พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563-3564/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับเข้าทำงานต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า หากต่ำกว่าถือไม่เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษา
การรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานในตำแหน่งซึ่งต่ำกว่าเดิมจะถือว่าเป็นการรับกลับเข้าทำงานเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างมิได้ เมื่อมีคำร้องของลูกจ้างว่านายจ้างมิได้ให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมศาลย่อมมีอำนาจจะวินิจฉัยว่าตำแหน่งซึ่งนายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่ำกว่าตำแหน่งเดิมหรือไม่เพราะเป็นคำสั่งในการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหาใช่เป็นการขยายความนอกเหนือไปจากคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563-3564/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือเทียบเท่า หากต่ำกว่าถือไม่เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษา
การรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานในตำแหน่งซึ่งต่ำกว่าเดิมจะถือว่าเป็นการรับกลับเข้าทำงานเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างมิได้ เมื่อมีคำร้องของลูกจ้างว่านายจ้างมิได้ให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมศาลย่อมมีอำนาจจะวินิจฉัยว่าตำแหน่งซึ่งนายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่ำกว่าตำแหน่งเดิมหรือไม่เพราะเป็นคำสั่งในการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหาใช่เป็นการขยายความนอกเหนือไปจากคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าเสียหายแทนการรับทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ในกรณีที่มีการเลิกจ้างโดยการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้นนอกจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แล้ว ลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ76 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มีอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) ที่จะกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง.ในกรณีนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมเป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
การเลิกจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างมิได้กำหนดว่าจ้างนานเท่าใดจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าชดเชยด้วย
การเลิกจ้างในกรณีที่สัญญาจ้างมิได้กำหนดว่าจ้างนานเท่าใดจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าชดเชยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างเลือกปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: รับกลับเข้าทำงาน หรือ จ่ายค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นโมฆะ เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯนั้น เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง โจทก์ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มิได้ห้ามคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในอันที่จะมีคำสั่งให้นายจ้างผู้กระทำการอันไม่เป็นธรรมใช้ค่าเสียหายให้ลูกจ้าง ดังนั้น การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบ และเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้นจำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอย่างใด หาใช่โจทก์เป็นผู้เลือกไม่
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มิได้ห้ามคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในอันที่จะมีคำสั่งให้นายจ้างผู้กระทำการอันไม่เป็นธรรมใช้ค่าเสียหายให้ลูกจ้าง ดังนั้น การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบ และเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้นจำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอย่างใด หาใช่โจทก์เป็นผู้เลือกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้างเป็นหนี้ตามกฎหมาย แยกจากค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นหนี้ตามกฎหมายที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง โดยมิต้องคำนึงถึงว่าการเลิกจ้างนั้นนายจ้างได้ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ และถ้าการเลิกจ้างนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายแก่ลูกจ้างนายจ้างก็จะต้องชำระแก่ลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และสิทธิในการเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันนายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเดิม
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรก ไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3)
ในการการชี้ขาดคำร้องตามมารา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรก ไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3)
ในการการชี้ขาดคำร้องตามมารา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังข้อเรียกร้องค่าจ้าง และผลของข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้นมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์