พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนได้
ตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในข้อ 11.01 ตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งตามสัญญาทุกอย่างให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันความบกพร่องของงานเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาก่อสร้างอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญา และเมื่อเกิดข้อโต้แย้งดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ติดต่อทวงถามตามที่คิดว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยก่อน เมื่อจำเลยไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่เหนือจำเลย ข้อโต้แย้งตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยเกิดก่อนการเสนอคำฟ้องต่อศาลแล้ว
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว คำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ" ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใด และใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่ จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว คำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ" ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใด และใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่ จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7926/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนได้
ตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในข้อ 11.01 ตกลงกันให้มีการเสนอข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งตามสัญญาทุกอย่างให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด และตามคำฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันความบกพร่องของงานเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาก่อสร้างอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญา และเมื่อเกิดข้อโต้แย้งดังกล่าว แล้วโจทก์ได้ติดต่อทวงถามตามที่คิดว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยก่อน เมื่อจำเลยไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่เหนือจำเลย ข้อโต้แย้งตามสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยเกิดก่อนการเสนอคำฟ้องต่อศาลแล้ว
ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้วคำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ"ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใดและใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำให้การก่อน และเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ จำเลยก็ต้องยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้เช่นกันดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจออกคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ได้
การที่คู่สัญญาทำสัญญาอนุญาโตตุลาการก็เพื่อให้มีการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยโดยชอบแล้วคำวินิจฉัยในข้อพิพาทนั้นเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลให้นำข้อพิพาทนั้นมาพิจารณาพิพากษาอีกเพียงแต่หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อีกฝ่ายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ
เมื่อคดีมีเหตุที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์จำเลยดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนแล้ว ก็ไม่มีข้อพิพาทในคดีนี้ค้างให้ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า "คู่กรณีจะจัดให้มีการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ภายใต้ระเบียบหอการค้านานาชาติ"ไม่ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยจะต้องเสนอข้อพิพาทต่อหอการค้านานาชาติของประเทศใดและใช้กฎหมายประเทศใดวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น ชั้นไต่สวนของศาลชั้นต้น ทนายโจทก์แถลงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาซึ่งต้องตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแต่หลังจากฟ้องคดีแล้วโจทก์เกิดความไม่มั่นใจว่าจะเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาหรือไม่จึงได้เสนอข้อพิพาทนี้ต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ถือว่าทิ้งคำร้องแม้ผู้ร้องไม่ดำเนินการทันตามกำหนด หากศาลมิได้แจ้งคำสั่งและผู้ร้องยังมีความพยายาม
เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยครั้งแรกไม่ได้ผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยใหม่ แม้จะไม่ได้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง กลับสั่งให้คำแถลงของผู้ร้องว่า "ไม่พบ ให้ปิด" โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย และเมื่อพนักงานเดินหมายนำหมายนัดและสำเนาคำร้องไปส่งให้แก่จำเลยครั้งที่สอง ก็ส่งให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะไม่พบป้ายชื่อจำเลย ผู้จัดการจำเลย และไม่มีผู้รับหมายไว้แทนแต่มีผู้แจ้งว่าจำเลยย้ายสำนักงานไปนานแล้ว พนักงานเดินหมายจึงไม่ได้ปิดหมายศาลชั้นต้นสั่งในรายงานการเดินหมายว่า "รอผู้ร้องแถลง" โดยมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องต่อไป ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยถึงเกือบ 8 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รอผู้ร้องแถลง" ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลไม่อนุญาตให้คิดค่าใช้ที่ดินหากฟ้องแต่ค่าเสียหายจากการรุกล้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษายกประเด็นค่าเช่าที่ดิน หากฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจาก จำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดินการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการพิพากษาให้ชดใช้ค่าใช้ที่ดินเป็นการนอกประเด็นฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้วจำเลยเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่า ไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอา เป็นค่าเสียหายของโจทก์โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดิน จากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อ โดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้าง โดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็น เรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย เนื่องจากโรงเรือนของจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบศาลฎีกาย่อม พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลย ชำระ ค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี โดยคำนึงถึงความผิดพลาดจากเจ้าหน้าที่
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องวางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมาย แต่มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล ดังนี้ การที่ผู้ร้องได้วางเงินค่านำหมายหาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่จึงต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่แม้จะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดีล้มละลาย การวางค่าธรรมเนียมยังไม่ปลดหน้าที่นำส่งสำเนา
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องวางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมาย แต่มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล ดังนี้ การที่ผู้ร้องได้วางเงินค่านำหมายหาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่จึงต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่แม้จะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทนายจำเลยหลังจำเลยแต่งตั้งทนาย และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยได้แต่งทนายความต่อสู้คดีและให้ว่าความในชั้นขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้วจึงเห็นสมควรให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ทนายจำเลยแทน ให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540โจทก์ได้วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยในศาลชั้นต้นโดยศูนย์หน้าบัลลังก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่ในวันที่16 พฤษภาคม 2540 โจทก์ยังยืนยันว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยได้รื้อถอนบ้าน อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยออกไป และในวันนัดไต่สวนคำร้อง ขออายัดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมรับ หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งประกาศ โฆษณาแจ้งให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วจึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174(2) กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 132 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้โจทก์จะทิ้งฟ้อง แต่ยัง ไม่สมควรจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหา แห่งคดีไปเสียทีเดียว ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับให้โจทก์จัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการใช้ดุลพินิจของศาลฎีกาในการไม่จำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยได้แต่งทนายความต่อสู้คดีและให้ว่าความในชั้นขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้ว จึงเห็นสมควรให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ทนายจำเลยแทน ให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540โจทก์ได้วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยในศาลชั้นต้นโดยศูนย์หน้าบัลลังก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 โจทก์ยังยืนยันว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยได้รื้อถอนบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยออกไป และในวันนัดไต่สวนคำร้องขออายัดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งประกาศโฆษณาแจ้งให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 (2)
กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 132 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้โจทก์จะทิ้งฟ้อง แต่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหาแห่งคดีไปเสียทีเดียว ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับ ให้โจทก์จัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วดำเนินการต่อไป
กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 132 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้โจทก์จะทิ้งฟ้อง แต่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหาแห่งคดีไปเสียทีเดียว ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับ ให้โจทก์จัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วดำเนินการต่อไป