คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำร้องอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา – ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 223 ทวิ ทำให้ศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิคดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน การยอมรับข้อเสนอของเจ้าหนี้ทำให้สิทธิในการเพิกถอนสิ้นสุด
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาทแทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5)ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของผู้คัดค้านที่ 3แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3 และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ การถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนหลังประนีประนอมยอมความ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนตามมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้โดยผู้คัดค้านที่ 3 ได้ชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย การที่ผู้คัดค้านที่ 3 ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอผู้ร้องขอชดใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1,400,000 บาท แทนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กองทรัพย์สินของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145(5) ดังนี้เมื่อปรากฏว่าที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ ผู้คัดค้านที่ 3 แล้ว จึงเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องประนีประนอมยอมความกับผู้คัดค้านที่ 3และโดยผลแห่งการประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับให้เพิกถอนการโอนอีกต่อไป กรณีไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนของผู้ร้อง และการที่จะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่คัดค้านการเพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับที่ 3 ย่อมไม่เป็นประโยชน์ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้คัดค้านที่ 3 ออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอคืนค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นและให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้น ตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนด ให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้ตามมาตรา 132จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง การที่โจทก์อ้างว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้นระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีสิทธิไม่คืนค่าธรรมเนียม
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้ เมื่อ ป.วิ.พ.มาตรา 132 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้นตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง และวรรคสองเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดระเบียบให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่กล่าวข้างต้น ส่วนการที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท & การวินิจฉัยผิดสัญญา: ศาลฎีกาเน้นการพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา & สิทธิของผู้เช่าที่ดิน
คชก.ตำบล ค. วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3ยังไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมาก ซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่ โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้ วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะ ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิเช่าทำนา, การผิดสัญญา, และผลกระทบต่อการบังคับคดี
คชก.ตำบล ค.วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3 ยังไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524 มาตรา 58
แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมากซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3 อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิพากษาถึงแก่กรรมก่อนอ่านคำพิพากษา
เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง และถือว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ต่อมาผู้คัดค้านโดยทนายผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านถึงแก่กรรมไปแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้คัดค้านจะรับมรดกความกันไม่ได้เช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมรณะก่อนมีคำพิพากษา: คำพิพากษาเรื่องความสามารถของบุคคลเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิจารณาเสียชีวิตก่อน
เมื่อ ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ศาล ศาลชั้นต้น จึง งด อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ ให้ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง และ ถือว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ต่อมา ผู้คัดค้าน โดย นาย ผู้คัดค้าน ยื่นฎีกา พร้อม กับ คำร้องขอ ให้ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ไป แล้ว และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ คดี เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ ผู้คัดค้าน จะ รับมรดก ความ กัน ไม่ได้ เช่นนี้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ด้วย
of 36