คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 308

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้าง ผู้รับโอนสิทธิได้รับสิทธิเท่าผู้โอน
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง... ผู้รับจ้างยอม ให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้ แก่ ผู้รับจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง ของ ผู้รับจ้าง ได้ และให้ ถือ ว่า เงิน จำนวน ที่ จ่าย ไป นี้ เป็น เงิน ค่าจ้าง ที่ผู้รับจ้าง ได้รับ ไป จาก ผู้ว่าจ้าง แล้ว..." ต่อมา จำเลย โอนสิทธิเรียกร้อง ใน การ รับเงิน ค่าจ้าง ตาม สัญญา ดังกล่าว ให้แก่ ผู้ร้อง ผู้ร้อง มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอน ไป ยัง จำเลยร่วมจำเลยร่วม มี หนังสือ ตอบ ไป ยัง ผู้ร้อง ว่า "จำเลยร่วมพิจารณา แล้ว ไม่ขัดข้อง ใน การ โอน สิทธิเรียกร้อง ตาม ที่ผู้ร้อง แจ้ง มา แต่ ผู้ร้อง จะ ได้ เงิน ค่าจ้าง เพียง เท่าที่จำเลย จะ พึง ได้รับ จาก จำเลยร่วม ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวเท่านั้น" ย่อม เท่ากับ ว่า จำเลยร่วม ได้ โต้แย้ง แสดง การสงวนสิทธิ ของ จำเลยร่วม ที่ มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวรวม ทั้ง ตาม สัญญา ข้อ 14 ไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 แล้วสิทธิ ของ ผู้ร้อง ที่ จะ ได้รับ เงิน ดังกล่าว จึง ไม่อาจ เกิน ไปกว่า สิทธิ ที่ จำเลย มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง จำเลยร่วม ย่อม สามารถยก ข้อต่อสู้ ตาม สัญญาจ้าง ที่ ตน มี ต่อ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้โอนขึ้น ต่อสู้ กับ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้รับโอน ได้ เมื่อ จำเลยค้างจ่าย เงิน ค่าจ้าง แก่ โจทก์ ผู้ เป็น ลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อม ใช้สิทธิ ตาม สัญญาจ้าง ข้อ 14 หักเงิน จำนวน ดังกล่าว จากค่าจ้าง ที่ จำเลยร่วม จะ ต้อง จ่าย ให้ แก่ ผู้ร้อง เพื่อ นำ ไปจ่าย ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ได้ ผู้ร้องไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา เงิน ที่ จำเลยร่วม ได้ ใช้สิทธิ หักไว้ นี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561-5567/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: เพียงแจ้งลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอม ก็ใช้ยันบุคคลภายนอกได้
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างถนนของกรุงเทพมหานครลูกหนี้ได้โอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวให้ผู้ร้องโดยทำเป็นหนังสือและผู้ร้องได้ส่งคำบอกกล่าวแจ้งการโอนไปยังกรุงเทพมหานครเป็นหนังสือแล้ว จึงต้องด้วยแบบพิธีสำหรับการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 ทุกประการ การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นอันสมบูรณ์ สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การโอนย่อมหลุดจากจำเลยไปสู่ผู้ร้องแล้ว และย่อมใช้ยันกรุงเทพมหานครลูกหนี้ และใช้ยันโจทก์ลูกจ้างของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่ากรุงเทพมหานครลูกหนี้จะได้ยินยอมในการโอนนั้นด้วยหรือไม่ โจทก์หามีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวไม่
ข้อความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ที่ว่า'ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น' กฎหมายต้องการเพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้ประกอบกันทั้งสองประการจึงจะถือว่าการโอนสมบูรณ์และใช้ยันลูกหนี้กับบุคคลภายนอกได้ ที่บัญญัติว่า ลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นกรณีที่ใช้ประกอบกับมาตรา 308 ซึ่งมีความหมายว่าหากลูกหนี้ยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อนแล้วย่อมทำให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้อันตนมีอยู่ต่อเจ้าหนี้มาใช้แก่ผู้รับโอน แต่หาทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขประการแรกตกเป็นอันไม่สมบูรณ์ด้วยการที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561-5567/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: เพียงบอกกล่าวการโอนก็สมบูรณ์ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างถนนของกรุงเทพมหานครลูกหนี้ได้โอนหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวให้ผู้ร้องโดยทำเป็นหนังสือและผู้ร้องได้ส่งคำบอกกล่าวแจ้งการโอนไปยังกรุงเทพมหานครเป็นหนังสือแล้ว จึงต้องด้วยแบบพิธีสำหรับการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306ทุกประการ การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นอันสมบูรณ์ สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การโอนย่อมหลุดจากจำเลยไปสู่ผู้ร้องแล้ว และย่อมใช้ยันกรุงเทพมหานครลูกหนี้ และใช้ยันโจทก์ลูกจ้างของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่ากรุงเทพมหานครลูกหนี้จะได้ยินยอมในการโอนนั้นด้วยหรือไม่ โจทก์หามีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวไม่
ข้อความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ที่ว่า'ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น' กฎหมายต้องการเพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้นไม่ได้ต้องการให้ประกอบกันทั้งสองประการจึงจะถือว่าการโอนสมบูรณ์และใช้ยันลูกหนี้กับบุคคลภายนอกได้ ที่บัญญัติว่า ลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นกรณีที่ใช้ประกอบกับมาตรา 308 ซึ่งมีความหมายว่าหากลูกหนี้ยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อนแล้วย่อมทำให้ลูกหนี้หมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้อันตนมีอยู่ต่อเจ้าหนี้มาใช้แก่ผู้รับโอน แต่หาทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขประการแรกตกเป็นอันไม่สมบูรณ์ด้วยการที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับโอนตั๋วเงินดีกว่าผู้โอน ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดชอบแม้มีข้อพิพาทกับผู้โอน
ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินลงวันล่วงหน้าให้แก่บริษัทโรงงานฝ้ายกรุงเทพฯๆ สลักหลังโอนให้โจทก์ๆ ผู้ทรงเช็คได้รับไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแล้วถือว่าเช็คนั้นย่อมสมบูรณ์จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมกับบริษัทโรงงานฝ้ายกรุงเทพฯ ผู้โอนเช็คขึ้นมาต่อสู้มิได้เพราะในหลักเรื่องตั๋วเงินมีว่าผู้รับโอนย่อมมีอำนาจดีกว่าผู้โอนหาใช่ผู้โอนมีอำนาจดีกว่าผู้รับโอนดังนั้นผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังยอมรับผิดต่อผู้ทรงเช็คคือโจทก์เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เงินตามเช็คเต็มจำนวนแล้วโจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยได้ ทั้งมิใช่เป็นการแปลงหนี้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา349 เพราะระหว่างโจทก์และบริษัทโรงงานฝ้ายมิได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ยังคงปฏิบัติถือตามหนี้เดิมอยู่
แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ที่โรงงานฝ้ายโอนเช็คใช้ให้ครบจำนวนแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่เรียกเงินจากจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่าย-การโอนสิทธิ-การรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง
ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่โรงงานฝ้ายกรุงเทพฯ ๆ สลักหลังโอนให้โจทก์ ๆ ผู้ทรงเช็คได้รับไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแล้วถือว่าเช็คนั้นย่อมสมบูรณ์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมกับบริษัทโรงงานฝ้ายกรุงเทพฯ ผู้โอนเช็คขึ้นมาต่อสู้มิได้ เพราะในหลักเรื่องตั๋วเงินมีว่าผู้รับโอนย่อมมีอำนาจดีกว่าผู้โอนเช็คให้ผู้โอนมีอำนาจดีกว่าผู้รับโอน ดังนั้นผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมรับผิดต่อผู้ทรงเช็คคือโจทก์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เงินตามเช็คเต็มจำนวนแล้ว โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยได้ ทั้งมิใช่เป็นการแปลงหนี้ตามความใน ป.พ.พ. ม.349 เพราะระหว่างโจทก์และบริษัทโรงงานฝ้ายมิได้ทำสัญญาเปลี่ยนซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ที่โรงงานฝ้ายโอนเช็คใช้ให้ครบจำนวนแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่เรียกเงินจากจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตรากฎหมายที่ใช้ ณ เวลาเสียภาษี แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับภายหลัง และสิทธิเรียกร้องเงินประกัน
การคิดค่าภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตราในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเสียภาษีซึ่งเจ้าพนักงานออกใบขน แม้ต่อมาประกาศใช้พิกัดอัตราใหม่โดยยังไม่ส่งของออกก็คิดภาษีตามพิกัดใหม่ไม่ได้
เจ้าพนักงานศุลกากรเรียกเงินประกันค่าภาษีจากผู้ขนส่งที่จะเรียกภาษีเพิ่มจากผู้ส่งของ ความจริงจะเรียกภาษีเพิ่มไม่ได้ เมื่อผู้สั่งของรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินนั้นและแจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว ผู้ส่งของย่อมฟ้องเรียกเงินนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเพิกถอนการซื้อขายฝากและการโอนสิทธิ
ในเรื่องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลการขายฝากและการโอน จำเลยต่อสู้ว่าเจ้าหนี้ทราบการขายฝากก่อนครบกำหนดไถ่ถอน โจทก์มาฟ้องคดีหลังจากครบกำหนดไถ่ถอน ล่วงเลยเวลามาหลายปีดังนี้ ถือว่าจำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว จำเลยไม่ต้องเจาะจงว่าคดีขาดอายุความ 1 ปีตามมาตรา 240
อายุความซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้นั้น ย่อมยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง & ข้อต่อสู้ของลูกหนี้ต่อผู้รับโอนสิทธิ
การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระนั้น เมื่อลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้โอนฉันใด ก็ย่อมยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้เสมอ การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เพราะถูกศาลหมายสั่งอายัดการชำระหนี้เป็นการถูกบังคับตามกฎหมายเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดและย่อมยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ได้
of 5