คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดีลูกหนี้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว แม้เจ้าหนี้จะถอนคำขอรับชำระหนี้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง และ ต่อมาได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173แม้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีที่ฟ้องนั้นเสีย จำเลยก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 25ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ มิใช่มีอำนาจสั่งงดการพิจารณาไว้อย่างเดียวโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีอื่นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 105, 106เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ไว้ในคดีล้มละลายด้วย การพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 เสียได้ ตามมาตรา 25 ตอนท้าย คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
ระหว่างที่คดีโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้โจทก์จะขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยชอบแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป ตามคำร้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้น การอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้จนกว่าคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว คำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้สั่งไว้ด้วยว่า เมื่อคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงเพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งตามมาตรา 196 เช่นกัน(อ้างนัยฎีกาที่ 157/2506 และ 1621/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ขอเลื่อนคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้จนกว่าคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งจะถึงที่สุดและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว คำสั่งให้รอการไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นได้สั่งไว้ด้วยว่า เมื่อคดีอีกเรื่องหนึ่งนั้นถึงที่สุดแล้วให้โจทก์แถลงเพื่อจะได้พิจารณาคดีนี้ต่อไปไม่ใช่คำสั่งจำหน่ายคดีโดยเด็ดขาด เป็นคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งตามมาตรา 196 เช่นกัน(อ้างนัยฎีกาที่ 157/2506 และ 1621/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการยุติธรรมไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยไม่รอสำเนาอุทธรณ์จากผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้โจทก์แก้ภายใน 7 วัน ผู้ร้องไม่นำส่งภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นสั่งให้รวบรวมสำนวนส่งศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาต่อไป ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาดังกล่าวแต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีโดยมิชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ผู้ร้องฎีกามายังมิได้ผ่านการพิจารณาและพิพากษาของศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง การตกลงนอกกฎหมายไม่สามารถใช้แทนการปฏิบัติตามกฎหมายได้
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา70เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์นี้แต่ประการใดศาลอุทธรณ์จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 132 (1) แล้ว. โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ได้ตกลงกับทนายจำเลยให้มารับสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลสั่งแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่ทนายจำเลยไม่มารับโจทก์มิได้เพิกเฉย ดังนี้ถือว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: การปฏิบัติตามกฎหมายสำคัญกว่าประเพณี
การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ในคดีแพ่ง ผู้อุทธรณ์เป็นผู้มีหน้าที่จัดการนำส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา70 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์นี้แต่ประการใดศาลอุทธรณ์จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 132(1) แล้ว. โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ได้ตกลงกับทนายจำเลยให้มารับสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลสั่งแล้วซึ่งเป็นประเพณีที่เคยปฏิบัติมา แต่ทนายจำเลยไม่มารับโจทก์มิได้เพิกเฉย ดังนี้ ถือว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกและการจำหน่ายคดีหลังคู่ความมรณะ: อำนาจศาลและเงื่อนไขการจำหน่ายคดีตามมาตรา 42
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะหลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้วนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่สั่งรับฎีกาของคู่ความฝ่ายที่มรณะ คดีย่อมยังอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยสั่งได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเองเมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดี จนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีมิได้
(วรรคท้าย วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกความแทนคู่ความที่มรณะหลังศาลอุทธรณ์พิพากษา และอำนาจศาลชั้นต้นในการวินิจฉัยสั่ง
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะหลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้วนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่สั่งรับฎีกาของคู่ความฝ่ายที่มรณะ คดีย่อมยังอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยสั่งได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดี จนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นศาลฎีกา โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีมิได้
(วรรคท้าย วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)
of 36