พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26,27,28 และ 272 หรือไม่นั้นศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้อง ของ ศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ข้อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้หากกฎหมายไม่ได้ห้าม และวัตถุประสงค์ของมูลนิธิอนุญาต
ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างสิทธิเป็นผู้รับพินัยกรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 5 คัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ทั้งผู้คัดค้านที่ 5กล่าวอ้างว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 5 เป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 ตามพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีจึงมีประเด็นว่า พินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ฉบับใดเป็นฉบับแท้จริง และผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ กรณีเป็นเรื่องวิธีจัดการมรดกเท่านั้น หาได้มีข้อโต้แย้งในระหว่างผู้รับมรดกแต่อย่างใดไม่ แม้ข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้ถวายทรัพย์มรดกแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฟ้องและโต้แย้งสิทธิต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิใช่เป็นเรื่องที่มีการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 66 และ 67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่นั้นไม่อยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของตนดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล ดังนั้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ประกอบกับผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วย อีกทั้งตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องได้ระบุไว้ในข้อ 5 ว่า มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้... ข.ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้เป็นพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดในหนี้สินแต่ประการใด... การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จึงอยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่และไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 เนื่องจากผิดหลง เพราะผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีสำหรับผู้คัดค้านที่ 2จึงไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คดีไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่แต่อย่างใดอีกโดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 66 และ 67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่นั้นไม่อยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของตนดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล ดังนั้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ประกอบกับผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วย อีกทั้งตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องได้ระบุไว้ในข้อ 5 ว่า มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้... ข.ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้เป็นพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดในหนี้สินแต่ประการใด... การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จึงอยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่และไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 เนื่องจากผิดหลง เพราะผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีสำหรับผู้คัดค้านที่ 2จึงไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คดีไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่แต่อย่างใดอีกโดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวชที่ไม่ชอบตามกฎหมายเถรสมาคมและการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนา
เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 มาตรา 27 และไม่เป็นไปตามมาตรา 5ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าวเท่านั้นจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวที่จำเลยอุทธรณ์ได้ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 เพราะการกระทำ ของ จำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 38 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพ บริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและก่อนจำเลยจะมีพรรษา ครบ 10 พรรษา จำเลยได้ทำหน้าที่ดังเช่นอุปัชฌาย์โดยจำเลย บวชให้แก่ผู้อื่น ทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นพระผู้ใหญ่ ในการบวช รวมทั้งเป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารโดยจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมซึ่งขัดต่อ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุที่บัญญัติว่าการแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาสผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองสงฆ์ตำแหน่งอื่น ๆ และไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 7(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 และมาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 ข้อ 4 บัญญัติว่า พระอุปัชฌาย์หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธาน และรับผิดชอบในการให้บรรพชาอุปสมบทตามบทบัญญัติ แห่งกฎมหาเถรสมาคม และข้อ 12 บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและ เฉพาะภายในเขตตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ตาม กฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว การบวชของผู้ที่จำเลย บวชให้ จึงเป็นการบวชที่ไม่ชอบ และผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิ แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณร ในพระพุทธศาสนา ผู้ที่จำเลยบวชให้จึงต้องมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้บวชและทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่เป็นผู้มอบเครื่องแต่งกายและอัฐบริขารให้แก่จำเลยอื่น จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 ประกอบด้วย มาตรา 86 พระธรรมวินัยมีถ้อยคำและความหมายอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กฎมหาเถรสมาคมซึ่งออกมาเพื่อประดิษฐานพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและจำนวนพุทธศาสนิกชนที่เพิ่มขึ้นและมิได้ขัดต่อพระธรรมวินัยเมื่อกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าวออกโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 มาตรา 23 จึงใช้บังคับได้ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องอนุวัตปฏิบัติตาม จะโต้เถียงว่าขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและไม่ยอมปฏิบัติตามไม่ได้ แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 38 จะบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา มีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ แต่ก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 บัญญัติขึ้นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มี ศรัทธาอยู่แล้ว และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อนบุคคลทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ต้องตามเจตนารมณ์ จำเลยบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกายเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2513 และในปี 2516 ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกายซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วง เวลาดังกล่าวจำเลยก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ไม่ปรากฏว่า จำเลยถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 18 บัญญัติให้มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้การที่จำเลยขอลาออกจากการปกครองของมหาเถรสมาคม และแยกตัวมาตั้งพุทธสถานสันติอโศก แล้วดำเนินการบวชบุคคลอื่นเป็นพระภิกษุโดยวางกฎระเบียบต่าง ๆ และพยายามปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย แม้จะเป็นเวลานานเท่าใด การประกาศของจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยกับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้