พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ: ผู้ถือเช็คมีสิทธิฟ้องได้หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้เช็คจะถูกนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
โจทก์ออกเช็คผู้ถือ จำเลยเป็นผู้ถือย่อมเป็นผู้ทรงเช็คนั้นเมื่อเช็คถึงกำหนด จำเลยนำไปขึ้นเงินจากธนาคาร ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องโจทก์ว่ากระทำผิดอาญาฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คได้ ไม่เป็นฟ้องเท็จ และการที่จำเลยเบิกความไปตามคำฟ้องก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องที่ไม่เป็นเท็จและการไม่มีเจตนาหมิ่นประมาท ไม่ถือเป็นความผิดฟ้องเท็จหรือหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้วแสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศคือ "ถ้อยคำพูด" ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้นเมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การตีความถ้อยคำและเจตนาของพนักงานอัยการ
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การอธิบายความหมายถ้อยคำไม่ถือเป็นยืนยันข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497-4500/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฟ้องเท็จหลายกรรม: ความเสียหายเกิดขึ้นทันทีที่ฟ้อง ไม่รอผลคดีถึงที่สุด
แม้การกระทำอันเป็นมูลให้จำเลยฟ้องโจทก์จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จำเลยได้ฟ้องเท็จโจทก์หลายคดี โดยแบ่งการกระทำเป็นหลายครั้งหลายกรรมแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาอัน เดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรม
เมื่อจำเลยเอาความเท็จมาฟ้องคดีโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและความผิดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยฟ้องคดี หาใช่ความผิดของจำเลยเกิดขึ้นและโจทก์เป็นผู้เสียหายเมื่อคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ถึงที่สุดแล้วไม่
เมื่อจำเลยเอาความเท็จมาฟ้องคดีโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและความผิดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยฟ้องคดี หาใช่ความผิดของจำเลยเกิดขึ้นและโจทก์เป็นผู้เสียหายเมื่อคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ถึงที่สุดแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม: ศาลชอบที่จะรับได้หากยังสืบพยานไม่เสร็จ
การที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นถือว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานของตน ใน คดีนั้นไว้แล้วทั้งเรื่อง ดังนั้นบัญชีพยานที่โจทก์ยื่นต่อศาลอีกในวันนัดสืบพยานโจทก์วันแรกโดยไม่ได้แถลงต่อศาลว่าเป็นการระบุพยานเพิ่มเติม และไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่จำเลย ศาลก็ชอบที่รับไว้ในฐานะเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฟ้องเท็จต้องชัดเจน แม้เครื่องหมายการค้าต่างเล็กน้อย ไม่ถือเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 นั้น นอกจากจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่า กระทำผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าเหตุผลที่จำเลยกล่าวอ้างในคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สนับสนุนและเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้เพียงเล็กน้อย แม้จำเลยจะอ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประทับลงบนผ้าในผ้าและในฉลาก เป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ ก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฟ้องเท็จต้องชัดเจน แม้เครื่องหมายการค้าแตกต่างเล็กน้อย หากมีเหตุผลสนับสนุนคำฟ้อง ไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 นั้น นอกจากจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่า กระทำผิดอาญาแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ด้วย เมื่อปรากฏว่าเหตุผลที่จำเลยกล่าวอ้างในคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สนับสนุนและเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้เพียงเล็กน้อย แม้จำเลยจะอ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยประทับลงบนผ้าในผ้าและในฉลาก เป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ ก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฟ้องเท็จ: โจทก์ในคดีฟ้องเท็จมีสิทธิฟ้องจำเลยฐานฟ้องเท็จได้โดยตรง
การที่จำเลยนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาซึ่งเป็นการฟ้องเท็จนั้นโจทก์ย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฟ้องเท็จของจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา175ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฟ้องเท็จ: ผู้ถูกฟ้องเท็จเป็นผู้เสียหายโดยตรง มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้
การที่จำเลยนำความเท็จมาฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาซึ่งเป็นการฟ้องเท็จนั้นโจทก์ย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฟ้องเท็จของจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานฟ้องเท็จตามป.อ.มาตรา175ได้.