พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13798/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง-ความผิดหลายกรรมต่างกันจากยาและวัตถุออกฤทธิ์
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในปัญหาข้อเท็จจริง คงรับเฉพาะฎีกาในข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับนั้นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิด และขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 และเมื่อฎีกาของจำเลยที่ 1 ต้องห้ามดังกล่าว จึงไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ
ยาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การมียาและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับ แสดงว่ากฎหมายแต่ละฉบับมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดแยกต่างหากจากกัน การที่จำเลยมียาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้เพื่อขายกับมีไดอาซีแพมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้เพื่อขายในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ยาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การมียาและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับ แสดงว่ากฎหมายแต่ละฉบับมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดแยกต่างหากจากกัน การที่จำเลยมียาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้เพื่อขายกับมีไดอาซีแพมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้เพื่อขายในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การระบุวันกระทำความผิดและระยะเวลาค่าปรับรายวัน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งดังกล่าว ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น และให้ปิดประกาศคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด อันเป็นวันที่บ่งบอกวันกระทำความผิด คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 16 ตุลาคม 2546 นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งควายกินมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และจำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2546 ซึ่งมิใช่ระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันปิดประกาศ อันถือเป็นวันทราบคำสั่งตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้เมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว
การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยต่อจากนั้นที่ไม่ยอมรื้อถอนย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีก ดังนั้นจำเลยจึงต้องชำระค่าปรับรายวันตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง ถึงวันก่อนครบกำหนดรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น มิใช่จนถึงวันที่จำเลยรื้อถอนเสร็จสิ้น
การฝ่าฝืนปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยต่อจากนั้นที่ไม่ยอมรื้อถอนย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีก ดังนั้นจำเลยจึงต้องชำระค่าปรับรายวันตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง ถึงวันก่อนครบกำหนดรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น มิใช่จนถึงวันที่จำเลยรื้อถอนเสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11410/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์: คดีเกี่ยวกับยาเสพติดต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คดีขอให้ริบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติให้คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนี้เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10415/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญา การพิสูจน์ตัวบุคคล และการเพิ่มโทษ จำเป็นต้องมีการสืบพยานยืนยันข้อเท็จจริง
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาซึ่งหมายถึงจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดในข้อหาที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ได้หมายรวมไปถึงว่า จำเลยรับว่าต้องโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5115/2549 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฟ้องขอให้เพิ่มโทษด้วย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10327/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในฐานะกรรมการสถานบริการที่ปล่อยปละละเลยการนำอาวุธปืนเข้าสถานบริการ แม้ไม่ได้อ้างมาตรา 28/4 ในฟ้อง
จำเลยในฐานะผู้แทนและกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ม. ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการชื่อ ซ. เพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ทางการค้า ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนำอาวุธปืนเข้าไปในสถานบริการในระหว่างเวลาที่เปิดทำการ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยจึงเป็นบุคคลที่กฎหมายระบุไว้ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคลซึ่งได้กระทำความผิด แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 28/4 ในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาในการทำหนังสือมอบทรัพย์สิน ต้องพิจารณาจากข้อความในหนังสือเป็นหลัก หากไม่มีการกำหนดการเผื่อตาย ไม่ถือเป็นพินัยกรรม
การตีความเจตนาต้องอาศัยข้อความในหนังสือเป็นสำคัญ การที่ ว. ทำหนังสือ 2 ฉบับ ฉบับแรกแม้จะใช้ชื่อหนังสือว่า หนังสือมอบมรดก แต่มีข้อความตอนหนึ่ง ให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้นต่อจาก ว. นับแต่วันทำหนังสือฉบับนั้นเป็นต้นไป แสดงให้เห็นว่า ว. ประสงค์จะยกทรัพย์สินของตนให้แก่ผู้คัดค้านในวันนั้น หาใช่ให้ทรัพย์ตกเป็นของผู้คัดค้านเมื่อ ว. ถึงแก่ความตายไม่ ส่วนหนังสืออีกฉบับหนึ่งใช่ชื่อว่า หนังสือมอบกรรมสิทธ์ มีข้อความสรุปว่า ว. ขอยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่ ว. ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน ทั้งยังมีข้อความว่า ว. พร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ในที่ดินและบ้านให้แก่ผู้คัดค้านหากผู้คัดค้านร้องขอ โดยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่า ว. ประสงค์จะให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของผู้คัดค้านเมื่อ ว. ถึงแก่ความตายแล้วเช่นกัน หนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวที่ไม่มีข้อความกำหนดการเผื่อตายไว้ จึงมิใช่พินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 เมื่อหนังสือทั้งสองฉบับไม่เป็นพินัยกรรมตามที่ผู้คัดค้านฎีกา ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ว. ทั้งไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนั้น จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ว. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจสมรู้ร่วมคิดทำร้ายร่างกาย: ตัวการร่วม, พฤติการณ์ร้ายแรง, เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ก่อนเกิดเหตุจำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ บ. ไปยังที่เกิดเหตุ ขณะที่ บ. ใช้ไม้ตีศีรษะผู้เสียหาย จำเลยก็ยืนอยู่ข้างๆ บ. ในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือให้การกระทำของ บ. สัมฤทธิ์ผล เมื่อพิเคราะห์ว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ดูแลรักษาสวัสดิภาพของประชาชน แต่กลับเข้าสมทบให้กำลังใจ บ. ให้เข้าทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส นอกจากนี้ยังได้ความว่า หลังจากที่ บ. ตีผู้เสียหายแล้ว แทนที่จำเลยจะเข้าจับกุม บ. ไปดำเนินคดี จำเลยกลับกล่าวหนุนให้ บ. ทำร้ายผู้เสียหายซ้ำอีก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. ทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9822/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดอกเบี้ยหลังฟ้องคดีอาญา ศาลวินิจฉัยสิทธิการเรียกร้องและค่าธรรมเนียม
คดีนี้พนักงานอัยการมีคำขอให้จำเลยคืนเงินจำนวน 42,500 บาท แก่ผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนเป็นเงินจำนวน 42,500 บาท อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องของโจทก์ร่วมในส่วนนี้จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมต้องเสียค่าธรรมเนียมในเงินจำนวน 42,500 บาท หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยของเงินจำนวน 42,500 บาท ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิด แต่เป็นค่าเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย เพราะฉะนั้นพนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าดอกเบี้ยไม่ได้ แต่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยขอดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 42,500 บาท ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง ได้ ซึ่งตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง มิให้เรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์ร่วมเว้นแต่ในกรณีศาลเห็นว่าผู้เสียหายเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควร หรือดำเนินคดีไม่สุจริต ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้เสียหายชำระค่าธรรมเนียมทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงมิต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 42,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9805/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระชากทรัพย์ทำให้ล้ม: ไม่ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายโดยเล็งเห็นผล
การกระทำโดยเล็งเห็นผลนั้นหมายความว่า ผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนเท่าที่บุคคลในภาวะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ มิใช่เพียงเล็งเห็นว่าผลนั้นอาจเกิดขึ้นได้ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์โดยมีจำเลยที่ 1 นั่งซ้อนท้าย ขณะที่รถจักรยานยนต์ของจำเลยทั้งสองประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 กระชากกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่แขวนอยู่ที่กระจกรถจักรยานยนต์อย่างแรง ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลงและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยทั้งสองไม่อาจเล็งเห็นผลได้แน่นอนว่าการกระชากกระเป๋าสะพายของจำเลยที่ 1 จะทำให้รถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับล้มลงเพราะรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายอาจจะล้มหรือไม่ล้มก็ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงวิธีการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเท่านั้น แม้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจะล้มลงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นผลมาจากแรงกระชากกระเป๋าสะพายของจำเลยที่ 1 ก็หาใช่จำเลยทั้งสองกระทำโดยมีเจตนาเล็งเห็นผลอันถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายของกฎหมายแต่ประการใดไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตามฟ้อง คงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9585/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้พิพากษาทำคำพิพากษาหลังย้ายไปรับราชการอื่น และการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) การที่ศาลอุทธณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่มิได้สั่งให้ทำคำพิพากษาใหม่แต่เพียงประการเดียว ถือได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากฎีกาของจำเลยว่า ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี นั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้ ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปได้ เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายให้ ว. นั่งพิจารณาคดีแทน ว. จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทำคำพิพากษาทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีต่อไปได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3)