ์และผลของการไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตามภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีร้องขัดทรัพย์และการคืนค่าธรรมเนียมศาลเมื่อผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งวางประกัน
คำสั่งของศาลชั้นต้นให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้ร้องไม่นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 132 (2) โดยเฉพาะ มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้เสียทีเดียว ไม่เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เสียไว้ในเวลายื่นคำฟ้อง กรีนี้เป็นการจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรมิใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่า ธรรมเนียมศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีขัดทรัพย์และการคืนค่าธรรมเนียมศาล ศาลมิได้บังคับคืนค่าธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีตาม ม.288 วรรคสอง (1) ประกอบ ม.132 (2)
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยมาตรา 132 (2) มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 151 ที่ศาลต้องมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดแต่เป็นกรณีตามมาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้ศาลกำหนดเงื่อนไขเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล การที่ศาลไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลายของโจทก์ไม่ทำให้คดีอาญาที่ฟ้องไว้ระงับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์แล้ว กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ รวมทั้งการดำเนินคดีฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น และถึงแม้โจทก์สิ้นสภาพบุคคลและเป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ก็ตาม ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าในคดีอาญานั้น เมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้วให้คดีอาญาระงับไปไม่ คงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังอยู่จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันหรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสองมิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำหน่ายคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลใช้ดุลพินิจชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีนี้อันเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์และมีคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการทวงหนี้แก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ คดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การยกข้อต่อสู้คดีหลายประการ แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดในคดีล้มละลายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเท่ากับเป็นการให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเจรจากับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของโจทก์แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องเสียหายไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีของโจทก์จึงเป็นการชอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้อยู่ในบังคับที่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131และมาตรา 132 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งที่จำหน่ายคดีเนื่องจากล้มละลาย ศาลต้องคืนค่าขึ้นศาลเพื่อบรรเทาภาระแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย บทบัญญัติของกฎหมายในมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการ ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือ การประนีประนอม ยอมความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับ จำเลยทั้งหกเป็นพับจึงชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ซึ่งเกิดจากเหตุที่จำเลยทั้งหก ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น โจทก์ทั้งสองก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกด้วย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่คืน ค่าธรรมเนียมให้โจทก์ทั้งสองเลยนั้น น่าจะเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสอง
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ซึ่งเกิดจากเหตุที่จำเลยทั้งหก ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น โจทก์ทั้งสองก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกด้วย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่คืน ค่าธรรมเนียมให้โจทก์ทั้งสองเลยนั้น น่าจะเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสอง