คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,236 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนต่อเจ้าของรวม และการรับวินิจฉัยประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
คดีก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยที่ 1 แพ้คดีตามคำท้าโดยศาลชั้นต้นพิพากยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมีผลว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และคดีก่อนจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมได้ใช้สิทธิความเป็นเจ้าของครอบไปถึงที่ดินพิพาททั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งด้วย ผลแห่งคดีก่อนย่อมผูกพันถึงจำเลยที่ 2 เช่นกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจโต้เถียงโจทก์ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางในคดีพนัน ศาลไม่รับฟังหากจำเลยเป็นผู้กระทำผิดและทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับการพนัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบโดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ริบทรัพย์ของกลางคือ เงินสดจำนวน 8,231,480 บาท โพยสลากกินรวบ 86 แผ่น สมุดฉีก 3 เล่ม ปากกา 2 ด้าม เครื่องคิดเลข 4 เครื่อง และต้นขั้วโพยสลากกินรวบ 6 เล่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือและทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องและทรัพย์ของกลางเป็นเครื่องมือและทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ จำเลยจะมาโต้เถียงข้อเท็จจริงในชั้นขอคืนของกลางให้รับฟังเป็นอย่างอื่นว่าเงินสดของกลางบางส่วนจำนวน 800,000 บาท เป็นทรัพย์ที่ยึดได้จากตัวจำเลยโดยจำเลยไม่ได้เอาออกพนันหาได้ไม่
การร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 36 ศาลจะสั่งคืนได้ต่อเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องขอเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ศาลก็จะสั่งคืนของกลางให้ไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่จะรับคำร้องขอให้คืนของกลางของจำเลยไว้ไต่สวนต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แต่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วที่ระบุ ให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน โดยให้แปลงด้านทิศเหนือตกเป็นของผู้ร้องและท. ส่วนแปลงด้านทิศใต้ให้ตกเป็นของผู้คัดค้าน ย่อมผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง โดยผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องขอรังวัดแบ่งแยกและจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องและ ท. เป็นผู้ร่วมถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงด้านทิศเหนือและผู้ร้องมีหน้าที่ต้องยินยอมให้ ท. ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวด้วยแต่จะอ้างผลเพื่อให้ ท. ยอมรับการเป็นเจ้าของรวมกับผู้ร้องและยินยอมให้ลงชื่อ ท.ในที่ดินไม่ได้เพราะท. เป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับผลประโยชน์มิได้เป็นคู่ความ จึงไม่ผูกพันท.ให้ต้องปฏิบัติตามและเป็นสิทธิของท. ที่จะรับหรือไม่รับที่ดินก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แต่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
การที่ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมตกลงกันให้ผู้ร้องทั้งสองกับบุคคลภายนอกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท คำพิพากษานั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้ว่าหลังจากนั้นผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าสัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องว่า คำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดีให้ต้องปฏิบัติตาม แต่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษา ซึ่งหมายความว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกให้ต้องปฏิบัติตามและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ว่าจะรับหรือไม่รับที่ดินหรือไม่ก็ได้ เท่านั้น ไม่ต้องนำไปบังคับแก่ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสอง การที่ผู้ร้องที่ 2 มายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหนังสือรับรองว่าคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว หรือมายื่นคำแถลงขอให้ศาลออกหนังสือรับรองว่าคำสั่งดังกล่าวไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา โดยมีความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่า ต้องการนำคำสั่งศาลดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในชั้นบังคับคดีว่า ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความในคดีไม่มีความผูกพันที่จะต้องลงชื่อบุคคลภายนอกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวม เป็นการหลีกเลี่ยงการบังคับคดีให้ผิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินไขว้เขวต่อการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ศาลเห็นสมควรไม่ออกหนังสือรับรองให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่อง สงบ เปิดเผย เกิน 10 ปี
โจทก์ทั้งสี่และผู้อยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเดินเข้าออกโดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภารจำยอมเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมของโจทก์ทั้งสี่ ส่วนที่จำเลยเคยฟ้อง ส. ซึ่งอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ให้รื้อถอนสะพานไม้บนที่ดินพิพาทและศาลพิพากษาให้ ส. รื้อสะพานออกไปและห้ามเกี่ยวข้อง ย่อมเป็นเรื่องที่ผูกพันระหว่างจำเลยและบริวารกับ ส. และมีผลบังคับให้ ส. ต้องรื้อสะพานและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องในการก่อสร้างสิ่งใด ๆ ขึ้นอีกเท่านั้น หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้การซื้อขายจะถูกบอกล้างเนื่องจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลยเมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้มีการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริตยึดทรัพย์ได้ แม้เจ้าของเดิมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ถูกฉ้อฉล
คดีก่อน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อน อันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
of 124