พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าระวางขนส่งสินค้า ศาลพิจารณาหลักฐานเอกสารและการโต้แย้งของจำเลยเพื่อพิพากษาตัดสิน
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้คำจำกัดความของคำว่า "อุปกรณ์แห่งค่าระวาง" ว่า "ค่าใช้จ่ายอย่างใดที่ผู้ขนส่งได้เสียไปโดยควรในระหว่างขนส่ง ซึ่งตามประเพณีในการขนส่งทางทะเลถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวาง..." ดังนั้น ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวางจึงมีอายุความเป็นอย่างเดียวกัน ในกรณีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้กำหนดอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าระวางไว้ แต่ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) บัญญัติไว้ว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี...(3)...ค่าระวาง..." อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าระวางจึงมีกำหนด 2 ปี ตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าระวางทางทะเล, การแก้ไขฟ้องหลังชี้สองสถาน, และผลกระทบต่ออายุความ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเพิ่มจำนวนเงินค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางที่เรียกร้องให้จำเลยชำระ จากฟ้องเดิมตามใบเรียกเก็บเงิน 178 ฉบับ จำนวน 87,038.03 ดอลลาร์สหรัฐ ขอเพิ่มเติมอีก 102 ฉบับนั้น โจทก์ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีหนี้จำนวนนั้นที่จำเลยค้างชำระอยู่ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวาง ซึ่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้คำนิยามของอุปกรณ์แห่งค่าระวางโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวาง ดังนั้น ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางจึงมีอายุความเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้กำหนดอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าระวางไว้ จึงต้องใช้อายุความตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) กำหนดไว้ว่าสิทธิเรียกร้องค่าระวางมีกำหนด 2 ปี โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 และหนี้ตามใบแจ้งหนี้จำนวน 178 ฉบับ ล้วนเป็นใบแจ้งหนี้ที่ครบกำหนดชำระหลังวันที่ 25 ตุลาคม 2543 เมื่อนับถึงวันฟ้อง จึงยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับหนี้ตามใบแจ้งหนี้ในส่วนนี้ จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวาง ซึ่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ให้คำนิยามของอุปกรณ์แห่งค่าระวางโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวาง ดังนั้น ค่าระวางและอุปกรณ์แห่งค่าระวางจึงมีอายุความเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้กำหนดอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าระวางไว้ จึงต้องใช้อายุความตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (3) กำหนดไว้ว่าสิทธิเรียกร้องค่าระวางมีกำหนด 2 ปี โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 และหนี้ตามใบแจ้งหนี้จำนวน 178 ฉบับ ล้วนเป็นใบแจ้งหนี้ที่ครบกำหนดชำระหลังวันที่ 25 ตุลาคม 2543 เมื่อนับถึงวันฟ้อง จึงยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับหนี้ตามใบแจ้งหนี้ในส่วนนี้ จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย ต้องพิจารณาหน่วยการขนส่งที่แท้จริงตามกฎหมาย
โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งเป็นเช็ค แต่ผู้รับตราส่งไม่สามารถนำเช็คไปเรียกเก็บเงินได้จึงจัดส่งคืนโจทก์ จากนั้นผู้รับตราส่งตกลงให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับค่าสินไหมทดแทนผู้รับตราส่ง และโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รับตราส่งแล้ว เท่ากับโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งซึ่งมีต่อผู้ขนส่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และ "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่นเมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าการขนส่งสินค้าครั้งนี้ สินค้ามี 880 ชุด บรรจุอยู่ในลังหรือกล่องกระดาษรวม 22 ลัง และวางบนไม้รองสินค้า 2 ไม้รองสินค้าดังนี้ แม้สินค้ามี 880 ชุด แต่ชุดของสินค้าดังกล่าวไม่ใช่หน่วยการขนส่งตามคำนิยามข้างต้น ส่วนไม้รองสินค้าตามคำนิยามก็เป็นเพียงภาชนะขนส่ง เมื่อสินค้าที่ขนส่งมี 22 ลัง แต่ละลังที่บรรจุสินค้าอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละลังที่บรรจุสินค้าเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าทั้งหมดมี 22 ลัง ใน 1 ลังบรรจุสินค้ารวม 40 ชุด แต่สินค้าได้รับความเสียหายรวม 660 ชุด เท่ากับ 17 ลัง หรือ 17 หน่วยการขนส่ง ดังนี้ จำเลยและจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดเป็นเงิน 170,000 บาท และเมื่อโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ และผู้รับตราส่งมีสิทธิเท่ากับผู้ส่ง เมื่อผู้ขนส่งมีสิทธินำการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม มาตรา 58 มาใช้บังคับได้ ผู้ขนส่งจึงยกการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าวมาใช้อ้างต่อโจทก์ได้ด้วย
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และ "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่นเมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าการขนส่งสินค้าครั้งนี้ สินค้ามี 880 ชุด บรรจุอยู่ในลังหรือกล่องกระดาษรวม 22 ลัง และวางบนไม้รองสินค้า 2 ไม้รองสินค้าดังนี้ แม้สินค้ามี 880 ชุด แต่ชุดของสินค้าดังกล่าวไม่ใช่หน่วยการขนส่งตามคำนิยามข้างต้น ส่วนไม้รองสินค้าตามคำนิยามก็เป็นเพียงภาชนะขนส่ง เมื่อสินค้าที่ขนส่งมี 22 ลัง แต่ละลังที่บรรจุสินค้าอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละลังที่บรรจุสินค้าเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าทั้งหมดมี 22 ลัง ใน 1 ลังบรรจุสินค้ารวม 40 ชุด แต่สินค้าได้รับความเสียหายรวม 660 ชุด เท่ากับ 17 ลัง หรือ 17 หน่วยการขนส่ง ดังนี้ จำเลยและจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดเป็นเงิน 170,000 บาท และเมื่อโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ และผู้รับตราส่งมีสิทธิเท่ากับผู้ส่ง เมื่อผู้ขนส่งมีสิทธินำการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม มาตรา 58 มาใช้บังคับได้ ผู้ขนส่งจึงยกการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าวมาใช้อ้างต่อโจทก์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งแบบ CY/CY และความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อไม่มีหลักฐานการสูญหายระหว่างขนส่ง
วิธีการขนส่งแบบ CY Loading คือผู้ส่งสินค้าจะเป็นผู้บรรจุสินค้าของตนเข้าไปในตู้สินค้า และปิดผนึกตู้สินค้านั้นด้วยผนึกที่ผู้ขนส่งให้มา ดังนั้น ในการขนถ่ายสินค้าทั้งสองครั้ง โจทก์ผู้ส่งมีหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้สินค้าและผนึกที่ตู้สินค้า เมื่อผนึกที่ตู้สินค้าเมื่อถึงปลายทางที่สถานที่ของผู้รับตราส่งยังเป็นผนึกเดิม แสดงว่าระหว่างการขนส่งสินค้าในตู้สินค้าไม่ได้ถูกขนถ่ายออกจากตู้สินค้าเลย จึงฟังไม่ได้ว่าสินค้าสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวตนผู้ขนส่งทางทะเลและการรับผิดของผู้ออกเช็คชำระค่าขนส่ง
แม้ในใบตราส่งช่องลายมือชื่อของผู้ขนส่งที่มุมขวาด้านล่างจะใช้คำว่า VIRGO LINE by LEO TRANSPORT CORPORATION LTD. AS AGENT FOR THE CARRIER ซึ่งแปลได้ความว่าโจทก์ในฐานะตัวแทนเพื่อ VIRGO LINE ผู้ขนส่ง แต่ใบตราส่งนี้เป็นเพียงหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่ตัวสัญญารับขนของทางทะเล และสัญญารับขนของทางทะเลไม่มีแบบ โจทก์จึงสามารถนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารนี้ได้ว่าโจทก์รับขนของทางทะเลโดยใช้ชื่อในการประกอบกิจการว่า VIRGO LINE อันเป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และโจทก์ใช้เป็นชื่อในการออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง ดังนี้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางทะเลมีสิทธิเรียกค่าระวางและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งจากจำเลยที่ 1 และที่ 2
ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบธุรกิจค้าขายตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยร่วมขายสินค้าและติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ขนส่งกับชำระค่าจ้างขนส่งและค่าดำเนินการต่างๆ ทั้งเป็นผู้ชำระค่าระวางและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งโดยชำระด้วยเช็คส่งมอบให้โจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คทั้ง 6 ฉบับ จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นและยังต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ส่งร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์นำสืบด้วย
ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบธุรกิจค้าขายตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยร่วมขายสินค้าและติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ขนส่งกับชำระค่าจ้างขนส่งและค่าดำเนินการต่างๆ ทั้งเป็นผู้ชำระค่าระวางและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งโดยชำระด้วยเช็คส่งมอบให้โจทก์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คทั้ง 6 ฉบับ จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นและยังต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ส่งร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลดังที่โจทก์นำสืบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน่วยการขนส่งทางทะเล: การกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล
สินค้าพิพาทบรรจุอยู่ในกล่องหรือลังรวม 231 กล่อง บรรจุรวมอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียว แสดงว่าแต่ละกล่องที่บรรจุสินค้ามีสภาพสามารถทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละกล่องที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่งตามคำนิยามในมาตรา 3 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทดังกล่าวถือเป็นภาชนะขนส่ง เมื่อสินค้าได้รับความเสียหาย 31 กล่อง และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของนั้นแล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเป็นเงินไม่เกิน 310,000 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่คำนวณได้ตามน้ำหนักสุทธิแห่งสินค้านั้น เมื่อโจทก์ (ผู้รับประกันภัย) ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเงิน 188,631 บาท โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการขนส่งทางทะเล ความเสียหายสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อเหตุแห่งการเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดในการเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่ง โดยพิจารณาจากเงื่อนไขการส่งมอบและสาเหตุความเสียหาย
แม้ตามใบกำกับสินค้าจะมีข้อความระบุราคาเป็นราคา FOB ก็ตาม แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคู่สัญญาว่า ผู้ซื้อไม่ได้มีหน้าที่ว่าจ้างผู้ขนส่งให้นำเรือไปรับสินค้าจากผู้ขายหรือให้ผู้ขายช่วยว่าจ้างผู้ขนส่งแทน โดยผู้ซื้อออกค่าขนส่งเองตามเงื่อนไขของการซื้อขายแบบ FOB ดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งเมื่อผู้ซื้อพบว่าสินค้าเสียหายและส่งสินค้าคืนแก่บริษัท บ. ตามที่ผู้ขายจะปฏิเสธไม่รับสินค้าตามสิทธิที่กระทำได้หากเป็นการซื้อขายภายใต้เงื่อนไข FOB ดังกล่าว ซึ่งความเสี่ยงภัยในการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าได้ตกอยู่แก่ผู้ซื้อแล้ว เนื่องจากมีการขนสินค้าข้ามพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางแล้ว แต่ผู้ขายก็ยอมรับสินค้าคืน ซึ่งส่อแสดงว่าคู่สัญญาดังกล่าวมิได้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไข FOB เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าคู่สัญญาซื้อขายรายนี้ระบุข้อความคำว่า "FOB" เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับราคาสินค้าเพียงเพื่อใช้แสดงราคาเท่านั้น มิใช่มีข้อตกลงให้นำเรื่องหน้าที่และการโอนความเสี่ยงภัยตามเงื่อนไข FOB ของ INCOTERM มาใช้ด้วย ดังนั้น เมื่อสินค้าเสียหายผู้ขายจึงยังต้องรับผิด
เหตุแห่งความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลท่วมเข้าไปถูกตู้สินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 4 จึงเป็นกรณีจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และแม้ความเสียหายของสินค้าจะเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านั้นด้วย ตามมาตรา 43 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลอื่นในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย สำหรับจำเลยร่วมที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นได้รับการมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้า เมื่อเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในช่วงการขนส่งที่จำเลยร่วมที่ 3 ได้รับมอบหมายจำเลยร่วมที่สามจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านี้เช่นกัน
ค่าสำรวจความเสียหายถือได้ว่าเป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดด้วย
เหตุแห่งความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลท่วมเข้าไปถูกตู้สินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 4 จึงเป็นกรณีจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และแม้ความเสียหายของสินค้าจะเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านั้นด้วย ตามมาตรา 43 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลอื่นในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย สำหรับจำเลยร่วมที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นได้รับการมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้า เมื่อเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในช่วงการขนส่งที่จำเลยร่วมที่ 3 ได้รับมอบหมายจำเลยร่วมที่สามจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านี้เช่นกัน
ค่าสำรวจความเสียหายถือได้ว่าเป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6131/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้เช่าเรือและผู้เช่าช่วงต่อความเสียหายสินค้า: เจ้าของเรือยังคงรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่า
ตามแบบสัญญาเช่าเรือมาตรฐานที่บริษัทผู้ขาย (ผู้ส่ง) ลงลายมือชื่อไว้ภายหลังเจรจาตกลงกันถึงเงื่อนไขการขนส่งสินค้าพิพาทกับตัวแทนผู้ขนส่ง และมีการกรอกข้อความต่าง ๆ เกี่ยวกับการขนส่งไว้พร้อมกับมีข้อสัญญามาตรฐานแนบท้ายนั้น ได้มีการระบุไว้ในหัวข้อความรับผิดของเจ้าของเรือข้อ 2 ว่า เจ้าของเรือยังคงต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้าที่เรือรับขน และตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 เจ้าของเรือกับจำเลยที่ 4 ผู้เช่าเรือรายแรกก่อนมีการให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงกันต่อไปได้ระบุไว้ว่า ในระหว่างระยะเวลาการเช่า ผู้เช่าเรือสามารถนำเรือออกให้เช่าช่วงต่อไปได้ การส่งมอบเรือที่เช่านั้น จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบเรือที่อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะรับสินค้า ระวางเรือต้องกวาดสะอาดและไม่มีรูรั่ว แข็งแรงกับเหมาะที่จะให้บริการทุกประการ เจ้าหน้าที่ ลูกเรือ วิศวกรและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังต้องเป็นของจำเลยที่ 1 เต็มอัตรา นอกจากนี้ในเงื่อนไขของสัญญาข้อ 1 ระบุไว้ด้วยว่า ระหว่างระยะเวลาการเช่า จำเลยที่ 1 ยังจะต้องจ่ายค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายแก่ลูกเรือ ต้องชำระค่าประกันภัยเรือ และจะต้องดูแลเรือรวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์เรือให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ และข้อ 8 ระบุไว้ว่า นายเรือซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยเจ้าของเรือจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการบรรทุก การเก็บจัดเรียงสินค้าและลงลายมือชื่อในใบตราส่งสำหรับสินค้าที่ตรงกับบัญชีตรวจนับสินค้าและใบรับขนถ่ายสินค้า และผู้เช่าเรือหรือตัวแทนของผู้เช่าเรือก็มีสิทธิที่จะลงลายมือชื่อในใบตราส่งแทนนายเรือได้ด้วย นอกจากนี้ในข้อ 26 ยังได้ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 1 เจ้าของเรือยังคงต้องรับผิดชอบในการเดินเรือ การประกันภัย ลูกเรือ และเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมดเช่นเดียวกับในขณะที่เดินเรือเพื่อประโยชน์ของตนเองอยู่ต่อไป การเช่าเรือดังกล่าวเป็นการเช่าแบบมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ผู้เช่าสามารถนำเรือไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงต่อไปได้อีกเป็นทอด ๆ และรับขนส่งสินค้าได้ โดยเจ้าของเรือเป็นผู้จัดหานายเรือและลูกเรือให้แก่ผู้เช่า หากเกิดความเสียหายกับสินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือ เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของสินค้าหรือผู้รับใบตราส่ง ประกอบกับปรากฏในใบตราส่งว่า ผู้ที่ลงลายมือชื่อในใบตราส่งในช่องที่ผู้ขนส่งต้องลงลายมือชื่อไว้นั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าลงลายมือชื่อไว้ในฐานะตัวแทนของนายเรือ ซึ่งตามปกติแล้วนายเรือย่อมเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเรือที่แท้จริง จึงต้องมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 ในการทำสัญญารับขนของทางทะเลกับบริษัทผู้ขายซึ่งเป็นผู้ส่ง และแม้มีการให้เช่าช่วงจนถึงทอดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ก็ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการเดินเรือและในความเรียบร้อยของอุปกรณ์เครื่องจักรและความปลอดภัยในเรือเพื่อการขนส่งสินค้าพิพาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 2