พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย: สมาชิกหลายสถาบันไม่ขัดกฎหมาย, อำนาจฟ้องจำเลย
ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 8 (3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 10 พ.ศ.2528 ข้อ 2 และคำจำกัดความของคำว่า "สมาชิก" ตามระเบียบนี้มิได้ระบุว่าห้ามมิให้ชาวไร่อ้อยหรือหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยที่เป็นสมาชิกของสมาคมสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยอื่นหรือมิได้มีบทบบัญญัติของกฎหมายตอนใดระบุว่าเมื่อเป็นสมาชิกของสมาคมใดแล้วจะสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมอื่นมิได้ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5 พ.ศ.2529 ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าบำรุงและวิธีการชำระค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2529 ข้อ 7 วรรคสาม แสดงให้เห็นว่าชาวไร่อ้อยสามารถที่จะสมัครเป็นสมาชิกสถาบันชาวไร่อ้อยได้มากกว่าหนึ่งสถาบันเพียงแต่หากเป็นสมาชิกหลายสถาบันต้องแจ้งให้โรงงานที่ตนส่งอ้อยเข้าหีบทราบว่าจะให้โรงงานส่งเงินให้สถาบันใดเพียงสถาบันเดียวเท่านั้น ดังนั้นแม้สมาชิกของโจทก์จำนวน 620 คน จะยังเป็นสมาชิกของสมาคมชาวไร่อ้อยสิงห์บุรีก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอมีสมาชิกจำนวนรวม 784 คน จึงเป็นการยื่นคำขอที่มีสมาชิกชาวไร่อ้อยไม่น้อยกว่า 600 คน ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อยฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 8 (3) ที่แก้ไขแล้ว จำเลยต้องจดทะเบียนให้โจทก์เป็นสถาบันชาวไร่อ้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับโรงงานน้ำตาล: ความเป็นหนี้ทางแพ่ง, ดุลพินิจการปรับ, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมการขายอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 972,303.26 บาท ซึ่งได้รับคืนจากกรมสรรพากรเพื่อไปชำระให้แก่กองทุนโจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 4 และที่ 5 ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายอ้อยและน้ำตาลทราย อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 (12) ของระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ หรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 คณะกรรมการบริหารจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ โดยให้พิจารณาเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ซึ่งเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวข้อ 3 หมายความว่าเป็นเงินค่าปรับที่คณะกรรมการบริหารกำหนดให้โรงงานซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ชำระให้แก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้เบี้ยปรับจึงไม่ใช่ค่าปรับอันเป็นโทษทางอาญา เพราะเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนจะนำไปเปรียบกับค่าปรับทางอาญาไม่ได้ นอกจากนี้ เบี้ยปรับกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะเป็นการกระทำโดยคณะกรรมการบริหารอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับทางปกครอง มิใช่เบี้ยปรับเพราะเหตุผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379 ถึง 385 และเบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระถือว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะเสียหายจริงหรือไม่ โจทก์ย่อมเรียกเบี้ยปรับได้
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษเพื่อขยายโรงงานน้ำตาล การทำสัญญาไม่ขัดกฎหมายและมีผลผูกพัน
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้ง ให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือ นั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลัง การผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลัง การผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดย นำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยม หรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือ ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐ จะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมา คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิด หีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้น นโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชน ด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบ กิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึงพระราชบัญญัติน้ำตาลทราย พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ประกอบกันซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐโดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิต ที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงาน ของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงาน ตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการ ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติ อันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่ง เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษ ให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้ง โรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุง แก้ไขหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนด ไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายโรงงานเกินกำลังผลิตที่ได้รับอนุญาตและการชำระเงินทดแทนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือนั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลังการผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.โรงงานพ.ศ.2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดยนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยมหรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐจะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมาคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิดหีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้นนโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชนด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบกิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึง พ.ร.บ.น้ำตาลทราย พ.ศ.2511พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 และ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512ประกอบกัน ซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐ โดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงานของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงานตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติอันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขหรือหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนดไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ