คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามกำหนดระยะเวลา ทำให้ไม่อาจยกคดีขึ้นพิจารณาได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์มิได้แถลงต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งศาล และเพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาลกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาและการทิ้งฎีกา: การแจ้งคำสั่งรับฎีกาและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้และสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง และจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี อันเป็นการทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8885/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ กรณีทนายจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนเดียวกัน
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก็เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสยื่นคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องสอด แต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องสอดผู้ยื่นอุทธรณ์และทนายจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันมีผลเท่ากับว่าทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้ร้องสอดได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมาแต่ต้นและจำเลยอาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้อยู่แล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องสั่งให้ผู้ร้องสอดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้อีก ดังนั้น แม้ผู้ร้องสอดจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องสอดทิ้งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6527/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งเรื่องทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุด แม้มีการอ้างเหตุผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะให้มีการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าทุนทรัพย์พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท แต่จำเลยก็มิได้กระทำ จึงมีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 ดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในเรื่องที่ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์โดยจำเลยไม่มีโอกาสคัดค้านอย่างไร ก็ไม่อาจมีผลกระทบถึงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัย ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกันและการยกฟ้องคดี การไต่สวนข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหกเสร็จสิ้น ในวันนัดอ่าน คำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ไม่คัดค้าน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แถลงคัดค้านว่าทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียเปรียบและยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันในวงเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ชำระเงินให้โจทก์ 10,000,000 บาท จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมพ้นความรับผิดไปด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาให้ศาลไต่สวนเพื่อวินิจฉัยยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที 2 และที่ 3 แล้ว ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672-1674/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าวิชาชีพผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการหลังศาลล้มละลายกลางแก้ไขคำสั่ง และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดค่าตอบแทนแล้ว
คดีนี้ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งสามและตั้งผู้ทำแผน ต่อมาผู้ทำแผนยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขออนุญาตเบิกจ่ายเงินของลูกหนี้ทั้งสามเพื่อชำระค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผน ศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาต ต่อมามีการโอนสำนวนไปยังศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของศาลแพ่ง ผู้ทำแผนจึงยื่นคำร้องขอเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายส่วนที่ค้างต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลล้มละลายกลางสั่งยกคำร้อง ผู้ทำแผนจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ทำแผนเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายจากบัญชีของลูกหนี้ทั้งสามได้ เมื่อปรากฏว่าภายหลังจากที่ผู้ทำแผนยื่นอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งสามโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้กำหนดค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายหรือคดีฟื้นฟูกิจการโดยหักจากเงินในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายให้ผู้ทำแผนแล้วโดยผู้ทำแผนมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เท่ากับว่าผู้ทำแผนสามารถเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้อยู่แล้วตามคำสั่งศาลดังกล่าว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ทำแผนอีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การชำระหนี้ครบถ้วนในคดีหย่า ทำให้ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินสินสมรสได้อีก
ในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ หากแต่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับ ธ. ซึ่งเป็นสามีซื้อมาในระหว่างสมรสแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นน้อง ธ. ไว้แทนจึงเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับ ธ. หย่ากันจึงต้องแบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ถ้าไม่ยอมแบ่งก็ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ซึ่งในการแบ่งทรัพย์สินที่ดินแปลงนี้ก็มีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลในชั้นบังคับคดีและศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้องและ ธ. ยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่า ธ. ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่อาจที่จะร้องขอให้ขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาได้อีกต่อไป ในคดีนี้โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสในคดีเดิมให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะชนะคดีนี้ในชั้นฎีกา โจทก์ก็ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้ คดีของโจทก์จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่การจะจำหน่ายคดีไปโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทคืนโจทก์กึ่งหนึ่งไว้ก็เป็นการไม่ชอบเพราะเท่ากับให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้อีก จึงเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีบุตรชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตได้หากไม่กระทบสิทธิจำเลย
แม้กฎหมายเปิดโอกาสให้เด็กและจำเลยซึ่งเป็นมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์ซึ่งเป็นบิดาขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ แต่กฎหมายก็เปิดช่องให้ศาลพิพากษาให้มีการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนจากคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว ดังนั้น แม้จำเลยจะยกปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลโดยมิได้ขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อนายทะเบียนเสียก่อนขึ้นอ้าง เมื่อศาลยังไม่เห็นสมควรที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำและใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้โดยชอบ
ศาลมีดุลพินิจในการสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีได้อย่างกว้างขวาง โดยคำนึงถึงความสุจริตของคู่ความเป็นสำคัญ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อไปดำเนินการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต่อนายทะเบียนให้ถูกต้องตามขั้นตอนหาใช่เป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตไม่ ทั้งคดีเป็นประเด็นปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนระหว่างคู่กรณีที่มีความรักความผูกพันกันมาก่อนอันอาจตกลงกันได้ในที่สุด มิใช่การต่อสู้ชนิดเอาเป็นเอาตาย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นพับโดยมิได้สั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเดือนและบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) ซึ่งมีผลทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิขออายัดเงินเช่นว่านั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็โดยมีเจตนารมณ์จะให้ข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาลทั้งที่ยังรับราชการอยู่และพ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลเหล่านี้ ที่ตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือบำนาญได้มีเงินเลี้ยงชีพ การที่นำเงินเช่นว่านั้นมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทมาตราดังกล่าว
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินเดือนและบำเหน็จข้าราชการ: การคุ้มครองสิทธิในการเลี้ยงชีพและการพิจารณาคดีอุทธรณ์
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286(2) ซึ่งมีผลทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิขออายัดเงินเช่นว่านั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็โดยมีเจตนารมณ์จะให้ข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาลทั้งที่ยังรับราชการอยู่และพ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลเหล่านี้ที่ตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือบำนาญได้มีเงินเลี้ยงชีพ การที่นำเงินเช่นว่านั้นมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทมาตราดังกล่าว
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
of 36