พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาล: จำเลยโต้แย้งอำนาจศาลภายหลังการดำเนินกระบวนการพิจารณา ถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลเดิม
จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้โต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง ศาลแพ่งชี้สองสถานกำหนดประเด็นและนัดสืบพยานแบบต่อเนื่อง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง และถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย: จำเลยมิได้โต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรก จึงถือว่ายอมรับ
จำเลยมีโอกาสโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตั้งแต่จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง วันนัดชี้สองสถาน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งจนกระทั่งวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงโต้แย้งเขตอำนาจศาลแพ่งว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6514/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาอำนาจศาลปกครองหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลจังหวัดนนทบุรีที่สั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากศาลจังหวัดนนทบุรีเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งแม้โจทก์จะอุทธรณ์กล่าวอ้างว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับแล้วในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ แต่ขณะยื่นฟ้องศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมคือศาลจังหวัดนนทบุรีอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งแปดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ดังนี้ ย่อมมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมด้วยกันเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ อันเป็นกรณีที่จะต้องเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และต่อมาประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าและค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้า การวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความและขอบเขตของสัญญา
คดีเรื่องใดจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากคดีเรื่องนี้เป็นคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ ซึ่งการวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลใด ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลหรือยกปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นโต้แย้งในระหว่างศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล เมื่อจำเลยเพิ่งยกปัญหานี้อุทธรณ์ขึ้นมาจึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว และศาลฎีกาก็ไม่อาจส่งให้ประธานศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยด้วย
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อเปิดร้านดำเนินกิจการของจำเลย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้น ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเงินค่าตอบแทนในการที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไปเป็นผู้อุปโภคในลักษณะเป็นเจ้าของเองเหมือนกับที่จำเลยซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย ที่จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อไปจากโจทก์ แต่ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่จำเลยมีสิทธิใช้ตามสัญญานั้นยังเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เรียกเอาค่าธรรมเนียมหรือเงินค่าตอบแทนในการที่จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ตามสัญญานั้น จึงไม่ใช่เป็นการที่โจทก์เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นที่จะมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)แต่การเรียกร้องดังกล่าวนี้มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงจากโจทก์ไปจำหน่ายนั้นเป็นกรณีที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประกอบกิจการค้าตามวัตถุประสงค์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความเรียกร้อง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อเปิดร้านดำเนินกิจการของจำเลย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้น ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเงินค่าตอบแทนในการที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไปเป็นผู้อุปโภคในลักษณะเป็นเจ้าของเองเหมือนกับที่จำเลยซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย ที่จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อไปจากโจทก์ แต่ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่จำเลยมีสิทธิใช้ตามสัญญานั้นยังเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เรียกเอาค่าธรรมเนียมหรือเงินค่าตอบแทนในการที่จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ตามสัญญานั้น จึงไม่ใช่เป็นการที่โจทก์เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นที่จะมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)แต่การเรียกร้องดังกล่าวนี้มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงจากโจทก์ไปจำหน่ายนั้นเป็นกรณีที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประกอบกิจการค้าตามวัตถุประสงค์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความเรียกร้อง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: คดี L/C-ทรัสต์รีซีทซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศ ก็ไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 มีความหมายถึงกรณีที่มีปัญหาข้อสงสัยยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าคดีนั้นเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ถึง (11) หรือเป็นเรื่องที่ไม่แน่ชัดหรือเป็นที่สงสัยว่าเนื้อหาของข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่ถือว่าเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่งตามมาตรา 7(1) ถึง (11) ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ จึงจะเป็นปัญหาที่ต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศและโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าให้จำเลยที่ 1 ในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้าที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้โจทก์ จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทกับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยด้วยกันเท่านั้น ทั้งที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ หากแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศกับรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเป็นคดีตามมาตรา 7(6) จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 9
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศและโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าให้จำเลยที่ 1 ในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้าที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้โจทก์ จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทกับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยด้วยกันเท่านั้น ทั้งที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ หากแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศกับรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเป็นคดีตามมาตรา 7(6) จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: คดีเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ในการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททางทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่งโดยทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯมาตรา 7(1) ถึง (11) ได้บัญญัติเป็นการเฉพาะเจาะจงว่ามีคดีประเภทใดบ้างที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ดังนั้น หากคำฟ้องและคำให้การเห็นได้ชัดว่าเป็นคดีประเภทที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ถึง (11) แล้ว ก็ต้องอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่วนกรณีตามมาตรา 9นั้น เป็นเรื่องที่มีปัญหาสงสัยไม่ชัดแจ้งว่าคดีนั้นเป็นคดีประเภทใดหรือสงสัยในเนื้อหาของข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือไม่ จึงจะเสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยชัดแจ้ง ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(6) กรณีจึงไม่จำต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีเลตเตอร์ออฟเครดิต-ทรัสต์รีซีท แม้คู่สัญญาทั้งสองอยู่ในไทย
กรณีที่ประธานศาลฎีกาจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศหรือไม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 นั้น จักต้องเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่า คดีนั้นเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่ง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (1) ถึง (11) เมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยแจ้งชัด จึงอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (5), (6) ไม่มีปัญหาอันต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทจำนอง - การบังคับชำระหนี้ - อัตราดอกเบี้ย - การชำระหนี้ด้วยเงินบาท
ธนาคารโจทก์ให้บริษัท ส. กู้ยืมเงิน โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกัน และจำเลยที่ 2 ภริยาจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นพยานและให้ความยินยอมต่อมาบริษัท ส. ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้ฟ้องบริษัท ส. เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองรับสำเนาคำฟ้องและยื่นคำให้การแล้ว มิได้โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7แต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใดอันเป็นเหตุที่จะต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 9 ทั้งจำเลยทั้งสองก็ยอมรับดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นสืบพยานโจทก์และนำพยานจำเลยทั้งสองเข้าสืบอีกด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาแต่แรกจนเป็นการล่วงเลยขั้นตอนหรือกระบวนการพิจารณาที่จะโต้แย้งในปัญหาดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป
การที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการนั้น มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิคู่กรณีมิให้นำเสนอต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ได้ ดังนั้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดกันแล้ว หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ ก็จะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 10 แต่คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันอาจมีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ซึ่งเป็นข้ออ้างที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ศาลไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่แต่อย่างใดถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส. แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตามแต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรส เพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 2ผู้ภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แม้ทางนำสืบของโจทก์จะไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีการเสนอกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (SingaporeInterbank OfferedRate:SIBOR) คิดกันในอัตราร้อยละเท่าใดต่อปีก็ตามแต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์และบริษัท ส. ตกลงกัน โดยเขียนเป็นสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยต่อปีได้ว่า SIBOR+0.8%+11.111%(SIBOR) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ส. จะรับผิดชดใช้ให้โจทก์มากน้อยเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับ SIBOR เท่านั้นหาได้หมายความว่าเมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ย SIBOR ว่าเป็นเท่าใดแล้ว จะให้ถือว่าการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ไม่เพราะหลังจากที่บริษัท ส. รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์แล้ว มีการคิดคำนวณดอกเบี้ยตามสูตรดังกล่าว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดมาตามอัตราดอกเบี้ยของ SIBOR ที่เป็นฐานคิดคำนวณนั้นเอง โดยที่บริษัท ส. มิได้โต้แย้งแต่ประการใด ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตรา 10.0847 ต่อปีหลังจากที่บริษัท ส. ผิดนัด จึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอันเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองเลือกที่จะชำระเงินด้วยเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทยก็ได้ตามแต่จะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกชำระเป็นเงินไทยก็ต้องชำระเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตามมาตรา 196 วรรคสอง ฉะนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้แก่ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าวในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของตนที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯมาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
การที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการนั้น มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิคู่กรณีมิให้นำเสนอต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ได้ ดังนั้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดกันแล้ว หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ ก็จะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 10 แต่คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันอาจมีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ซึ่งเป็นข้ออ้างที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ศาลไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่แต่อย่างใดถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส. แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตามแต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรส เพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 2ผู้ภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แม้ทางนำสืบของโจทก์จะไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีการเสนอกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (SingaporeInterbank OfferedRate:SIBOR) คิดกันในอัตราร้อยละเท่าใดต่อปีก็ตามแต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์และบริษัท ส. ตกลงกัน โดยเขียนเป็นสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยต่อปีได้ว่า SIBOR+0.8%+11.111%(SIBOR) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ส. จะรับผิดชดใช้ให้โจทก์มากน้อยเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับ SIBOR เท่านั้นหาได้หมายความว่าเมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ย SIBOR ว่าเป็นเท่าใดแล้ว จะให้ถือว่าการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ไม่เพราะหลังจากที่บริษัท ส. รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์แล้ว มีการคิดคำนวณดอกเบี้ยตามสูตรดังกล่าว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดมาตามอัตราดอกเบี้ยของ SIBOR ที่เป็นฐานคิดคำนวณนั้นเอง โดยที่บริษัท ส. มิได้โต้แย้งแต่ประการใด ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตรา 10.0847 ต่อปีหลังจากที่บริษัท ส. ผิดนัด จึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอันเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองเลือกที่จะชำระเงินด้วยเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทยก็ได้ตามแต่จะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกชำระเป็นเงินไทยก็ต้องชำระเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตามมาตรา 196 วรรคสอง ฉะนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้แก่ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าวในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของตนที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯมาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงินต่างประเทศ การชำระหนี้เป็นเงินบาท และความรับผิดของภริยาในหนี้สินของสามี
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าทำสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ผู้กู้เงินจากโจทก์ โดยไม่ได้ฟ้องบริษัท ส. ด้วย แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 ทั้งจำเลยทั้งสองได้นำพยานเข้าสืบอันแสดงการยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมาแต่แรกจนเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะโต้แย้งแล้ว อันถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์มาในชั้นนี้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะวินิจฉัยให้อีกต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยให้
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียวเพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้น ที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการได้ ดังนั้น ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าฝ่ายนั้นไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ได้ความว่ามีเหตุดังกล่าวศาลจึงจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ส. มีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นให้การโต้แย้งทั้งมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัว แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาค้ำประกันก็ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าว ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณ นั้น เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียวเพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้น ที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการได้ ดังนั้น ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าฝ่ายนั้นไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ได้ความว่ามีเหตุดังกล่าวศาลจึงจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ส. มีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นให้การโต้แย้งทั้งมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัว แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาค้ำประกันก็ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าว ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณ นั้น เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7411/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ และการยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย การคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
จำเลยทั้งสามให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการกู้ยืมเงินภายในประเทศ คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ไว้ และจำเลยทั้งสามมิได้โต้แย้งทั้งเมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยทั้งสามก็มิได้ยกเรื่องนี้ขึ้นโต้แย้ง แสดงว่ายอมรับอำนาจศาล และไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขึ้นมา จึงถือว่าล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่ส่งให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย