คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (3) (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายวงแชร์เป็นนิติบุคคล: นิติกรรมโมฆะ สิทธิเรียกร้องสมาชิกวงแชร์
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์" มาตรา 6 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้..." และมาตรา 7 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์" จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะกรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคล กฎหมายหาได้ให้สิทธิเช่นว่านั้นไม่ ฉะนั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแชร์รายพิพาทมีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การเล่นแชร์รายนี้ย่อมเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวจึงปราศจากมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วยกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่าการเล่นแชร์รายนี้มีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องวินิจฉัย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่ยังมิได้วินิจฉัยดังกล่าวอาจเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาลเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3), 243 (3) (ข) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องมาใช้ และอำนาจหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคดี
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มระบุมาตราที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกระทำการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร ในแต่ละเดือนภาษี โดยมีรายละเอียดยอดขายและภาษีขาย ยอดซื้อและภาษีซื้อ รายการคำนวณภาษี ทั้งตามแบบแสดงรายการฯ ตามผลการตรวจสอบและยอดแตกต่าง และสรุปยอดรวมภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม โดยขอให้นำเงินไปชำระ ณ สำนักงานสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ด้านหลังหนังสือแจ้งการประเมินก็ระบุเหตุผลที่ประเมินว่า ยอดขายแสดงไว้ต่ำไปเป็นจำนวนเงินเท่าใด ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้วโดยนำภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 มาถือเป็นเครดิตเท่าใด ทั้งยังระบุข้อควรทราบว่า ถ้าไม่ชำระภาษีภายในวันที่...จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 และเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 12 กรณีไม่เห็นด้วยกับการประเมินจะต้องยื่นอุทธรณ์ด้วยแบบ ภ.ส.6 ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ระบุเหตุผลที่วินิจฉัยว่า ตามหลักฐานที่ตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้อุทธรณ์นำใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ตรงตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้มาถือเป็นภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวย่อมเป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (2) แต่เนื่องจากผลการคำนวณภาษี ผู้อุทธรณ์ยังคงมีภาษีชำระเกินเหลืออยู่จึงไม่ต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน หากยังคงต้องชำระเบี้ยปรับจากการแสดงภาษีไว้คลาดเคลื่อนตามมาตรา 89 (4) ซึ่งมีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงพิจารณาเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ให้ผู้อุทธรณ์นำเงินภาษี เบี้ยปรับไปชำระ หากประสงค์จะอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน ตามมาตรา 30 (2) ทั้งหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงมีเหตุผลที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 ครบถ้วนแล้ว
สำหรับประเด็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยโดยมีคำสั่งให้งดการสืบพยาน จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะนำมาวินิจฉัยให้ได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาวินิจฉัยก่อน ประกอบกับจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีสิงหาคม 2544 ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 สมควรที่ศาลภาษีอากรกลางจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงให้ยกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินการสืบพยานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นนี้ก่อนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องมีหลักฐานความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ได้เฉพาะช่วงที่ยังมีสถานะนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคแรกบัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่างานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ...(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (5)..." และมาตรา 77 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ" จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นเจตนารมณ์ได้ว่า การห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด อันจะทำให้รายได้จากการทำงานลดลง และลูกจ้างอาจหมดกำลังใจในการทำงานที่ไม่ได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนายจ้างจะหักได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น และสำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย เมื่อพิเคราะห์เจตนารมณ์ของการห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดดังกล่าว ประกอบกับข้อที่ว่านายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่า การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น คดีนี้ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 และมาตรา 77 มาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้ แต่ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงมาให้ชัดเจนว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำอัดลมบรรจุขวดที่บริษัท ท. และบริษัท น. ส่งมอบให้จำเลยแล้วมีมูลค่าเท่าใด ยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงต้องส่งสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค: การโอนเช็คเพื่อประกันการชำระหนี้ vs. โอนเพื่อชำระหนี้ มีผลต่ออายุความ
การที่จะวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 หรือไม่นั้น จะต้องได้ความว่าได้มีการโอนเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 ประกอบด้วยมาตรา 309เสียก่อน กล่าวคือ ได้มีการสลักหลังและส่งมอบเช็คแล้วในกรณีเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือได้มีการส่งมอบเช็คแล้วสำหรับกรณีเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือเป็นต้น เช็คพิพาทโจทก์มอบให้แก่ธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค มิใช่เพื่อชำระหนี้ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คแล้วจึงรับเช็คคืนมา โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค มิใช่อยู่ในฐานะเป็นผู้สลักหลังเช็ค ประเด็นข้อโต้เถียงในคดียังไม่เป็นที่ยุติว่า โจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ หรือเพียงแต่มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารเพื่อค้ำประกัน ตนเมื่อข้อเท็จจริงในคดียังไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกา ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003และศาลอุทธรณ์ฟังว่าคดีโจทก์ต้องด้วยมาตรา 1002ไม่ขาดอายุความนั้น เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน สมควรให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป แล้วมีคำพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),243(3)(ข) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ศาลฎีกาให้สืบพยานประเด็นโมฆะของพินัยกรรมก่อนตัดสินเรื่องผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องอ้างเหตุในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นไม่ควรมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพราะผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องและพ. แล้วดังนี้เป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นและเป็นอุทธรณ์ที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก ข้อเท็จจริงบางประเด็นตามคำร้องขอและคำคัดค้านยังโต้เถียงกันอยู่รับฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลชั้นต้นให้งดการสืบพยานประเด็นดังกล่าวเสียจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาปัญหานี้เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้และศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานในประเด็นที่ว่าพินัยกรรมตามสำเนาเอกสารหมายร.9เป็นโมฆะหรือไม่เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629-630/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาคืนสำนวนให้ศาลแรงงานกลาง เนื่องจากไม่ได้สืบพยานข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับค่าจ้างและกองทุนบำเหน็จ
การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาในคดีแรงงาน ต้องถือตาม ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมา ในปัญหาตาม อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่โจทก์หมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จตาม ข้อบังคับของจำเลยแล้วหรือยังนั้น ศาลแรงงานกลางไม่ได้สืบพยานให้ได้ ข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จหรือไม่มีข้อความเกี่ยวกับความหมายของค่าจ้างเงินเดือน และระยะเวลาในการเรียกร้องเงินบำเหน็จว่าอย่างไรศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย กรณีเป็นเรื่องศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(3)(ข) ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ต้อง ย้อน สำนวนให้ศาลแรงงานกลางดำเนิน กระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629-630/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานต้องอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานสืบพยาน หากยังไม่ได้สืบพยาน ศาลฎีกาไม่มีข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้
การพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาในคดีแรงงาน ต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมา ในปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่ โจทก์หมดสิทธิเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยแล้วหรือยังนั้น ศาลแรงงานกลางไม่ได้สืบพยานให้ได้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จหรือไม่มีข้อความเกี่ยวกับความหมายของค่าจ้าง เงินเดือน และระยะเวลาในการเรียกร้องเงินบำเหน็จว่าอย่างไร ศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย กรณีเป็นเรื่องศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ข) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง
คดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องและอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงวินิจฉัยมาแล้วเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใดๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังเป็นยุติมาแล้ว. จึงเป็นการวินิจฉัยที่มิชอบแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างอิง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและเป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225,208(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแขวงวินิจฉัย และหลักการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องและอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงวินิจฉัยมาแล้วเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังเป็นยุติมาแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยที่มิชอบแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างอิง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและเป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225, 208(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์สินสมรส/สินเดิม และขอบเขตความรับผิดในหนี้สินของสามีภรรยา
การร้องขัดทรัพย์โดยกล่าวรวมๆ ว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นสินบริคณห์นั้นจึงอาจเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จึงขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ได้(ตามฎีกาที่ 928/2503) แต่ถ้าผู้ร้อง (ภรรยา)ร้องขัดทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินเดิมของผู้ร้องและมิใช่หนี้ร่วมมีฎีกาที่ 1250/2493 ว่า หนี้สินซึ่งจำเลยผู้เป็นสามีก่อขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยเว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมดังนี้ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงกันอยู่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินเดิมของฝ่ายใด และหนี้เป็นหนี้ร่วมหรือไม่เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
of 2