พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8377/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฟ้อง – ผลกระทบต่อคำพิพากษา – การนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เช็ค, การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย, และขอบเขตอำนาจศาล
จำเลยที่ 1 ยกข้อต่อสู้เรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ แม้จำเลยที่ 3 ให้การไม่ชัดแจ้งทำให้คำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญดังเช่นที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ก็ตาม แต่คดีนี้มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ป.วิ.พ. มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน กระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ย่อมถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่นๆ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดให้แก่บริษัท ง. ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 1 ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คเสร็จสิ้นแล้ว เช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่น แต่พยานจำเลยที่ 1 คงมีเพียง พ. ทนายจำเลยที่ 1 ปากเดียวเบิกความว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. หลังจากมีการเดินบัญชีตามสัญญาขายลดเช็คแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบปฏิเสธว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่นดังที่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัท ง. กับจำเลยที่ 1 มีหนี้ประเภทอื่นที่ต้องชำระต่อกันอีก ดังนั้น แม้หากจะฟังข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ว่า เช็คธนาคาร ธ. ไม่ใช่เช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลด แต่เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายภายหลังเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. ก็ตาม ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ธ. เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค และหนี้เงินต้นจำนวน 185,908.46 บาท ที่ค้างชำระอยู่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 เป็นหนี้ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คตามที่โจทก์ฟ้องนั่นเองซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กรณีไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ซึ่งเป็นกำหนดอายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คมาบังคับแก่คดีดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างมาในฎีกาได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าคำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นย่อมเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าเมื่อคู่ความมีคำโต้แย้งอย่างไรแล้วศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การมีใจความสำคัญเพียงว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ ทำให้ขายสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำโดยที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินยังคงเป็นหนี้เท่าเดิม เป็นการจำกัดและลิดรอนสิทธิของประชาชนไม่ให้เป็นไปโดยอิสระตามกลไกตลาด ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน คำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตราใดที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้ โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงไม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นกรณีที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งคำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดให้แก่บริษัท ง. ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 1 ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คเสร็จสิ้นแล้ว เช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่น แต่พยานจำเลยที่ 1 คงมีเพียง พ. ทนายจำเลยที่ 1 ปากเดียวเบิกความว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. หลังจากมีการเดินบัญชีตามสัญญาขายลดเช็คแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบปฏิเสธว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่นดังที่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัท ง. กับจำเลยที่ 1 มีหนี้ประเภทอื่นที่ต้องชำระต่อกันอีก ดังนั้น แม้หากจะฟังข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ว่า เช็คธนาคาร ธ. ไม่ใช่เช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลด แต่เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายภายหลังเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. ก็ตาม ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ธ. เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค และหนี้เงินต้นจำนวน 185,908.46 บาท ที่ค้างชำระอยู่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 เป็นหนี้ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คตามที่โจทก์ฟ้องนั่นเองซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กรณีไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ซึ่งเป็นกำหนดอายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คมาบังคับแก่คดีดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างมาในฎีกาได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าคำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นย่อมเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าเมื่อคู่ความมีคำโต้แย้งอย่างไรแล้วศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การมีใจความสำคัญเพียงว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ ทำให้ขายสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำโดยที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินยังคงเป็นหนี้เท่าเดิม เป็นการจำกัดและลิดรอนสิทธิของประชาชนไม่ให้เป็นไปโดยอิสระตามกลไกตลาด ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน คำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตราใดที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้ โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงไม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นกรณีที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งคำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยคำโต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญ: ศาลยุติธรรมมีอำนาจเบื้องต้นก่อนส่งศาลรัฐธรรมนูญ
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่า คำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง
คำโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ไม่ชัดแจ้งว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 อย่างไร หรือเป็นเพราะเหตุใดบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่จะทำให้บุคคลไม่มีความเสมอกันในกฎหมายหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกันเป็นคำโต้แย้งที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264
คำโต้แย้งของจำเลยที่ 3 ไม่ชัดแจ้งว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 อย่างไร หรือเป็นเพราะเหตุใดบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่จะทำให้บุคคลไม่มีความเสมอกันในกฎหมายหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เท่าเทียมกันเป็นคำโต้แย้งที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10889/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรโดยเสน่หา ไม่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พระราชกฤษฎีกามิใช่กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เป็นเพียงกฎหมายที่ออกโดยองค์กรฝ่ายบริหารซึ่งอาศัยอำนาจแห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้น บทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาจึงไม่ใช่เป็นบทบัญญัติของกฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 และ 264 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่ต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ตามที่คู่ความร้องขอ
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ให้ถือว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายในทางค้าหรือหากำไร ตามที่มาตรา 91/2 (6) ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 91/2 (6)
พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) ซึ่งออกตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่? แสดงว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มามิได้เป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์ได้ที่ดินมาแล้วโอนที่ดินดังกล่าวให้โดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนไปภายในวันเดียวกัน แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืน ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าว จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย มีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ข้อ 1 (2) และข้อ 1 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 และฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่ต้องคืนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิรับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนค่าภาษีที่ได้รับคืน.
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ให้ถือว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายในทางค้าหรือหากำไร ตามที่มาตรา 91/2 (6) ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 91/2 (6)
พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) ซึ่งออกตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่? แสดงว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มามิได้เป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์ได้ที่ดินมาแล้วโอนที่ดินดังกล่าวให้โดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนไปภายในวันเดียวกัน แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืน ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าว จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย มีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ข้อ 1 (2) และข้อ 1 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 และฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่ต้องคืนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิรับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนค่าภาษีที่ได้รับคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งความเห็นขัดแย้งบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางแต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 276 ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 นั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติว่า การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด จำเลยทั้งสองไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีน ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินยี่สิบกรัมไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตามฟ้อง
ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 นั้น ศาลฎีกาส่งข้อโต้แย้งดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33
ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 นั้น ศาลฎีกาส่งข้อโต้แย้งดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น: เหตุจำเป็นเร่งด่วน และความชอบด้วยกฎหมาย
การร้องขอให้ปล่อยตัวโดยอ้างว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240 กำหนดให้ศาลไต่สวนพยานผู้ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวโดยด่วนก่อน เมื่อศาลเห็นว่าคำร้องมีมูล ศาลจึงจะสั่งให้ผู้คุมขังนำตัวผู้ถูกคุมขังไปศาล และเป็นหน้าที่ของผู้คุมขังต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจของศาลว่าการคุมขังเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นก็จะสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง ทั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้คุมขังต้องนำพยานมาสืบ เพียงแต่ให้ผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเป็นการคุมขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การไต่สวนและการระบุอ้างพยานในชั้นนี้จึงไม่จำต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในกฎหมายวิธีสบัญญัติเรื่องการสืบพยานในคดี ดังนั้น แม้ผู้คุมขังมิได้ยื่นคำคัดค้านและมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก็ตาม ก็สามารถนำพยานเข้าไต่สวนและอ้างส่งเอกสารได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมยังใช้บังคับต่อไปได้
แม้พันตำรวจเอก ป. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร กับพวกค้นบ้านผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้นของศาลก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 238 ได้บัญญัติยกเว้นให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ได้แก่ ป.วิ.อ. มาตรา 92
ก่อนจะค้นบ้านผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จับกุม ท. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ท. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ต้องหา ขณะจับกุม ท. เป็นเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ในขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนั้นพันตำรวจเอก ป. ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมจะทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนของกลางอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ที่บัญญัติว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน ดังนั้น การค้นบ้านผู้ต้องหาจึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมยังใช้บังคับต่อไปได้
แม้พันตำรวจเอก ป. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร กับพวกค้นบ้านผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้นของศาลก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 238 ได้บัญญัติยกเว้นให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ได้แก่ ป.วิ.อ. มาตรา 92
ก่อนจะค้นบ้านผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จับกุม ท. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ท. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ต้องหา ขณะจับกุม ท. เป็นเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ในขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนั้นพันตำรวจเอก ป. ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมจะทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนของกลางอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ที่บัญญัติว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน ดังนั้น การค้นบ้านผู้ต้องหาจึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยฎีกาซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันคลาดเคลื่อนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 จึงขอยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ตามคำร้องของจำเลยมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นตามคำร้องของจำเลยเพื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ประกอบมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะเป็นการโต้แย้งการวินิจฉัยประเด็นคดี ไม่ใช่บทบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยฎีกาซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันคลาดเคลื่อนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 6 จึงขอยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ตามคำร้องของจำเลยมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นตามคำร้องของจำเลยเพื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ประกอบมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลไม่ส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา แม้จำเลยอ้างว่าคดียังไม่สิ้นสุด
การที่ศาลจะส่งความเห็นเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 ต้องเป็นกรณีที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล หากคดีถึงที่สุดแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะส่งคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 โดยจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาลส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง แล้ว
คดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีของจำเลย หามีผลให้คดีกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคสอง ระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่า คำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับบทกฎหมายและตีความบทกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาเพราะล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 โดยจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาลส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง แล้ว
คดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีของจำเลย หามีผลให้คดีกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคสอง ระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่า คำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับบทกฎหมายและตีความบทกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาเพราะล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ