พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,236 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: การประเมินภาษีอากรชอบแล้ว แม้ศาลฎีกาวินิจฉัยราคาสินค้าเป็นราคาตลาด
คดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ยกคำขอดังกล่าว จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในส่วนคำขอดังกล่าวจึงเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145, 147 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 และต้องฟังว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบแล้ว ดังนี้ แม้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ก็ไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่ให้ยกคำขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีมรดก: พินัยกรรมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้และคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น มีคู่ความรายเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกันว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้ร้องและพินัยกรรมปลอมหรือไม่ เมื่อในคดีที่ผู้คัดค้านเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น การวินิจฉัยคดีนี้ว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง..." ดังนั้น จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงต้องถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง..." ดังนั้น จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงต้องถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องร้องซ้ำจึงเป็นกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีก่อนโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ออกเป็น 2 แปลง คือแปลงเดิมเลขที่ 4044 และแปลงใหม่เลขที่ 4045 ตามคำพิพากษาของศาล จำเลยทั้งสามจึงฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกดังกล่าว เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4045 เป็นไปโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยทั้งสามจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ยินยอมให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 และเลขที่ 4045 เป็นไปโดยไม่ชอบอีกหาได้ไม่
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหลังคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเดิมมีผลผูกพัน ห้ามฟ้องคดีซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้จดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามคนละส่วนเท่า ๆ กัน ต่อมาจำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหลังจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นไปโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องในคดีเดิมขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิม แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดอีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6455/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น vs. ทางภาระจำยอม: คำพิพากษาผูกพัน ห้ามรื้อร้อง
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอใช้ทางโดยระบุว่าเป็นทางจำเป็น คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฟังว่าเป็นทางจำเป็น คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจกล่าวอ้างในภายหลังว่าเป็นทางภาระจำยอม คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นแก่โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ทั้งต้องฟังว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: การโอนทรัพย์ชำระหนี้ไม่กระทบคำพิพากษาเดิม ศาลไม่รับฟ้องขอระงับหนี้
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการบังคับคดี โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้วก่อนวันนัดสืบพยาน แต่จำเลยไม่ถอนฟ้องตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยในสาระสำคัญว่า ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวหากจะพึงมีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องยกขึ้นว่ากล่าวกับจำเลยเป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้งดการบังคับคดีได้ ดังนี้ คดีก่อนศาลชั้นต้นจึงยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจริงหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ให้ต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา หากโจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนจริงโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการผิดข้อตกลงชำระหนี้ แต่โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นอันระงับ ให้งดการบังคับคดี และบังคับให้จำเลยแจ้งถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งผูกพันโจทก์
คำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ให้ต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา หากโจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนจริงโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการผิดข้อตกลงชำระหนี้ แต่โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นอันระงับ ให้งดการบังคับคดี และบังคับให้จำเลยแจ้งถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลต้องฟ้องลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกร่วมกัน มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรม คือ ลูกหนี้กับผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยในคดี จะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลย่อมไม่ผูกพันลูกหนี้หรือผู้ได้รับลาภงอก
อ. เป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ อ. และเป็นผู้ได้รับลาภงอกจากการกระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้อง อ. ด้วย แม้จะปรากฏว่า อ. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า ก่อน อ. ถึงแก่กรรมได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรักษา อ. มาโดยตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำเพื่อฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น หาใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมคดีนี้ได้
อ. เป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ อ. และเป็นผู้ได้รับลาภงอกจากการกระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้อง อ. ด้วย แม้จะปรากฏว่า อ. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า ก่อน อ. ถึงแก่กรรมได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรักษา อ. มาโดยตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำเพื่อฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น หาใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกร่วมกัน มิฉะนั้นขาดอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมคือลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยจะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลก็ไม่มีผลผูกพันลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมที่ทำกับ อ. ลูกหนี้ของโจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นจำเลย มิได้ฟ้อง อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย แม้ อ. ผู้ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จะถึงแก่ความตายไปแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้ดูแลรักษา อ. ตลอดมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำขึ้นเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น เป็นเพียงการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. เมื่อโจทก์มิได้ฟ้อง อ. หรือทายาทของ อ. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมที่ทำกับ อ. ลูกหนี้ของโจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นจำเลย มิได้ฟ้อง อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย แม้ อ. ผู้ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จะถึงแก่ความตายไปแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้ดูแลรักษา อ. ตลอดมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำขึ้นเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น เป็นเพียงการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. เมื่อโจทก์มิได้ฟ้อง อ. หรือทายาทของ อ. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ การบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ได้กำหนดเวลาชำระหนี้แต่ละงวดไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน ซึ่งหากจำเลยทั้งสองผิดนัดการชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดการชำระหนี้ทุกงวด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ประสงค์ให้ถือเอาเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จึงผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก แม้โจทก์จะรับชำระหนี้งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 4 ซึ่งชำระไม่ตรงตามกำหนด โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยทั้งสองก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยังไม่ประสงค์จะบังคับคดีในขณะนั้นเท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยทั้งสองพ้นจากความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้งวดต่อไปให้ตรงตามกำหนด เมื่อจำเลยทั้งสองยังคงชำระหนี้งวดที่ 5 ไม่ตรงตามกำหนดอีก จึงเป็นผู้ผิดนัด
จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีด้วยการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้โจทก์จะทราบมาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้เสนอขายต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด มีมติให้ซื้อจากจำเลยที่ 2 แล้ว ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยไม่สุจริต
จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีด้วยการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้โจทก์จะทราบมาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้เสนอขายต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสุพรรณบุรี จำกัด มีมติให้ซื้อจากจำเลยที่ 2 แล้ว ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ศาลตัดสินแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของสามยทรัพย์ การฟ้องใหม่จึงเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
โจทก์ฟ้องคดีนี้และคดีก่อนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ภาระจำยอม 10 ปี และภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ตามที่โจทก์อ้าง ถือว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของสามยทรัพย์ ผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148