พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจขนส่ง: ต้องมีข้อตกลง จ่ายเบี้ยเลี้ยง/ส่วนแบ่ง ไม่ถือเป็นค่าล่วงเวลา
แม้ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ข้อ 25 และข้อ 26 จะกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติหรือทำงานในวันหยุดเกินเวลาปกติของวันทำงานก็ตาม แต่ข้อ 28 ก็กำหนดว่าพนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และข้อ 26 เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถ จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง และแม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่งให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถ จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง และแม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่งให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881-3887/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจงานขนส่ง: เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารไม่ใช่ค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ข้อ 4ข้อ 25 ข้อ 26และข้อ 28 หมายความว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจสั่งให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งหรือถ้าสั่งให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน แต่ถ้างานที่ทำเกินเวลานั้นเป็นงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 28 พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดเว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสารที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงแต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสารที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงแต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881-3887/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นสิทธิค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการตีความข้อตกลงการจ่ายเงินส่วนแบ่ง
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ข้อ 4 กำหนดว่า "ให้รัฐวิสาหกิจประกาศกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานไม่เกินสัปดาห์ละสี่สิบแปดชั่วโมง" ข้อ 25 กำหนดว่า"ถ้ารัฐวิสาหกิจให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติที่รัฐวิสาหกิจประกาศกำหนดตามข้อ 4 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน..." ข้อ 26 กำหนดว่า"ถ้ารัฐวิสาหกิจให้พนักงานทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานปกติ" และข้อ 28 กำหนดว่า "พนักงานซึ่งรัฐวิสาหกิจให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และ ข้อ 26
(1) ...
(2) งานขนส่ง
ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว หมายความว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจสั่งให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่ง หรือถ้าสั่งให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน แต่ถ้างานที่ทำเกินเวลานั้นเป็นงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 28 พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสาร ที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง แต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
(1) ...
(2) งานขนส่ง
ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว หมายความว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจสั่งให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่ง หรือถ้าสั่งให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน แต่ถ้างานที่ทำเกินเวลานั้นเป็นงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 28 พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสาร ที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง แต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300-3301/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินโบนัสของพนักงานที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุน ต้องไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับเดิม แม้รายได้รวมจะสูงกว่า
ระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้พนักงานไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น พ.ศ. 2536 เป็นระเบียบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ระหว่างพนักงานกับจำเลย ส่วนมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล ปตท. เป็นเพียงความเห็นของฝ่ายจำเลยที่ตีความระเบียบดังกล่าว โดยจำเลยไม่สามารถแก้ไขหรือตีความขัดแย้งกับระเบียบดังกล่าวได้โดยลำพัง ดังนั้น โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากจำเลยหรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์จากระเบียบนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งข้อ 7 ระบุว่า "พนักงานที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทจะได้รับค่าตอบแทนในการทำงานต่อไปนี้จาก ปตท. หรือจากบริษัทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างบริษัทกับ ปตท. แต่ค่าตอบแทนในการทำงานที่ได้รับนั้นจะต้องไม่น้อยกว่าที่พนักงานได้รับอยู่เดิมขณะปฏิบัติงานที่ ปตท. 7.1 เงินเดือนและโบนัส ฯลฯ" ระเบียบข้อนี้หมายความว่า พนักงานที่จำเลยส่งไปปฏิบัติงานที่บริษัทที่จำเลยถือหุ้นจะต้องได้รับเงินเดือนและเงินโบนัสไม่น้อยกว่าที่พนักงานนั้นเคยได้รับอยู่เดิมในขณะปฏิบัติงานที่จำเลย โจทก์ได้รับเงินเดือนที่บริษัท ป. มากกว่าที่ได้รับจากจำเลยร้อยละ 20 เนื่องจากชั่วโมงทำงานมากกว่าแต่ไม่ได้รับเงินโบนัสเพราะบริษัท ป. ไม่มีการจ่ายเงินโบนัส โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินโบนัสจากจำเลยเท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมขณะปฏิบัติงานกับจำเลย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะคำนวณอย่างไร จำเลยจึงจัดประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลของจำเลยเพื่อกำหนดวิธีคำนวณเงินโบนัสดังกล่าว 2 ครั้ง ที่ประชุมมีมติให้พนักงาน Secondment มีสิทธิได้รับเงินรางวัล (เงินโบนัส) เช่นเดียวกับพนักงานของจำเลย โดยคำนวณจากเงินเดือนเงา ซึ่งหมายถึงเงินเดือนที่เคยได้รับอยู่เดิมจากจำเลย อันเป็นการสอดคล้องกับข้อ 7 แห่งระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้พนักงานไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น พ.ศ. 2536 แต่ที่ประชุมมีมติให้ใช้วิธีเปรียบเทียบรายได้ของพนักงานที่ได้รับจากจำเลยและบริษัทที่ไปปฏิบัติงาน หากรายได้จากจำเลยมากกว่า จำเลยจะจ่ายส่วนต่างที่เพิ่มให้แก่พนักงาน ถ้ารายได้ที่ได้รับจากบริษัทมากกว่า ให้พนักงานรับเงินจากบริษัททางเดียวนั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อ 7 แห่งระเบียบดังกล่าว เนื่องจากเป็นการตัดสิทธิพนักงานที่จะได้รับเงินโบนัส หรือได้รับเงินโบนัสไม่เท่ากับพนักงานของจำเลย มติของที่ประชุมจึงใช้บังคับไม่ได้ กรณีของโจทก์ต้องบังคับตามข้อ 7 แห่งระเบียบดังกล่าว โดยพิจารณาประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์โดยคำนวณจากเงินเดือนเงา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การตีความสถานะ 'พนักงาน' และข้อยกเว้นสำหรับฝ่ายบริหาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ซึ่งประกาศ ณ วันที่12 กันยายน 2534 ข้อ 2 ระบุว่า ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ใช้บังคับทำให้ตำแหน่งงานของโจทก์ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 อีกต่อไป ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่ออกตามความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ได้ระบุในข้อ 45 และข้อ 47 มีความหมายว่าเงินค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจใดจะพึงจ่ายให้นั้นได้กำหนดเจาะจงจ่ายให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้นเท่านั้น โดยข้อ 3 ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงานหมายความว่า พนักงานตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ซึ่งในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.นี้ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงาน หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร และคำว่า ฝ่ายบริหารหมายความว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการด้วย เมื่อขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานให้แก่จำเลยในปี 2537 ขณะ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ใช้บังคับเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ถือได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นฝ่ายบริหารไม่ใช่พนักงานของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามข้อ 45 และข้อ 47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว
การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเงินค่าชดเชยโจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น
การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเงินค่าชดเชยโจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณบำเหน็จลูกจ้างประจำ: เริ่มนับจากวันจ้างหรือวันบรรจุ การวินิจฉัยของคณะกรรมการต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์
แม้ในข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฉบับที่11ข้อ4.1กำหนดให้นับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการบรรจุในอัตราประจำแต่ในข้อ1ก็ให้ความหมายของคำว่าผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็น ผู้มีสิทธิจะ ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ3ไว้ว่าหมายความว่าผู้อำนวยการรองผู้อำนวยการพนักงานหรือคนงานขององค์การซึ่งได้รับการแต่งตั้งการบรรจุหรือการจ้างให้เป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ใน อัตราประจำ ดังนั้นพนักงานหรือคนงานไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งการบรรจุหรือการจ้างก็เป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่ง มีสิทธิจะ ได้รับเงินบำเหน็จตามที่กำหนดในข้อ3ทั้งสิ้น การทบทวน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ตามข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฉบับที่10ข้อที่12จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ3ข้อ4โดยชอบเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ คำวินิจฉัยจึง มิชอบด้วยกฎหมายและ ยังไม่ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้เป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานฯ ข้อ 3 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯฉบับดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
จำเลยจ่ายค่าเบี้ยกิโลเมตรให้โจทก์ทุกวันตามระยะทางที่โจทก์ขับรถได้ในอัตรากิโลเมตรละ35 สตางค์ ค่าเบี้ยกิโลเมตรจึงเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้ จึงเป็น"เงินเดือนค่าจ้าง"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 3 ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้บริษัทฯ อยู่ในข่ายประกาศ คปต.ฉบับที่ 103 แต่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ยังใช้บังคับ
แม้บริษัทขนส่ง จำกัด จะเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ซึ่งเลิกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตาม ข้อ 46แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้ประกาศ คณะปฏิวัติฯ ไม่ใช้บังคับ แต่ระเบียบ ก.พ.ร. ยังให้สิทธิ
บริษัทจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่ พนักงาน ซึ่งเลิกจ้างโจทก์ทำงานมาแล้วประมาณ6 ปี จำเลยเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่าย ค่าชดเชย แก่โจทก์ ตามระเบียบดังกล่าว