พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,236 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ แม้จะอ้างสำคัญผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น
ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 แปลความได้ว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด สัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดย่อมต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีตามข้อความในสัญญา ข้อ 4 ส่วนข้อความในสัญญาข้อ 2.1 ที่ว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้วแต่ไม่เกิน 1 ปี ดังกล่าวในข้อ 2 มีความหมายชัดเจนถึงว่า หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เมื่อใดจำเลยทั้งสอง ก็จะชำระเงินให้แก่โจทก์เมื่อนั้น แต่หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสองก็ยังจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 2นั่นเอง
กรณีที่จะต้องมีการตีความข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น
ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 แปลความได้ว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด สัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดย่อมต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีตามข้อความในสัญญา ข้อ 4 ส่วนข้อความในสัญญาข้อ 2.1 ที่ว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้วแต่ไม่เกิน 1 ปี ดังกล่าวในข้อ 2 มีความหมายชัดเจนถึงว่า หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เมื่อใดจำเลยทั้งสอง ก็จะชำระเงินให้แก่โจทก์เมื่อนั้น แต่หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสองก็ยังจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 2นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันตามคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 เท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองขอเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินอีก 1 แปลงเข้ามาใหม่ ซึ่งผิดไปจากเดิม จึงมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไข โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่อาจขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีขัดทรัพย์มีผลผูกพันคู่ความ และใช้เป็นหลักฐานยืนยันสิทธิได้
โจทก์ได้กล่าวอ้างถึงสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 591/2536 ของศาลชั้นต้นไว้ในคำฟ้อง ทั้งได้ระบุอ้างสำนวนคดีดังกล่าวเป็นพยาน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 นำข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีดังกล่าวมาวินิจฉัยจึงตรงตามคำฟ้องและประเด็นในข้อพิพาทแล้ว หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นดังที่จำเลยที่ 1 อ้างไม่ และตามสำนวนคดีดังกล่าวได้ความว่าจำเลยที่ 1 เคยยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มาก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ยกคำร้อง คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การครอบครองที่ดินพิพาทเชื่อมโยงกับคำร้องขัดทรัพย์
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินที่จำเลยเคยยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาก่อนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้ยกคำร้อง คดีถึงที่สุดแล้วเช่นนี้คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คดีนี้จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องร้องเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ยังมิได้ถูกบังคับคดี
การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยยื่นฟ้องขับไล่ ส. และจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ให้โจทก์ในฐานะบริวารของ ส. ออกจากที่พิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าตนมิใช่บริวารของ ส. แต่เป็นเจ้าของครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมานานแล้ว แสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทแล้ว โจทก์มีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะปิดประกาศกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ส. ออกจากที่พิพาทก็ตาม เพราะบทบัญญัติดังกล่าวแม้หากบุคคลนั้นไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นเพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิห้ามบุคคลนั้นจะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องขอเข้าไปในคดีที่จำเลยบังคับขับไล่ ส. โจทก์จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีนั้นย่อมไม่ผูกพันในผลแห่งคดีดังกล่าวหรือจะถูกต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย หากเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบเกินกว่าที่ตกลงกันเดิม แม้จำเลยไม่คัดค้าน ก็ไม่อาจแก้ไขได้
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามยอมมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือข้อตกลง โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสองแต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขอแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ซึ่งการจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต้องเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก การที่โจทก์ขอแก้ไขให้จำเลยทั้งสามรับผิดในเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากที่ตกลงกันจึงเป็นการทำให้จำเลยทั้งสามต้องรับผิดเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม กรณีมิใช่ข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยแม้จำเลยทั้งสามจะไม่คัดค้าน โจทก์ก็ไม่อาจขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การใช้สิทธิอุทธรณ์ vs. การขอแก้ไขข้อผิดพลาด
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือมิได้เป็นไปตามข้อตกลง โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือเจตนารมณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่โจทก์หาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ กลับใช้สิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ซึ่งการจะขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้จะต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก เมื่อส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขและศาลชั้นต้นไม่อนุญาตนั้นเป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยทั้งสามต้องรับผิดมากขึ้นกว่าเดิม จึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จำเลยทั้งสามจะไม่คัดค้านโจทก์ก็ไม่อาจขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความหลังศาลพิพากษาตามยอม ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องแก้ไข
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือมิได้เป็นไปตามข้อตกลง โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือเจตนารมณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่โจทก์หาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ กลับใช้สิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ซึ่งการจะขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้จะต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก เมื่อส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขและศาลชั้นต้นไม่อนุญาตนั้นเป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยทั้งสามต้องรับผิดมากขึ้นกว่าเดิม จึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จำเลยทั้งสามจะไม่คัดค้านโจทก์ก็ไม่อาจขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งจากการครอบครอง: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีในศาลชั้นต้น ถือได้ว่าเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามมาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องขอของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาฎีกามีผลผูกพันจำเลยมิให้โต้แย้งกรรมสิทธิ์เดิมที่ศาลตัดสินแล้ว การฟ้องคืนรถจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีดังกล่าว ให้ยกฟ้องของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ผลของคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทกับโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีข้างต้นอีก จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะยึดรถยนต์พิพาทไว้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148