คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8831/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การเป็นตัวแทนรับขน และขอบเขตการฎีกา
โจทก์สั่งซื้อเครื่องตกแต่งหินแกรนิต จำนวน 2 ชุด จากบริษัท ซ. ประเทศอิตาลี โจทก์ว่าจ้างจำเลยติดต่อขนส่งสินค้าดังกล่าวมาประเทศไทยจำเลยติดต่อบริษัทอินเตอร์คอสเพ็ด จำกัด ประเทศอิตาลี บริษัทอินเตอร์คอสเพ็ด จำกัด ประเทศอิตาลี จ้างจำเลยร่วม ขนส่งสินค้า ที่โจทก์สั่งซื้อจากประเทศอิตาลีมาประเทศไทย ปรากฏว่าสินค้า ของโจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจ เป็นตัวแทนหรือนายหน้าในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำเลย มิได้ประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเอง จำเลยได้ยื่น จดทะเบียนเสียภาษีเป็นตัวแทนนายหน้ากับกรมสรรพากร บริษัทตัวแทนจะมีหน้าที่ในการติดต่อผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อนำสินค้าส่งต่อให้แก่ ผู้ขนส่ง ในการรับสินค้าทางบริษัทตัวแทนจะออกใบเฮ้าส์บิลออฟเลดดิ้งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าตามจำนวนและส่งให้แก่ผู้ขนส่งและผู้ขนส่ง จะออกหลักฐานเป็นบิลออฟเลดดิ้ง หรือใบตราส่ง จำเลยจึงเป็น ตัวแทนผู้ส่ง ไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ร่วมขนส่ง
เรือ พ. ของจำเลยร่วมที่ 2 เดินทางมาถึงท่าเรือบริษัท ด. ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ได้รับมอบสินค้าเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2535 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534ใช้บังคับจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624มาใช้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสอง จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสอง เข้ามาเป็นคู่ความในคดีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2536 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624
ที่โจทก์ฎีกาว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในมูลละเมิด เมื่อจำเลยร่วมทั้งสองถูกเรียกเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อวันที่ 25มีนาคม 2536 ต้องถือว่าโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 25 มีนาคม 2536 คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่าจำเลยต้องรับผิดในมูลหนี้ผิดสัญญารับขนของ หาได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทางทะเล: การออกใบตราส่งถือเป็นการรับขนส่ง และความรับผิดต่อสินค้าเสียหายจากอุณหภูมิไม่เหมาะสม
โจทก์ตกลงว่าจ้างให้จำเลยดำเนินการส่งทุเรียนสดพันธุ์จาก ประเทศไทยไปยังเมืองเกาซุงประเทศไต้หวันโดยทางเรือ จำเลยได้ติดต่อจองระวางเรือ ทำพิธีการศุลกากรและตกลงให้ผู้มีชื่อเป็นผู้ขนส่งทุเรียนพิพาทดังกล่าวไปให้ผู้ซื้อที่ประเทศไต้หวัน โจทก์ตกลงว่าจ้างโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทเริ่มตั้งแต่จัดหารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปรับทุเรียนพิพาทที่จังหวัดจันทบุรี และนำไปส่งที่เรือแหลมฉบัง จำเลยได้ออกใบตราส่ง และรับเงินค่าบริการไปแล้วตามใบตราส่ง มีข้อความระบุว่า บริษัทจำเลยซึ่งเป็นบริษัทขนส่งได้รับสินค้าไว้ถูกต้อง แล้วและจำเลยได้เรียกเก็บเงินค่าระวางขนส่งค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์และค่าธรรมเนียมอื่นจากโจทก์ไปแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทและตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนส่งของทางทะเลพ.ศ. 2534 ใบตราส่งหมายความว่าเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อจำเลยเป็นผู้ออกใบตราส่งจำเลยจึงปฏิเสธว่าจำเลยเป็นเพียงตัวแทนในการติดต่อรับขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งไม่ได้
เหตุที่ทำให้สินค้าพิพาทเสียหายเป็นความผิดของจำเลยผู้ขนส่งและตามภาพถ่ายใบกำกับสินค้าเอกสารระบุว่า ทุเรียนพิพาทมีราคากิโลกรัมละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ โจทก์และจำเลยไม่นำสืบว่าความจริงทุเรียนพิพาทมีราคาเท่าใด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดราคาทุเรียนพิพาทให้กิโลกรัมละ 20 บาทจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทางทะเล: ความรับผิดชอบต่อสินค้าเสียหายและการพิสูจน์การออกใบตราส่ง
โจทก์ตกลงว่าจ้างให้จำเลยดำเนินการส่งทุเรียนสดจากประเทศไทยไปยังเมืองเกาซุงประเทศไต้หวัน โดยทางเรือ จำเลยได้ติดต่อจองระวางเรือ ทำพิธีการศุลกากรและตกลงให้ผู้มีชื่อเป็นผู้ขนส่งทุเรียนไปให้ผู้ซื้อ ที่ประเทศไต้หวัน โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทเริ่มตั้งแต่จัดหารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปรับทุเรียนพิพาท ที่จังหวัดจันทบุรี และนำไปส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยได้ออกใบตราส่งและรับเงินค่าบริการ ตามใบตราส่ง มีข้อความระบุว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้รับสินค้าไว้ถูกต้องแล้วและจำเลยได้เรียกเก็บเงินค่าระวางขนส่ง ค่าเช่า ตู้คอนเทนเนอร์และค่าธรรมเนียมอื่นจากโจทก์ไปแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใบตราส่ง หมายความว่า เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐาน แห่งสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อจำเลยเป็นผู้ออกใบตราส่ง จำเลยจึงปฏิเสธว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของการรับขนสินค้าทางทะเล, อายุความ, และการจำกัดความรับผิดตาม พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล
การขนส่งสินค้าระบบ ซีวาย/ซีวาย เป็นการขนส่งที่ผู้ส่งสินค้าต้นทางจะเป็นผู้ไปรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าที่โกดังของผู้ส่งสินค้า แล้วนำตู้สินค้ามามอบให้แก่ผู้ขนส่ง เมื่อขนส่งตู้สินค้าถึงปลายทางแล้วผู้รับตราส่งจะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจนับสินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเอง เมื่อใบตราส่งที่จำเลยที่ 1ออกระบุไว้ว่าสถานที่รับสินค้า โตเกียวซีวายสถานที่ส่งมอบสินค้ากรุงเทพซีวาย แสดงว่าในการขนส่งสินค้าพิพาทตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับตู้สินค้าจากบริษัท ค. ที่ท่าเรือโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนถึงท่าเรือกรุงเทพ แล้วบริษัท น. จะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปตรวจนับสินค้าเอง หากสภาพตู้สินค้าและตราผนึกประตูตู้สินค้าอยู่ในสภาพปกติก็ย่อมแสดงว่าสินค้ามิได้สูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าก็หาต้องรับผิดในกรณีสินค้าพิพาทในตู้สินค้าสูญหายไปไม่แต่ตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งได้ความว่า ตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยระบุตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ครั้น จำเลยร่วมขนส่งตู้สินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ปรากฏว่าตู้สินค้ามีตราผนึกประตูตู้สินค้าเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดตราผนึกประตูตู้สินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น การที่จำเลยร่วมออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อรับมอบตู้สินค้า แม้จะได้ระบุหมายเลขตู้สินค้า แต่มิได้ระบุว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าคือหมายเลขใด กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล27209ถูกเปลี่ยนเป็นหมายเลขเอสพีไอซี 051682 ก่อนหรือภายหลังจากที่จำเลยร่วมรับมอบตู้สินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์เมื่อประตูตู้สินค้าได้ถูกเปิดออกในระหว่างการขนส่งสินค้าจากท่าเรือโตเกียวช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงท่าเรือกรุงเทพและสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้รับประกันภัยสูญหายไปจึงถือได้ว่าความสูญหายเกิดขึ้นขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1และจำเลยร่วม ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชอบในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยามนั้น ย่อมหมายความถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่าตู้คอนเทนเนอร์จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วนตู้เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่าตู้หรือตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อตู้สินค้าไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในกรณีสินค้าสูญหายจากการเปลี่ยนตราผนึกตู้สินค้า
การขนส่งสินค้าระบบ ซีวาย/ซีวาย เป็นการขนส่งที่ผู้ส่งสินค้าต้นทางจะเป็นผู้ไปรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าที่โกดังของผู้ส่งสินค้า แล้วนำตู้สินค้ามามอบให้แก่ผู้ขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วผู้รับตราส่งจะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจนับสินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเอง เมื่อใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกระบุไว้ว่าสถานที่รับสินค้า โตเกียว ซีวาย สถานที่ส่งมอบสินค้า กรุงเทพ ซีวาย แสดงว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับตู้สินค้าจากบริษัท ค. ที่ท่าเรือโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนถึงท่าเรือกรุงเทพ แล้ว บริษัท ค. จะเป็นผู้รับสินค้าไปตรวจนับสินค้าเอง หากสภาพตู้สินค้าและตราผนึกประตูตู้สินค้าอยู่ในสภาพปกติก็ย่อมแสดงว่าสินค้ามิได้สูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าก็หาต้องรับผิดในกรณีสินค้าใน ตู้สินค้าสูญหายไปไม่ แต่ตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งได้ความว่า ตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยระบุตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ครั้นจำเลยร่วมขนส่งตู้สินค้า ดังกล่าวมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ปรากฏว่าตู้สินค้ามีตราผนึกประตูตู้สินค้าเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดตราผนึกประตูตู้สินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น การที่จำเลยร่วมออก ใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อรับมอบตู้สินค้า แม้จะได้ระบุหมายเลขตู้สินค้า แต่มิได้ระบุว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าคือหมายเลขใด กรณีที่ยังไม่แน่ชัดว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ถูกเปลี่ยนเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ก่อนหรือภายหลังจากที่จำเลยร่วมรับมอบตู้สินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์ เมื่อประตูตู้สินค้าได้ถูกเปิดออกในระหว่างการขนส่งสินค้าจากท่าเรือโตเกียวช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงท่าเรือกรุงเทพและสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้รับประกันภัยสูญหายไป จึงถือได้ว่าความสูญหายเกิดขึ้นขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชอบในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน่วยการขนส่งทางทะเล: การคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.รับขนฯ โดยเทียบหน่วยการขนส่งและน้ำหนัก
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3บัญญัติคำนิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้าไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และคำว่า"หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าพิพาทบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกและมีเชือกรัดปากถุงไว้ และบรรจุอยู่ในถังกระดาษไฟเบอร์มีฝาเหล็กปิดโดยรอบแล้วใช้นอตขันห่วงให้ยึดไว้ แต่ละถังบรรจุของหนัก 25 กิโลกรัม รวม 375 ถัง บรรจุรวมอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียว และตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.2 หรือล.2 ในช่อง "คำพรรณนาสินค้า" ระบุว่า ตู้คอนเทนเนอร์ 1x20 ฟุตบรรจุอาหารสัตว์ 375 ถัง ฯลฯ จึงเป็นการแสดงว่าแต่ละถังที่บรรจุสินค้าคือยารักษาไก่ มีสภาพสามารถทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่า แต่ละถังที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็น"หนึ่งหน่วยขนส่ง" ตามคำนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทดังกล่าวถือเป็นภาชนะขนส่ง การคำนวณค่าเสียหาย ที่จำเลยจะต้องรับผิดจึงต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 58 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 59(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินค่าเสียหายโดยใช้หน่วยการขนส่งของสินค้าพิพาทเป็นหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณจะมากกว่าจำนวนเงินค่าเสียหายโดยใช้น้ำหนักแห่งสินค้าพิพาทเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนเงินที่มากกว่าตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทน vs ผู้รับมอบหมาย
"ผู้ขนส่งอื่น" ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล: ตัวแทนของผู้ขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทนไม่ใช่ผู้ขนส่ง
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
of 6