คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 177

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมเช็ค-เบิกความเท็จ-ความผิดนิติบุคคล: การกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบิกความเท็จ รวมถึงความรับผิดของนิติบุคคล
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของจำเลยที่ 1ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียก เก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาล ในคดีอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วน ซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้ เพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิดผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2เลิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1ด้วย ทั้งนี้ สังเกต ได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้ แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้น ผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ขอนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2523เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่15081/2522 ของศาลชั้นต้น ว่าบริษัทผู้เสียหายได้รับเช็คจากโจทก์เป็นค่าเครื่องไฟฟ้า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของบริษัทและเช็คที่รับมามีวันที่สั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากเช็คดังกล่าวสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้หรือไม่มีวันที่สั่งจ่ายโจทก์ก็ไม่มีความผิดทางอาญา ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดการกระทำนั้น ๆ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และครบองค์ประกอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177แล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่ง: การบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีแพ่ง เรื่องฟ้องหย่า ซึ่งมีข้อสำคัญในคดีว่าโจทก์จงใจละทิ้งร้างส.สามีโจทก์ไปเกินกว่า 1 ปีตามที่ส.อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าหรือไม่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดข้อความที่จำเลยเบิกความ กับบรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีโดยกล่าวว่าศาลได้เชื่อคำเบิกความของจำเลยว่าโจทก์ได้จงใจละทิ้งร้าง ส. ไปเกินกว่า1 ปีจริง และพิพากษาให้หย่ากัน อันเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นว่า คำเบิกความเท็จของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไรแล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จเกี่ยวกับวันหย่าในคดีโกงเจ้าหนี้ ศาลวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่ข้อแพ้ชนะสำคัญ
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 กับพวก ในข้อหาโกงเจ้าหนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์จะใช้หรือได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แม้คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 เบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 กับ ม.หย่ากันเมื่อใดก็ตาม ศาลไม่ได้หยิบยกข้อความที่ว่าจำเลยที่ 1 หย่ากันม.ขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแพ้ชนะ อันจะเป็นข้อสำคัญในคดีจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท เหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่) ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่นเป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี โดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา11.45 นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(1)ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142(1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายืนคำพิพากษาให้ที่ดินเป็นของโจทก์ และห้ามจำเลยเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คดีแดงที่ 3813-3814/2534
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีอาญาฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งดังกล่าว การจะพิจารณาว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องปรากฏว่าความรับผิดในทางแพ่งในคดีนี้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำผิดอาญาโดยตรง ที่จำเลยเป็นพยานเบิกความเท็จในคดีแพ่งไม่ก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเหตุที่ทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในคดีแพ่งดังกล่าวเพราะศาลฟังว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือทรัพย์สินหรือราคาที่สูญหายไปเนื่องจากการกระทำผิดอาญา ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (วรรคนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น การกำหนดภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบ ศาลชั้นต้นมีอำนาจทีจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนก็ได้ การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีนี้ไม่ได้ถือเอาเหตุที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์มาวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์หรือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยทนายจำเลยลงชื่อทราบนัดในรายงานกระบวนพิจารณานัดสืบพยานดังกล่าว ครั้งถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดรังวัดทำแผนที่พิพาทในคดีอื่น เป็นการไม่รับผิดชอบในวันนัดของตนที่ได้นัดไว้กับศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยให้สืบพยานจำเลยไปโดยไม่มีทนายจำเลยซักถาม จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบ ส่วนที่ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดที่สองซึ่งนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา แต่โจทก์มาศาลเมื่อเวลา 11.45นาฬิกา โดยโจทก์ได้แจ้งให้ศาลทราบทางโทรศัพท์ก่อนหน้านั้นแล้วว่ารถเสียระหว่างเดินทางมาศาล การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนการสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปเป็นตอนบ่ายโดยไม่ยอมให้โจทก์เลื่อนคดีไปนั้น เป็นการดำนินกระบวนพิจารณาที่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยโดยชอบ มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ชนะคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) และ 246 ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท อันเป็นการขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3689/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เนื่องจากไม่ได้บรรยายรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
โจทก์มิได้บรรยายว่า ข้อหาที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาอันเป็นเท็จนั้นเป็นความผิดอาญาข้อหาหรือฐานความผิดใด ทั้งคำบรรยายฟ้องในส่วนที่โจทก์คัดมาจากคำฟ้องในคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์ก็ไม่มีข้อความใดที่จำเลยระบุว่า การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นสาระสำคัญของฟ้องในข้อหาฟ้องเท็จที่จะต้องกล่าวถึง ส่วนข้อหาเบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้น เมื่อไม่บรรยายว่าจำเลยทั้งสองเบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีในข้อหาหรือฐานความผิดใด ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าข้อความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไรประเด็นสำคัญของคดีมีว่าอย่างไร ฟ้องของโจทก์ทั้งสามข้อหาจึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์ได้บรรยายเลขสำนวนคดีที่อ้างว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จมาในฟ้องก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในสำนวนคดีหาใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้องของโจทก์ไม่ จะนำมาประกอบคำฟ้องของโจทก์คดีนี้ให้สมบูรณ์มิได้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาฐานเบิกความเท็จ ต้องระบุประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่เบิกความเท็จให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จและเบิกความเท็จต่อศาลในคดีแพ่ง เรื่องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดี และบรรยายรายละเอียดที่จำเลยทั้งสองเบิกความอันเป็นเท็จพร้อมกับความเป็นจริงว่าอย่างไรทั้งคำเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าในคดีดังกล่าวประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์จะบรรยายเลขสำนวนคดีที่จำเลยทั้งสองเบิกความมาในฟ้องและนำสืบอ้างสำนวนคดีนั้นมาด้วยก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในสำนวนดังกล่าวไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องของโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีอาญา การกระทำต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แต่การที่จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาอันเป็นเท็จคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในเรื่องเดิมที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยว่าบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยนั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมตามที่จำเลยได้ยื่นคำร้องอันเป็นเท็จขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับการที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ไม่เป็นความผิดต่างกรรม จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรกไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดหน้า ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกันกับเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องในส่วนของโจทก์ที่ 2ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้จะชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา และการฟ้องเท็จ แม้ศาลยกฟ้อง ก็เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จได้
เมื่อศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนมาวินิจฉัยหากแต่วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1ในคดีดังกล่าวกระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1แม้ศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์ได้ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ จำเลยเบิกความในฐานะพยานอันเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา และการฟ้องเท็จ มีความผิดแม้ศาลยังมิได้ประทับฟ้อง
คดีก่อนโจทก์เข้าร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 188 จำเลยที่ 2 เบิกความเท็จต่อศาลศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัย หากแต่ได้วินิจฉัยกับพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 1 เข้าเบิกความในฐานะพยานซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จไม่ได้ และคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวที่ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่หยิบเอาภาพถ่ายใบหย่าไป ไม่ได้หยิบเช็คตามฟ้องนั้นเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฉีกเช็คของโจทก์อันเป็นข้อสำคัญในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ฉีกเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่า โจทก์ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จ แม้ศาลได้พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและโจทก์ในคดีดังกล่าวยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย จำเลยที่ 1ยังมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นความผิดต่อเมื่อศาลได้ประทับฟ้องไว้แล้ว
of 43