พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,236 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอน การใช้สิทธิโดยชอบตามกฎหมาย และความรับผิดในละเมิด
แม้ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก มิได้ระบุให้รื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนด้วย แต่ก่อนทำการรื้อถอนเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าขณะเข้าทำการรื้อถอนพบว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่จะต้องรื้อถอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ และขอหารือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการรื้อถอนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ให้โจทก์รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมทั้งหมดออก ย่อมมีความหมายว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ไม่สามารถกระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่โจทก์ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ในระหว่างการพิจารณาได้ และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณที่จะทำการรื้อถอนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันใดเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องทำการปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้งที่จะเข้าทำการรื้อถอนไม่ เมื่อได้ความว่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมสามารถทำการรื้อถอนในวันดังกล่าวและวันต่อมาได้โดยไม่จำต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดนัดรื้อถอนให้โจทก์ทราบใหม่ทุกครั้ง การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มิได้กระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิด จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณที่จะทำการรื้อถอนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันใดเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องทำการปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้งที่จะเข้าทำการรื้อถอนไม่ เมื่อได้ความว่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมสามารถทำการรื้อถอนในวันดังกล่าวและวันต่อมาได้โดยไม่จำต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดนัดรื้อถอนให้โจทก์ทราบใหม่ทุกครั้ง การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มิได้กระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิด จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันต้องแจ้งตั้งแต่แรก หากละเว้นโดยไม่สมเหตุผล ศาลมีสิทธิยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยขอเพิ่มเติมหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ของจำเลยด้วย แต่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินดังกล่าวโดยการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ กรณีต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพลั้งเผลอและคดีถึงที่สุดแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้ร้องจะต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านและสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ที่จะขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หวงห้ามเพื่อใช้ในราชการ โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนโฉนดและขับไล่ จำเลยสู้ไม่ได้
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) เมื่อที่ดินพิพาทในคดีนี้ก็เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างว่า มีสิทธิในที่ดินพิพาท จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าอย่างไร การนำสืบของจำเลยทั้งสี่เป็นการนำสืบโดยใช้วิธีอธิบายพยานเอกสารให้มีความหมายต่างไปจากที่ปรากฎในพยานเอกสารหรือเป็นการให้ความเห็นเท่านั้น ถือว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า จึงต้องฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายจึงเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายจึงเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044-4046/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองสินสมรสแทนกัน, การเพิกถอนนิติกรรม, สิทธิในการเป็นเจ้าของรวมในที่ดิน, และอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 จัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันเป็นการอาศัยสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จัดการสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์สามารถฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามมาตรา 1480 และหากศาลเพิกถอนนิติกรรมย่อมเกิดผลที่โจทก์สามารถร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารได้ตาม มาตรา 1475 การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นการวินิจฉัยที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี กรณีมิใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้และขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาท ส่วนคดีก่อนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องนาง อ. เรียกโฉนดที่ดินคืน กรณีมิใช่เป็นโจทก์คนเดียวกัน ทั้งมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ส่วนอีกคดีแม้จะเป็นโจทก์คนเดียวกันฟ้อง แต่ที่ดินคนละแปลงกัน ประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่เรื่องเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการยกให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเด็ดขาด จึงมิใช่การจัดการสินสมรสโดยมิชอบที่จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1475 ได้ โดยโจทก์มีสิทธิตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใดที่จะติดตามเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อยังปรากฏชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนให้ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทได้
แม้คดีจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปทำนิติกรรมใด ๆ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับนาย พ. และนาย ช. หรือติดตามเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมย่อมกระทบถึงสิทธิของนาย พ. และนาย ช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องนาย พ. และนาย ช. เป็นจำเลยด้วยผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 182/1 วรรคสอง แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงร่วมกับนาย ช. โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้และขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาท ส่วนคดีก่อนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องนาง อ. เรียกโฉนดที่ดินคืน กรณีมิใช่เป็นโจทก์คนเดียวกัน ทั้งมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ส่วนอีกคดีแม้จะเป็นโจทก์คนเดียวกันฟ้อง แต่ที่ดินคนละแปลงกัน ประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่เรื่องเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 กรณียังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการยกให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเด็ดขาด จึงมิใช่การจัดการสินสมรสโดยมิชอบที่จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1475 ได้ โดยโจทก์มีสิทธิตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใดที่จะติดตามเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อยังปรากฏชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนให้ในสารบาญโฉนดที่ดินพิพาทได้
แม้คดีจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปทำนิติกรรมใด ๆ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับนาย พ. และนาย ช. หรือติดตามเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมย่อมกระทบถึงสิทธิของนาย พ. และนาย ช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องนาย พ. และนาย ช. เป็นจำเลยด้วยผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาตรา 182/1 วรรคสอง แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงร่วมกับนาย ช. โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: หน่วยงานรัฐรับผิดละเมิดเจ้าหน้าที่ – ผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
การที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้วมาฟ้องคดีนี้ แม้จำเลยที่ 2 คดีนี้และจำเลยในคดีก่อนจะเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน แต่จำเลยในคดีก่อนและจำเลยที่ 2 คดีนี้ ต่างเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ พ. (จำเลยซึ่งในคดีนี้) เป็นเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของ พ. ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน และในคดีก่อนได้ถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 อันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทำสัญญาผ่อนชำระแทนเจ้าของกิจการ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกหนี้เอง
โจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงการ ฟ. โดยโจทก์เป็นผู้พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่จำเลยด้วยการให้จำเลยผ่อนชำระค่าศัลยกรรมซึ่งโจทก์ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการสนับสนุนเงินทุนเพื่อทำศัลยกรรมกับ ซ. โดย ซ. เบิกความสนับสนุนว่ามีการทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์กันไว้จริงตามเอกสารหมาย จ.11 อันเป็นการนำสืบพยานหลักฐานในทำนองว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกันประกอบกิจการในโครงการ ฟ. แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏตามคำเบิกความของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. 4426/2563 ของศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่าร่วมกับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยในคดีดังกล่าวโจทก์เบิกความว่า โจทก์ทำงานในโครงการ ฟ. ในฐานะเป็นลูกจ้าง ซึ่งตรงกับที่โจทก์เบิกความในคดีอื่น ๆ อีกหลายคดีที่ระบุว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของโครงการ ฟ. ได้รับเงินเดือนโดยเป็นผู้อำนวยการโครงการ มีหน้าที่จัดทำเว็บไซต์ของโครงการและทำหน้าที่ด้านการเงินเท่านั้น ซึ่งคำเบิกความของโจทก์และผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันโจทก์ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. โดยทำหน้าที่ในด้านการเงินและเป็นผู้เปิดบัญชีรับโอนเงินกับรับทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ในโครงการดังกล่าวแทน ซ. เท่านั้น โจทก์เพิ่งยกหนังสือสัญญาแบ่งผลประโยชน์เป็นหลักฐานในคดีนี้ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวขัดกับคำให้การและคำเบิกความในคดีก่อนโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบเอกสารดังกล่าวต่อศาล เชื่อว่าเอกสารหมาย จ.11 มีการจัดทำขึ้นในภายหลังเพื่อผลประโยชน์ในคดีที่เรียกร้องเงินตามสัญญาผ่อนชำระหนี้จากลูกหนี้ในโครงการเท่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังเบิกความว่าโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก ซ. ให้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 12 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับเอกสารหมาย จ.11 จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวได้
คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คดีหมายเลขแดง ที่ ผบ. 4426/2563 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของโจทก์กับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีไม่เป็นการทำละเมิด โดยไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นลูกจ้างหรือเป็นหุ้นส่วนกับ ซ. อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้หรือไม่ ผลของคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ และจำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่าโจทก์เบิกความเท็จต่อศาลในคดีดังกล่าวว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีส่วนได้เสียในโครงการ ฟ. และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ อันเป็นการยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ในคดีนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเพียงลูกจ้างในโครงการ ฟ. การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทน จึงเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของ ซ. เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจาก ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดี: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกัน และผลของการบังคับคดีที่ตกเป็นพ้นวิสัย
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 4617 - 4618/2560 ซึ่งเป็นคดีสาขาในชั้นบังคับคดีของคดีตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ได้พิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุว่า หากผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีต่อไป ต้องเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำกับเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ส่วนคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2562 ซึ่งมีบริษัท ต. เป็นโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ แม้ทั้งสองเรื่องดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1083 แต่การปฏิบัติการชําระหนี้สามารถแบ่งแยกจากกันได้อย่างชัดเจน กรณีไม่เป็นคําพิพากษาของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันนั้นขัดกันอันจะตกอยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
เมื่อ จ. และ ส. จำเลยทั้งสองตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยื่นคําร้องขอให้งดการโอนที่ดินพิพาทตามคําขอของผู้ร้องที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบึงกุ่ม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการบังคับคดีในลำดับแรกโดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นพ้นวิสัย ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวและได้แต่รับมัดจำ รวมทั้งค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จะมาเรียกให้บังคับคดีในลำดับแรกอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
เมื่อ จ. และ ส. จำเลยทั้งสองตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยื่นคําร้องขอให้งดการโอนที่ดินพิพาทตามคําขอของผู้ร้องที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบึงกุ่ม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการบังคับคดีในลำดับแรกโดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นพ้นวิสัย ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวและได้แต่รับมัดจำ รวมทั้งค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จะมาเรียกให้บังคับคดีในลำดับแรกอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาและการชดใช้ค่าเสียหายจากสภาพรถยนต์ชำรุด
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีสถานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำบังคับ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีต่อไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และมาตรา 274 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และหากการละเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ยังชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสี่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสี่มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา จนโจทก์ติดตามรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ในสภาพชำรุดบกพร่อง ทำให้ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคารถยนต์ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาคดีก่อน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นราคารถยนต์ที่ขาดไป จำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนอันสืบเนื่องมาจากมูลหนี้คดีก่อนที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ มิใช่ค่าเสียหายที่มีหลักแหล่งแห่งข้อหาตามสัญญาเช่าซื้อหรือข้ออ้างที่อาศัยความผูกพันกันตามสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและหนังสือให้ความยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อและร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งเลิกกันไปแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนได้วินิจฉัยจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาความสมบูรณ์หรือความเป็นโมฆะเสียเปล่าของสัญญาดังกล่าวอีก เพราะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย และเห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมิใช่บทบังคับว่า ศาลต้องหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียทุกกรณี ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาข้อสำคัญที่ว่า การหยิบยกปัญหาเรื่องความโมฆะของสัญญาฉบับเดียวกันกับในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัย จนเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาเดียวกันแตกต่างกัน อันก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการบังคับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามในลำดับแรกด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีเป็นอันไร้ผลไปโดยสิ้นเชิง เป็นผลให้ตกเป็นภาระแก่จำเลยที่ 1 เพียงลำพัง ทั้งที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่างเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาที่ละเลยต่อการชำระหนี้ไม่แตกต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อน
เมื่อรถยนต์ที่จำเลยทั้งสี่ต้องส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ มีมูลค่า 400,000 บาท ตามราคาใช้แทนรถยนต์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดไว้ในคดีก่อน โจทก์ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดรถยนต์แล้ว 308,411.21 บาท โจทก์จึงยังคงเสียหายเป็นเงินเพียง 91,588.79 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เกินกว่าความเสียหายของโจทก์จึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสี่มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา จนโจทก์ติดตามรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ในสภาพชำรุดบกพร่อง ทำให้ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคารถยนต์ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาคดีก่อน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นราคารถยนต์ที่ขาดไป จำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนอันสืบเนื่องมาจากมูลหนี้คดีก่อนที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ มิใช่ค่าเสียหายที่มีหลักแหล่งแห่งข้อหาตามสัญญาเช่าซื้อหรือข้ออ้างที่อาศัยความผูกพันกันตามสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและหนังสือให้ความยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อและร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งเลิกกันไปแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนได้วินิจฉัยจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาความสมบูรณ์หรือความเป็นโมฆะเสียเปล่าของสัญญาดังกล่าวอีก เพราะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย และเห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมิใช่บทบังคับว่า ศาลต้องหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียทุกกรณี ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาข้อสำคัญที่ว่า การหยิบยกปัญหาเรื่องความโมฆะของสัญญาฉบับเดียวกันกับในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัย จนเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาเดียวกันแตกต่างกัน อันก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการบังคับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามในลำดับแรกด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีเป็นอันไร้ผลไปโดยสิ้นเชิง เป็นผลให้ตกเป็นภาระแก่จำเลยที่ 1 เพียงลำพัง ทั้งที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่างเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาที่ละเลยต่อการชำระหนี้ไม่แตกต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อน
เมื่อรถยนต์ที่จำเลยทั้งสี่ต้องส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ มีมูลค่า 400,000 บาท ตามราคาใช้แทนรถยนต์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดไว้ในคดีก่อน โจทก์ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดรถยนต์แล้ว 308,411.21 บาท โจทก์จึงยังคงเสียหายเป็นเงินเพียง 91,588.79 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เกินกว่าความเสียหายของโจทก์จึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจากสัญญาเช่าซื้อ กรณีรถยนต์สภาพทรุดโทรม
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกัน ให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน และให้ร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความ และทำให้จำเลยทั้งสี่มีสถานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ นอกจากโจทก์ชอบจะร้องขอให้มีการบังคับคดีต่อไปได้ในกรณีที่จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ละเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายประการใด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้อีก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อน จำเลยทั้งสี่มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี และมิได้ใช้ราคาแทนให้แก่โจทก์ จนกระทั่งโจทก์ติดตามรถยนต์คืนมาในสภาพชำรุดเสียหาย ทำให้นำรถยนต์ขายทอดตลาดได้เงินต่ำกว่าราคารถยนต์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคดีก่อน จึงต้องถือว่าการละเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นราคารถยนต์ส่วนที่ขาดไป จำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนอันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อน มิใช่ค่าเสียหายที่มีหลักแหล่งข้อหาตามสัญญาเช่าซื้อหรือข้ออ้างที่อาศัยความผูกพันกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเลิกกันไปแล้วและศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดจนเสร็จสิ้น จึงไม่มีเหตุที่ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบอกกล่าวผู้ค้ำประกันให้ทราบการผิดนัดของลูกหนี้ไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำท้าทางกฎหมาย: ศาลผูกพันตามคำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวข้อง แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด
คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาในคดีที่ ส. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ฟ้องบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. บริษัทบริหารสินทรัพย์ ก. และโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยร่วมกันขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท หากผลคดีดังกล่าวเป็นอย่างไร ให้ถือตามผลคดีนั้น คู่ความมิได้ตกลงกันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นข้อวินิจฉัยตามคำท้า คำท้าดังกล่าวต้องถือว่าคู่ความมีเจตนาถือเอาผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดเป็นข้อวินิจฉัยในประเด็นที่ได้ท้ากัน เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าในคดีที่ท้ากันศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า บรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยชอบ ถือว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตรงตามคำท้าที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 โจทก์ทั้งสองและจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำท้าที่ตกลงกันตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์ทั้งสองย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้