คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,236 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ! คำร้องถอนผู้จัดการมรดกถูกตัดสิทธิ์แล้ว ยื่นซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ถูกตัดไม่ให้รับมรดก ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่มีสิทธิขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องได้ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยกเอาเหตุข้อขัดข้องในการแบ่งทรัพย์มรดกมาเป็นมูลกล่าวอ้างว่าผู้ร้องไม่ทำตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกหรือกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อผู้คัดค้านมิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุด มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีกหาได้ไม่ การที่ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง โดยอ้างเหตุเป็นอย่างเดียวกันว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยไม่แบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านและกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายอีก ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้คัดค้านจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินต่อเนื่องและการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น: ผลกระทบต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ป. พี่ชายผู้ร้องซื้อสิทธิการเช่าที่ดินที่จำเลยเช่ามาจาก ซ. แล้วได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2528 มีระยะเวลาเช่า 15 ปี โดยทำสัญญาเช่ากัน 5 ฉบับ ฉบับละ 3 ปี มีกำหนดเวลาเช่าติดต่อต่อเนื่องกันไป พฤติการณ์ของคู่สัญญาที่ปฏิบัติเช่นนี้ จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ที่กำหนดให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียงสามปี โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2530 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของร้อยตำรวจเอก ย. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าเพราะสัญญาเช่าที่ดินนั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าสามปี ป. ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่ โจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ต้องถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 แม้ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2546 ผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. จำนวน 5 ฉบับ แต่ละฉบับมีกำหนด เวลาเช่า 3 ปี รวม 15 ปี ต่อจาก ป. พี่ผู้ร้องในเวลาภายหลังที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่ามาแล้ว โดยโจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้รู้เห็นยินยอม และคดีที่ร้อยตำรวจเอก ย. ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 745/2551 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ ร้อยตำรวจเอก ย. ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งถือว่าผู้ร้องอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิของร้อยตำรวจเอก ย. ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินที่จะให้เช่าที่จะนำไปให้ผู้ร้องเช่าได้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากโจทก์และยังคงใช้เป็นที่ตั้งบริษัท บ. อันเป็นกิจการระหว่างพี่น้องของผู้ร้องต่อเนื่องเรื่อยมาโดยผู้ร้องและบุตรผู้ร้องกับจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เช่นนี้ จึงฟังได้ว่า ผู้ร้องอยู่ในที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ในฐานะอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องหามีอำนาจพิเศษอย่างใดที่จะอยู่บนที่ดินไม่ ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย บ้านเลขที่ 77/22 ของผู้ร้อง ย่อมต้องถูกรื้อถอนออกไปจากที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ผลผูกพันคำพิพากษา: คดีจำนองต้องรอผลคดีเดิมที่พิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดภูเก็ต เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 โดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทโฉนดตราจอง เลขที่ 169 ตำบลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์ที่ ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน แต่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ แล้วจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้แก่จำเลยที่ 4 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนอง แม้โจทก์ในคดีนี้จะมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาในคดีนี้ได้ก็ต่อเมื่อได้มีคำวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1508/2543 อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดภูเก็ต การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามคดีหมายเลขดำที่ 198/2546 หมายเลขคดีแดงที่ 303/2554 และฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองเพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นชื่อของ ส. เป็นคนละประเด็นกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ต ในประเด็นที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โอนที่ดินไปให้แก่บุคคลอื่นเป็นการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ กับประเด็นที่ว่าการจำนองอันเกิดจากการฉ้อฉลตามฟ้องนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยในคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์แทนหรือไม่ เมื่อศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไรแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ผลคำพิพากษาผูกพัน: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมต้องรอผลคดีเดิมที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดภูเก็ต เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 อ้างว่า ที่ดินพิพาทโฉนดตราจอง เลขที่ 169 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน แต่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ แล้วจำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้แก่จำเลยที่ 4 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนอง แม้ในคดีนี้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาคดีนี้ได้ก็ต่อเมื่อได้มีคำวินิจฉัยเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดภูเก็ต การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามคดีหมายเลขดำที่ 198/2546 คดีหมายเลขแดงที่ 303/2554 และฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองเพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นชื่อของ ส. เป็นคนละประเด็นกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ต ในประเด็นที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โอนที่ดินไปให้แก่บุคคลอื่นเป็นการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ กับประเด็นที่ว่าการจำนองอันเกิดจากการฉ้อฉลตามฟ้องนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยในคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนหรือไม่ เมื่อศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไรแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-คำสั่งถึงที่สุด: ศาลยกฟ้องคดีเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน เนื่องจากฟ้องซ้ำและคำสั่งเดิมผูกพัน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองกับนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 7524 ทั้งหมด อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์อ้างเหตุและมีคำขอท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เป็นอย่างเดียวกันกับคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 7524 และ10625 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดและย่อมผูกพันโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 เมื่อการขายทอดตลาดที่ดินไม่ได้ถูกเพิกถอน ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิรับโอนที่ดินดังกล่าวตามคำสั่งศาลและมีสิทธิโอนต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18803/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยทราบดีว่าที่ดินเป็นของโจทก์จึงมีเจตนาบุกรุก
ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อปี 2547 โดยวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ย่อมมีผลผูกพันคู่ความรวมทั้งโจทก์ด้วย และเมื่อเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์ อันเป็นคุณแก่โจทก์จึงอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กับ จ. เป็นจำเลยต่อศาลแขวงอุบลราชธานี จึงมิใช่กรณียังไม่เป็นที่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ต่อมาเมื่อปี 2551 จำเลยที่ 1 กับ จ. ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์จนศาลพิพากษาลงโทษและให้ออกไปจากที่ดินพิพาท จากนั้นปี 2552 จำเลยทั้งสองยังเข้าไปในที่ดินพิพาทอีกจนถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ถือว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินพิพาทแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16999/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตแยกฉบับ-ความรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทน: ข้อเท็จจริงในคดีก่อนไม่ผูกพันคดีหลัง, การพิสูจน์เจตนาของผู้เอาประกัน
ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า แม้สัญญาประกันชีวิตที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนและสัญญาประกันชีวิตที่ฟ้องคดีนี้ทำขึ้นในวันเดียวกันและรวมอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกัน แต่ก็เป็นสัญญาแยกต่างหากจากกันได้เพราะมิได้มีกฎหมายใดกำหนดให้สัญญาประกันชีวิตแบบพิเศษในคดีนี้เป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาประกันภัยแบบสะสมทรัพย์ในคดีก่อน สัญญาประกันชีวิตแต่ละฉบับมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองทั้งสัญญาก็แยกคนละฉบับและเงื่อนไขแยกจากกัน ถือได้ว่าฟ้องโจทก์คดีนี้มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้ แม้ประเด็นแห่งคดีที่ศาลต้องวินิจฉัยทั้งสองคดีมีว่า ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงและจำเลยบอกล้างสัญญาแล้วจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็เกิดจากสัญญาประกันชีวิตคนละฉบับซึ่งมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแยกจากกัน ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันคู่ความในคดีนี้
ป. ไปพบแพทย์หญิง ศ. ที่คลีนิกเพื่อรักษาอาการไอและเป็นไข้ ผลตรวจและเอกซเรย์ปอดพบว่า ป. มีอาการหลอดลมอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนที่ ป. ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพราะต้องได้รับยาฉีดและดูอาการ แสดงว่าโรคที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียทำให้หลอดลมอักเสบมิใช่โรคที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียทำให้เป็นโรคร้ายแรงที่จำเป็นต้องนอนพักรักษาอาการในโรงพยาบาล ส่วนแผลเป็นและก้อนเนื้อที่ปอดเป็นมานานมากแล้ว แพทย์หญิง ศ. ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นวัณโรค ผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อโรค ทั้งไม่มีการตรวจปอดว่าแท้จริงแผลเป็นและก้อนเนื้อที่ปอดเป็นเพราะสาเหตุใด เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตหรือไม่ ป. ตายด้วยโรคโลหิตเป็นพิษและความดันโลหิตต่ำ มิใช่เป็นผลจากแผลเป็นและก้อนเนื้อในปอด ถือไม่ได้ว่าขณะที่ ป. ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย ป. รู้อยู่แล้วแต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยความจริงซึ่งอาจจะจูงใจให้จำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นหรือบอกปัดไม่ทำสัญญา หรือ ป. รู้อยู่แล้วแต่แถลงข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
คำสั่งนายทะเบียนที่ 13/2541 ข้อ 1 ระบุว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยที่เพิ่มเติมตามคำสั่งนี้ให้รวมถึงผู้เอาประกันภัยที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับด้วย ฉะนั้น บันทึกสลักหลังแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยตามคำสั่งฉบับดังกล่าวจึงใช้บังคับกับสัญญาประกันชีวิตก่อนวันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11718/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ หากเห็นว่าไม่ชอบต้องอุทธรณ์ฎีกาเท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่สามารถเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคือ อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไขหากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่โจทก์อ้างว่าคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น ความมุ่งหมายของโจทก์คือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้โจทก์จะเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11419/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเลิกกันแล้ว ไม่อาจบังคับจดทะเบียนสิทธิเช่าได้
แม้การเช่าที่ดินพิพาทจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่โจทก์ในฐานะผู้เช่าก็ยังต้องมีหน้าที่ชำระค่าเช่าแก่จำเลยผู้ให้เช่าตามสัญญา ไม่เช่นนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อความปรากฏว่าในคดีเรื่องก่อนที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้องขับไล่เพราะโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซึ่งจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแล้วนั้น คดีถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเรื่องก่อนจึงต้องผูกพันไปตามคำพิพากษาในคดีเรื่องก่อนอันถึงที่สุดแล้วว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าแก่จำเลยซึ่งจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันเสียแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำมาอ้างเพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-4574/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องอุทธรณ์/ฎีกา มีผลผูกพันคู่ความทั้งหมด ทำให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ถูกถอนฟ้อง
ในการถอนคำฟ้องคดีแพ่งนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติไว้มีใจความว่า การถอนคำฟ้องนั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย และตามมาตรา 145 บัญญัติไว้มีใจความว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง คดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกานั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกา และทำให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาเลย ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องซึ่งเป็นของจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 4 ย่อมหมายความถึงว่าโจทก์ไม่สามารถขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การไถ่ถอนจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การขายที่ดินและการขึ้นวงเงินจำนองระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 และการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้จำนองระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ได้ ถึงแม้โจทก์จะมิได้ถอนคำฟ้องจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม การถอนคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ย่อมมีผลผูกพันคู่ความทุกฝ่ายในกระบวนพิจารณา โจทก์จึงไม่อาจที่จะฎีกาขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แต่เพียงฝ่ายเดียวตามลำพังได้ เพราะโจทก์ได้ถอนคำฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 4 และถอนคำฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 3 ไปแล้ว
of 124