คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 199

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9676/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารประกอบคำถามค้านพยานโจทก์ของจำเลยขาดนัด ไม่ถือเป็นการสืบพยานหลักฐาน
คดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานของจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199 วรรคสอง แต่การที่ทนายความจำเลยนำสัญญาเช่ามาใช้ในการถามค้านโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานโจทก์รับว่าสามีของโจทก์ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากจำเลยตามสัญญาเช่าดังกล่าวหลังจากจำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ประมาณ 5 ถึง 6 ปีแล้ว ศาลจึงนำสัญญาเช่าดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เพราะเป็นเอกสารประกอบคำถามค้าน หาใช่เป็นกรณีจำเลยเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7098/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การอ้างว่า จำเลยเข้าใจผิดว่าเจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนการวางหมายแก่จำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องและไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(1) ไม่ใช่คำสั่งที่ไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารหลักฐานของจำเลยเข้าสืบโดยไม่ได้รับอนุญาต และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องและจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร การที่ทนายจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ดูประกอบการถามค้าน โจทก์ไม่ตอบคำถามแล้วทนายจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาล แสดงว่าโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารนั้นเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังการที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมจึงไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ การนำเอกสารเข้าสืบเกินสิทธิ และผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเท่านั้น และจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง การที่ทนายความจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ให้ตัวโจทก์ดูประกอบการถามค้านตัวโจทก์ตัวโจทก์ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว แล้วทนายความจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาลชั้นต้นนั้นตัวโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว สำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง ที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารที่ไม่ได้รับอนุญาตมาใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเท่านั้นและจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้นไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคสองการที่ทนายความจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้ตัวโจทก์ดูประกอบการถามค้านตัวโจทก์ตัวโจทก์ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวแล้วทนายความจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาลชั้นต้นนั้นตัวโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงต้องห้ามมิให้รับฟังที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงเป็นการไม่ชอบเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: เหตุสมควรอนุญาตยื่นได้ แม้ไม่ปรากฏเจตนาขาดนัด
เมื่อศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะแจ้งต่อศาลถึงเหตุที่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199ถ้าศาลเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ และในการวินิจฉัยว่าจะอนุญาตหรือไม่ เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรแล้ว ก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่ เพราะมาตรานี้กำหนดว่าขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ประการใดเพียงอย่างเดียว ศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การได้
กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2535 จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความ แต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2535 จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก 30 วัน และคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน 89 ล้านบาทเศษ กรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: เหตุผลสมควรอนุญาตยื่นได้ แม้พ้นกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิที่จะแจ้งต่อศาลถึงเหตุที่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199ถ้าศาลเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้และในการวินิจฉัยว่าจะอนุญาตหรือไม่เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรแล้วก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่เพราะมาตรานี้กำหนดว่าขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ประการใดเพียงอย่างเดียวศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การได้ กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่6ตุลาคม2535จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่5พฤศจิกายน2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความแต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อนในวันที่29ตุลาคม2535จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาลวันที่5พฤศจิกายน2535จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก30วันและคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน89ล้านบาทเศษกรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: หน้าที่ต่อสู้คดีเอง และความรับผิดชอบในการดำเนินการทางกฎหมาย
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจในการดำเนินคดีของศาลทั้งเชื่อโดยสุจริตว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ณสำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้วจึงไม่ต้องทำอะไรอีกก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องต่อสู้คดีของจำเลยเองหากไม่เข้าใจวิธีการต่อสู้คดีหรือไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้ก็ควรต้องมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทนจำเลยจะอ้างเอาความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือมอบหมายทนายความ ความเข้าใจผิดไม่ใช่เหตุขาดนัดพิจารณา
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจในการดำเนินคดีของศาล ทั้งเชื่อโดยสุจริตว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริต ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงไม่ต้องทำอะไรอีก ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องต่อสู้คดีของจำเลยเอง หากไม่เข้าใจวิธีการต่อสู้คดีหรือไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้ ก็ควรต้องมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทน จำเลยจะอ้างเอาความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการสาบานตน แม้ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลไม่ผิด หากจำเลยไม่ใช้สิทธิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองที่บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานได้ แม้จะขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นแต่กฎหมายให้สิทธิไว้ จำเลยจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอใช้สิทธินี้เลยทั้งเมื่อศาลจดรายงานว่าหมดพยานโจทก์ทั้งสอง ให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้ จำเลยที่ 1ไม่ได้โต้แย้ง กลับลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาและลงชื่อรับฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าจะถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองหรือไม่ จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานหรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
of 18