พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความเปลี่ยนแปลง ผู้รับโอนมีสิทธิใช้อายุความเดิมได้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ2ลักษณะ1หมวด4นั้นเป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทนมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วยโดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับอ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม)หรือมาตรา193/34(1)(ใหม่)นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)หรือมาตรา193/12(ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิหักค่าวัสดุค้างชำระจากค่าจ้างที่โอนให้โจทก์ได้
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง มีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ ร.จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคหนึ่ง แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อ ร.ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้ โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อจำเลยได้คำนวนค่าวัสดุที่ ร.ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้าง คงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักค่าวัสดุค้างชำระ: สิทธิของผู้รับโอนจำกัดตามข้อตกลง
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ร. จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308วรรคหนึ่งแล้วสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อร. ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อจำเลยได้คำนวณค่าวัสดุที่ร. ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้างจำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้างคงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอายุความ: ผลของการให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อนต่อการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ
ขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของจากจำเลยซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไป โดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้หลังโอนสิทธิเรียกร้อง: อายุความและการสละสิทธิ
คำว่า "ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน" ตาม ป.พ.พ.มาตรา 308 นั้นหมายความว่า ข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้อง ถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้อง ย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้น เมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว. คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง & อายุความ: ผลของการยินยอมโอนสิทธิเมื่ออายุความยังไม่ครบ
คำว่า"ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308นั้นหมายความว่าข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่การโอนสิทธิเรียกร้องการที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้องแต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้องย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ดังนั้นเมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด5ปีจำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อนและโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้เดิม การใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา
อ. ทำสัญญาโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากจำเลยตามสัญญาจ้างให้โจทก์ โดย อ. มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยและจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์ให้ความยินยอม การโอนหนี้ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง และคู่กรณีย่อมเกิดสิทธิและหน้าที่ผูกพันกัน โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องเรียก อ. ผู้โอนเข้าเป็นคู่ความร่วม และกรณีเช่นนี้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่มีต่อ อ.ผู้โอนขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างของ อ. ผู้โอนขึ้นต่อสู้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เช่นเดียวกัน โจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน อ. ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ตามสัญญาจ้างที่ อ. มีต่อจำเลยขึ้นต่อสู้จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยและได้ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำงานตามสัญญาจ้าง อ. หยุดงานก็เพราะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยสั่ง และเหตุที่สั่งก็เพราะราษฎรเริ่มทำนา ฝนตกเกิดอุทกภัยให้ระงับการก่อสร้างไว้จนกว่าชาวนาจะเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ และต่อมาได้แจ้งให้ อ. เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อไปแล้ว ดังนั้นการหยุดงานดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของ อ. ทั้งจำเลยเองก็ได้เสนอความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาให้แก่ อ. และขออนุมัติต่อสัญญาไปยังปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่า อ. เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ปัญหาว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างมีคำสั่งไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการก็ดี เมื่อสั่งให้หยุดงานแล้วไม่รายงานให้จำเลยทราบก็ดี เป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการตรวจการจ้างกับจำเลย จะยกขึ้นยัน อ. เจ้าหนี้หรือโจทก์ผู้รับโอนหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและการยกข้อต่อสู้ระหว่างลูกหนี้ ผู้โอน และผู้รับโอน
โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้จาก ฉ.โดยทำเป็นหนังสือและได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนได้นั้นจะต้องเป็นข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้โอน หาใช่ข้อต่อสู้ระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ ดังนั้น กรณีที่ผู้โอนจะเป็นหนี้ผู้รับโอนหรือไม่ จึงเป็นเรื่องระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนมิใช่ระหว่างผู้โอนกับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยจึงหามีสิทธิยกเอาข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ไม่การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ฉ. กับโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินตามหมายอายัดที่ไม่ผูกมัดผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และความเสียหายจากการชำระหนี้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ
การที่คดีก่อนจำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 แล้วขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดตามคำขอนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของเดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. และจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไปคำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัด แต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ตามสัญญา
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว..." ต่อมาจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมมีหนังสือตอบไปยังผู้ร้องว่า "จำเลยร่วมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ผู้ร้องแจ้งมา แต่ผู้ร้องจะได้เงินค่าจ้างเพียงเท่าที่จำเลยจะพึงได้รับจากจำเลยร่วมตามสัญญาจ้างดังกล่าวเท่านั้น" ย่อมเท่ากับว่าจำเลยร่วมได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตามสัญญาจ้างดังกล่าว รวมทั้งตามสัญญาข้อ 14 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 308แล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามสัญญาจ้าง จำเลยร่วมย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามสัญญาจ้างที่ตนมีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ เมื่อจำเลยค้างจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อมใช้สิทธิตามสัญญาจ้างข้อ 14 หักเงินจำนวนดังกล่าวจากค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิหักไว้นี้.