พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตรา, การมอบอำนาจ, ข้อตกลงบังคับคดี และผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่จะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นข้อโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 30 และ 31 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29, 30, 48, 50, 89 และ 272 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มิได้รับโอนสินทรัพย์ในคดีนี้ของจำเลยเพราะเหตุสินทรัพย์ของจำเลยมีลักษณะไม่ครบถ้วนตามที่พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 31 บัญญัติไว้ การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยดังกล่าวจะชอบหรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกับคณะกรรมการดังกล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ในคดีนี้ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 มาตรา 30 และ 31 มาใช้ในการวินิจฉัยคดี บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี คำร้องของจำเลยไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ในสภาวะที่ประเทศไทยเกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ เป็นการพ้นวิสัย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และจำเลยได้รับการรับรองคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 และ 219 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้จดทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดหรือไม่ และ บ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ ไม่รับรอง และหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุให้ จ. มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีนี้เท่านั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบ ทั้งยังฝ่าฝืนข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายอีกด้วย เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จ. มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินคดีใด ๆ ซึ่งสาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และจำเลยมีหนี้สินค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องและศาลที่จะยื่นฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5/2542 ลงวันที่ 22 เมษายน 2542 แล้วว่า พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2475 ในส่วนที่เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้บังคับได้ในคดีทั้งปวงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคท้าย อีกทั้ง พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 เป็นกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีก็ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อพ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ป.พ.พ. มาตรา 733 เป็นเพียงบทสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณี หาใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปไม่ แต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และหาได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไป หรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้รับจำนองและผู้จำนองอาจตกลงกันเป็นประการอื่นจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ย่อมกระทำได้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมายหาตกเป็นโมฆะไม่
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ในสภาวะที่ประเทศไทยเกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ เป็นการพ้นวิสัย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และจำเลยได้รับการรับรองคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 และ 219 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การเป็นนิติบุคคลประเภทหุ้นส่วนบริษัทและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนั้น นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้จดทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดหรือไม่ และ บ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ ไม่รับรอง และหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องมิได้ระบุให้ จ. มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในคดีนี้เท่านั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบ ทั้งยังฝ่าฝืนข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตามกฎหมายอีกด้วย เมื่อหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จ. มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินคดีใด ๆ ซึ่งสาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และจำเลยมีหนี้สินค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยโจทก์หาจำต้องระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องและศาลที่จะยื่นฟ้องในหนังสือมอบอำนาจด้วยไม่
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5/2542 ลงวันที่ 22 เมษายน 2542 แล้วว่า พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2475 ในส่วนที่เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้บังคับได้ในคดีทั้งปวงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคท้าย อีกทั้ง พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 เป็นกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมสูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีก็ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ขัดต่อพ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ป.พ.พ. มาตรา 733 เป็นเพียงบทสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณี หาใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไปไม่ แต่เกี่ยวแก่คู่กรณีโดยเฉพาะ และหาได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไป หรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้รับจำนองและผู้จำนองอาจตกลงกันเป็นประการอื่นจากที่มาตรา 733 บัญญัติไว้ย่อมกระทำได้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมายหาตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนตามรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ การดำเนินการใดๆ ต้องรอการตรากฎหมายรองรับ
ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับเงินค่าทดแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุด จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ทั้งไม่อาจถือว่าการยื่นฎีกาเป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลย
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนผู้ถูกคุมขังระหว่างฎีกา: ต้องมีกฎหมายรองรับ จึงจะบังคับใช้ได้
ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับเงินค่าทดแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุด จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้ทั้งไม่อาจถือว่าการยื่นฎีกาเป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลย
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลไม่ส่งข้อโต้แย้งถึงศาลรัฐธรรมนูญ หากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาล ไม่ใช่บทบัญญัติกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ
ศาลจะส่งความเห็นหรือข้อโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราวก็ต่อเมื่อคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า การใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียกวัตถุพยานตามคำร้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยหลักการของรัฐธรรมนูญ มิได้อ้างว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นจะส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยและรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคดีปกครอง และการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกาพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะเป็นการโต้แย้งการวินิจฉัยประเด็นคดี ไม่ใช่บทบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยฎีกาซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันคลาดเคลื่อนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 6 จึงขอยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ตามคำร้องของจำเลยมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นตามคำร้องของจำเลยเพื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ประกอบมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยฎีกาซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันคลาดเคลื่อนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 จึงขอยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ตามคำร้องของจำเลยมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นตามคำร้องของจำเลยเพื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ประกอบมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้ต้องหาคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ เพื่อป้องกันการหลบหนีและดำเนินคดีตามกฎหมาย
ผู้ต้องหาถูกธนาคารแห่งประเทศไทยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. เฉพาะที่ผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 2 คดี มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,000 ล้านบาทและมีการขยายผลเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาอีกหลายคดี รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท เป็นเหตุให้ธนาคาร ก. ต้องปิดกิจการลงในที่สุดกรณีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล่มสลายของสถาบันการเงินอื่นและระบบเศรษฐกิจของประเทศ หลังเกิดเหตุแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาเพื่อนำมาชดเชยความเสียหาย ปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหาที่ติดตามอายัดได้เป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่อาจทดแทนความเสียหายที่ผู้ต้องหากับพวกก่อให้เกิดขึ้นได้ผู้ต้องหาเป็นน้องภริยาของ ร. ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. และ ร. ได้หลบหนีคดีไปอยู่ที่ประเทศ แคนาดา การอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรอาจเป็นช่องทางให้ผู้ต้องหาหลบหนีคดีเช่นเดียวกับ ร. ญาติของผู้ต้องหาได้ผู้ต้องหาอ้างเหตุในคำร้องที่ขออนุญาตออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปเป็นพยานให้ ร. ต่อศาลสูงแห่งมลรัฐ บริติชโคลัมเบีย ประเทศ แคนาดา ในคดีที่ ร. ถูกฟ้องในข้อหาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งทางการไทยได้ขอตัว ร. มาดำเนินคดีในประเทศไทย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรตามคำร้องของผู้ต้องหาได้
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามออกนอกราชอาณาจักรผู้ต้องหายักยอกทรัพย์-ส่งผู้ร้ายข้ามแดน: อำนาจตามกฎหมายและเหตุสมควร
ผู้ต้องหาถูกธนาคารแห่งประเทศไทยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. เฉพาะที่ผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 2 คดี มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,000ล้านบาท และมีการขยายผลเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาอีกหลายคดี รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท เป็นเหตุให้ธนาคาร ก.ต้องปิดกิจการลงในที่สุดกรณีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล่มสลายของสถาบันการเงินอื่นและระบบเศรษฐกิจของประเทศ หลังเกิดเหตุแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาเพื่อนำมาชดเชยความเสียหาย ปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหาที่ติดตามอายัดได้เป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่อาจทดแทนความเสียหายที่ผู้ต้องหากับพวกก่อให้เกิดขึ้นได้ผู้ต้องหาเป็นน้องภริยาของ ร.ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.และ ร.ได้หลบหนีคดีไปอยู่ที่ประเทศแคนาดา การอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรอาจเป็นช่องทางให้ผู้ต้องหาหลบหนีคดีเช่นเดียวกับ ร.ญาติของผู้ต้องหาได้ผู้ต้องหาอ้างเหตุในคำร้องที่ขออนุญาตออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปเป็นพยานให้ ร.ต่อศาลสูงแห่งมลรัฐบริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ในคดีที่ ร.ถูกฟ้องในข้อหาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งทางการไทยได้ขอตัว ร.มาดำเนินคดีในประเทศไทย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรตามคำร้องของผู้ต้องหาได้
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการส่งเรื่องวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง