พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,236 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่ฟ้องซ้ำประเด็นเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของสามยทรัพย์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้และคดีก่อนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ภาระจำยอม 10 ปี และภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีก่อน เพราะข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของสามยทรัพย์ ผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินผูกพันคดีขับไล่ภายหลังได้
ในคดีก่อนโจทก์บังคับคดีขับไล่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นบริวารของ บ. ให้ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่พิพาทเดียวกันกับคดีนี้ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลยเพราะที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง เมื่อคำร้องดังกล่าวตั้งประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าวจึงมีว่า ที่ดินเนื้อที่ 30 ไร่ ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องนั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่ผู้ร้อง ดังนี้ คำวินิจฉัยที่รับฟังว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ไม่ใช่ของโจทก์จึงเป็นคำวินิจฉัยที่มีประเด็นแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ผลแห่งคำวินิจฉัยย่อมผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือตามว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของผู้ร้อง หรือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1
เมื่อคดีแพ่งของศาลชั้นต้น มี บ. เป็นโจทก์ ว. และ ด. เป็นจำเลย โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความด้วย คำวินิจฉัยที่ให้ บ. ชนะคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มาด้วยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยิมยอมของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิในที่พิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยินยอมของเจ้าของที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3
เมื่อคดีแพ่งของศาลชั้นต้น มี บ. เป็นโจทก์ ว. และ ด. เป็นจำเลย โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความด้วย คำวินิจฉัยที่ให้ บ. ชนะคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มาด้วยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยิมยอมของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิในที่พิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในที่พิพาทโดยความยินยอมของเจ้าของที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังหย่า: โอนกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างแทนค่าชดเชยผูกพันโจทก์ไม่อาจฟ้องขับไล่
คำพิพากษาของศาลจังหวัดนครปฐมแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์ปฏิบัติ การที่โจทก์เลือกที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวและอาคารพาณิชย์ให้แก่จำเลยแทนการชำระเงิน หรือนำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้จำเลย ก็แสดงชัดเจนในตัวว่าโจทก์ยอมให้สิ่งปลูกสร้างซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์เพื่อให้จำเลยนำออกให้เช่าและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดิน เมื่อจำเลยตกลงด้วยตามบันทึกข้อตกลงจึงเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นโดยผลของการปฏิบัติตามคำพิพากษาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกหรือปฏิบัติให้เป็นอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างของจำเลยซึ่งได้มาโดยผลแห่งคำพิพากษาตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์เพื่อเก็บดอกผลค่าเช่าต่อไป ที่จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์ก็เป็นการอาศัยสิทธิตามคำพิพากษาจึงไม่เป็นละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันแจ้งตกหล่น การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ที่เกินกำหนดเวลา มีผลผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า เหตุที่ผู้คัดค้านมิได้ระบุหลักประกันเหนือที่ดินของลูกหนี้ในคำขอรับชำระหนี้ที่ผู้คัดค้านได้ยื่นไว้ด้วยเนื่องจากพลั้งเผลอ และขออนุญาตเพิ่มเติมหลักประกันในคำขอรับชำระหนี้ มิใช่เรื่องการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในคำขอรับชำระหนี้ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นมิได้เกิดจากการพลั้งเผลอ คดีถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ.2522 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้คัดค้านจะต้องคืนหลักประกันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องและสิทธิเหนือทรัพย์นั้นเป็นอันระงับตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97 ผู้คัดค้านย่อมไม่อาจยกข้อกล่าวอ้างหรือนำสืบในภายหลังอันเกี่ยวกับประเด็นกันนั้นอีกได้ การที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ผู้คัดค้านคืนหลักประกันและเพิกถอนรายการจดทะเบียนจำนองหลักประกันว่า ผู้คัดค้านมิได้ปกปิดหลักประกันก็ดี ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่มิได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเนื่องจากความพลั้งเผลอก็ดี ล้วนเป็นข้ออ้างในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำร้องของผู้คัดค้านมาแล้ว จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ.2542 มาตรา 14 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องนำสืบสิทธิ มิใช่พึ่งการยอมรับของคู่ความ
คำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งเท่านั้น ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 เมื่อเจ้าหนี้ผู้นำยึดคือโจทก์ในคดีนี้เป็นบุคคลภายนอกในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงหาอาจอ้างคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเพื่อให้คดีนี้ต้องถือตามได้ไม่ ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบตามข้ออ้างในคำร้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ผู้ร้องและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้ตามคำร้องนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ต้องไต่สวนก่อน
กรณีที่จะเป็นการขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ต้องเป็นกรณีที่โจทก์หรือจำเลยที่ได้ยื่นคำให้การไว้ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ซึ่งวันสืบพยานดังกล่าวต้องเป็นวันสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนวนก่อนเจ้าหนี้รายอื่นและขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำร้องในวันนัดไต่สวน ซึ่งมิใช่เป็นการสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดที่ศาลจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 202 มาบังคับใช้ เมื่อผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่นำพยานหลักฐานมาสืบ และสั่งยกคำร้องจึงชอบแล้ว
กรณีที่จะเป็นการขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ต้องเป็นกรณีที่โจทก์หรือจำเลยที่ได้ยื่นคำให้การไว้ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ซึ่งวันสืบพยานดังกล่าวต้องเป็นวันสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนวนก่อนเจ้าหนี้รายอื่นและขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำร้องในวันนัดไต่สวน ซึ่งมิใช่เป็นการสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดที่ศาลจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 202 มาบังคับใช้ เมื่อผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่นำพยานหลักฐานมาสืบ และสั่งยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10261/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิในที่ดินพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์และจำเลยในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน โดยคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่โจทก์นำไปออกโฉนดว่าเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะยกฟ้อง ก็เนื่องมาจากว่าจำเลยมิได้ร้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ออกโฉนดดังกล่าวโดยมิชอบ แต่จำเลยกลับมีคำขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลย ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยย่อมไม่จำต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์กันอีก เนื่องจากที่พิพาทเป็นของจำเลยอยู่แล้ว ที่จำเลยมีคำขอให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ให้นั้นจึงเป็นกรณีที่ไม่จำต้องมีการบังคับตามคำขอ มิใช่คำฟ้องไม่สมบูรณ์ แต่เป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับตามคำขอให้ได้เท่านั้น คู่ความยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 145
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และจำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกับมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการห้ามเกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน แม้จำเลยมีคำขอเพิ่มมาในฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท แต่ก็ยังคงเป็นกรณีที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัย และคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และจำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกับมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการห้ามเกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน แม้จำเลยมีคำขอเพิ่มมาในฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท แต่ก็ยังคงเป็นกรณีที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัย และคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดีก่อนหน้าย่อมมีผลผูกพันในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าเสียหาย 1,090,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 1,090,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าเสียหาย 1,090,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 1,090,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ผูกพันคู่ความในคดีต่อมา แม้ผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่างกันเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 28326/2541 ของศาลชั้นต้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและพิพากษาให้จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) โดยรับรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปในสภาพปัจจุบัน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวจึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสามในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างหรือโต้เถียงให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วยก็ตาม เมื่อเป็นกรณีคำพิพากษาผูกพันคู่ความแล้วก็ต้องฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้ออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ทนายความกระทำโดยไม่ปรึกษาจำเลย ก็ไม่เป็นกระบวนการที่ผิดระเบียบ
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ หากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใดก็ชอบที่ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของจำเลยตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่น & ค่าใช้ที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ, การครอบครองปรปักษ์ไม่สำเร็จ
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทได้ไม่ต้องรื้อถอนบ้านที่ปลูกรุกล้ำที่ดินพิพาท คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะได้กล้าวอ้างเป็นประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อศาลจังหวัดนครราชสีมามิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้อุทธรณ์ ประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์จึงยุติถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ เพียงแต่จำเลยคงมีสิทธิใช้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องรื้อถอนบ้านออกไปเท่านั้น การที่จำเลยครอบครองบ้านดังกล่าวย่อมเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้ค่าใช้ที่ดินจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง