พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาในศาลแขวงต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน แม้เป็นคดีฟ้องด้วยวาจาก็ตาม
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับจากพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 ซึ่งการนำไม้เคลื่อนที่จะต้องมีใบเบิกทางตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น ต้องเป็นการนำไม้เคลื่อนที่เข้าในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 38 (1) ถึง (4) ดังนั้น เมื่อโจทก์เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้กระถินเคลื่อนที่ไปตามถนนวังม่วง - พัฒนานิคม โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับเท่านั้นโดยมิได้บรรยายฟ้องข้อความตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 38 อนุมาตราใดอนุมาตราหนึ่งแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดของ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 แม้คดีนี้จะเป็นการฟ้องด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ซึ่งไม่เคร่งครัดเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเหมือนการบรรยายฟ้องเป็นหนังสือในคดีอาญาทั่วไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ก็ตาม แต่เรื่ององค์ประกอบความผิดนั้นยังเป็นหลักการสำคัญที่โจทก์จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนั้น เมื่อบันทึกฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์บรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเคลื่อนย้ายไม้ผิดกฎหมายโดยไม่มีใบเบิกทาง ศาลฎีกาแก้เป็นยกฟ้องข้อหานี้ แม้มีไม้ผิดกฎหมาย
จำเลยมีไม้ของกลางโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยนำไม้ของกลางเคลื่อนที่จึงมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 อันจะขอใบเบิกทางได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดข้อหานำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6173/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้ครอบครองไม้กฤษณา: การพิสูจน์ความรู้ว่าไม้ที่บรรทุกเป็นของป่าหวงห้าม และข้อยกเว้นความผิดฐานเคลื่อนย้าย
จำเลยขับรถยนต์กระบะมาโดยรู้อยู่แล้วว่าสิ่งของที่บรรทุกมาในกระบะรถยนต์เป็นไม้กฤษณาอันเป็นของป่าหวงห้าม จำเลยจึงมีความผิดฐานมีของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 29 ทวิ, 71 ทวิ สำหรับความผิดข้อหานำของป่าเคลื่อนที่ออกจากป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต นั้น ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ใช้บังคับเฉพาะการนำของป่าที่เก็บตามใบอนญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำของป่าหวงห้ามที่เก็บโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 39 ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานนำของป่าเคลื่อนที่ออกจากป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีป่าไม้ต้องระบุชัดเจนถึงการเคลื่อนย้ายไม้หลังได้รับอนุญาตหรือถึงด่านป่าไม้แรก จึงจะเข้าข่ายความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยนำหมายเคลื่อนที่จากแห่งหนึ่งไปถึงอีกแห่งหนึ่งโดยผ่านเข้าเขตด่านป่าไม้ของอีกแห่งหนึ่งนั้น โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ต่อไปภายหลังที่ไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาตหรือไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 38(1) หรือ (2)อันจะทำให้เป็นความผิดตามมาตรา39,71 จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1420/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้แปรรูปเป็นสาระสำคัญในการฟ้องผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากในป่า คดีความไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำ โดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีป่าไม้: การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้เป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากป่า ศาลย่อมยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา185
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีป่าไม้: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้แม้ไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ หากเป็นประโยชน์แก่จำเลยและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
แม้จะมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์เพียงประเด็นเดียวว่าจะริบถ่านไม้ของกลางได้หรือไม่ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยในทางที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่า จำเลยไม่มีความผิดในข้อหานำของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยได้ถ่านไม้ของกลางมาโดยมิชอบ การที่จำเลยนำถ่านไม้ของกลางเคลื่อนที่ จึงมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 มาตรา 18 อันจะพึงขอใบเบิกทางได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดไว้ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ ต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง จำเลยจะฎีกาอ้างข้อเท็จจริงซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าถ่านไม้ของกลาง จำเลยได้รับอนุญาตให้ตัดฟันและเผาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหาได้ไม่
จำเลยได้ถ่านไม้ของกลางมาโดยมิชอบ การที่จำเลยนำถ่านไม้ของกลางเคลื่อนที่ จึงมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 มาตรา 18 อันจะพึงขอใบเบิกทางได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดไว้ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ ต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง จำเลยจะฎีกาอ้างข้อเท็จจริงซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าถ่านไม้ของกลาง จำเลยได้รับอนุญาตให้ตัดฟันและเผาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับไม้ต้องระบุรายละเอียดการเคลื่อนย้ายให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
ฟ้องไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 38 ข้อ 1 หรือข้อ 2 ที่ว่า นำไม้หรือของป่าที่ทำออกตามใบอนุญาตไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาตแล้วหรือ ....ฯลฯ ซึ่งขาดองค์ความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ลงโทษฐานนำของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางตามมาตรา 39,71 ไม่ได้(อ้างนัยฎีกาที่ 341/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานทำไม้ในป่า และการนำไม้เคลื่อนที่โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ "ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้นบังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้ห้วงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้นบังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้ห้วงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต การบรรยายฟ้อง และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 39 พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ"ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)