คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: การจำหน่ายคดี
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้น ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ผลก็คือโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยผู้ขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 เป็นฝ่ายชนะคดีและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมเป็นอันยกเลิกไปในตัว ตามมาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 260 (1)จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5739/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฎีกา และการกำหนดจำนวนหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่งจำหน่ายคดี มิใช่เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
กรณีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา132 (1) ไม่ได้บังคับว่าศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอไป บทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
ปัญหาว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ให้การไว้และมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ล้วนแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจริง หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวสามารถคิดคำนวณเป็นจำนวนแน่นอนได้ จึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับฟ้องก่อนการชำระค่าขึ้นศาลเป็นเหตุให้คำสั่งและกระบวนการพิจารณาต่อมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคดีที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในเวลายื่นคำฟ้องนั้น หากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์และกำหนดระยะเวลาให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้อีกฝ่ายไม่ได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้เสียค่าขึ้นศาล และศาลยังมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฟ้องโจทก์ตลอดจนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงคำสั่งจำหน่ายคดีย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2)(ก)กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องทำให้ฎีกาคดีคุ้มครองชั่วคราวเป็นอันสิ้นผล
เมื่อโจทก์ได้ขอถอนฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ฎีกาในชั้นการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาซึ่งเป็นคดีสาขาเป็นอันสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย คดีไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องทำให้ฎีกาคดีคุ้มครองชั่วคราวสิ้นผลบังคับ
เมื่อโจทก์ได้ขอถอนฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วฎีกาในชั้นการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาซึ่งเป็นคดีสาขาเป็นอันสิ้นผลบังคับไปโดยปริยายคดีไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้อง & ละเมิดจากจัดการงานเกินอำนาจ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 133
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ ทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 396 บัญญัติว่า "ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการ เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่า ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น หรือน่าจะรู้ว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ หลังจากหมดงบประมาณแล้ว และโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมา กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงาน หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา 396 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการหนี้ของหน่วยงานราชการโดยผู้กำกับดูแล หากเป็นการทำตามหน้าที่และหน่วยงานรับรู้ ไม่ถือเป็นการขัดความประสงค์
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณีไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรรและไม่รายงานให้จำเลยที่1ทราบทำให้จำเลยที่1ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีมิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10ปี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396บัญญัติว่า"ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดีหรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดีและผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้นแม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่าผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้วและโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานหาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา396ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดของผู้จัดการ การขัดต่อความประสงค์ของตัวการ และอายุความฟ้องคดี
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 กรมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 1 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. นำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของกรมโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้ว แต่โจทก์ก็รับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานไม่ใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 396 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การจัดการงานที่ขัดต่อความประสงค์ของตัวการ, และขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีข้อสงสัยเรื่องการรับคำให้การ การไต่สวนใหม่ไม่กระทบผล
ศาลสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228(3) ในระหว่างที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำให้การศาลชั้นต้นได้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปและศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาคดีไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228วรรคสองจนศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นแต่อย่างใดคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้วการที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำให้การใหม่ไม่ว่าผลการไต่สวนจะเป็นประการใดย่อมไม่อาจจะทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
of 36