พบผลลัพธ์ทั้งหมด 430 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี หากไม่ส่งผลแพ้ชนะ ไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
คดีก่อน บริษัท ย. ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้ว่า ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าที่ดินงวดเดือนกรกฎาคม 2551 ส่วนโจทก์ให้การต่อสู้ว่า ในทางปฏิบัติ บริษัท ย. จะต้องส่งใบแจ้งหนี้ก่อนแล้วโจทก์จึงจะชำระค่าเช่า แต่ในงวดดังกล่าวบริษัท ย. ไม่ได้ส่งใบแจ้งหนี้ ต่อมาโจทก์ตรวจสอบพบว่ายังค้างชำระค่าเช่าอยู่ จึงนำเงินไปชำระค่าเช่าในภายหลัง คำให้การของโจทก์ในคดีก่อนเท่ากับรับว่าตนชำระค่าเช่างวดเดือนกรกฎาคม 2551 หลังจากครบกำหนดชำระไปแล้ว แต่มีข้อเถียงโดยยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า แม้โจทก์จะชำระล่าช้าแต่ก็มิได้ผิดนัดเพราะบริษัท ย. ยังไม่ได้ส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่ตนตามที่เคยปฏิบัติ ฉะนั้นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนจึงมีว่า บริษัท ย. จะต้องออกใบแจ้งหนี้ค่าเช่างวดดังกล่าวให้แก่โจทก์เสียก่อนแล้วโจทก์จึงจะต้องชำระค่าเช่า หรือไม่ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่ว่า โจทก์ชำระค่าเช่างวดเดือนกรกฎาคม 2551 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 อันเป็นการผิดนัดชำระค่าเช่า ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความปิดบังข้อสำคัญแห่งคดีอาญา มาตรา 177 วรรคแรก เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษของผู้ซื้อที่ดิน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยที่ให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับโจทก์เพียงว่าจำเลยรู้จักกับโจทก์เมื่อปี 2524 และเห็นว่าโจทก์เป็นคนดีน่าเชื่อถือ กับได้รับคำแนะนำจากนายจ้างของโจทก์ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้น่าเชื่อถือ อันแสดงว่าจำเลยได้พิจารณาเพียงคุณสมบัติของตัวโจทก์ดังกล่าวก่อนที่จะให้โจทก์เป็นผู้ซื้อและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลย โดยไม่เบิกความถึงความสัมพันธ์ที่จำเลยอยู่กินกับโจทก์เป็นภริยาของจำเลยอีกคนหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์อันเป็นกรณีพิเศษไปจากบุคคลอื่นๆ และย่อมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลในคดีก่อนจะได้นำไปพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยให้มีผลคดีที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงเป็นการเบิกความโดยปิดบังข้อสำคัญแห่งคดี เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21196/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีขับไล่ การเบิกความไม่ตรงกับพยานหลักฐานไม่ถือเป็นความผิด
คดีก่อนที่จำเลยทั้งสองฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินของเจ้ามรดก มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่โจทก์อยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับเจ้ามรดกเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกต่อมาไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่ต่อไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินอีก สัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลให้แพ้ชนะในคดี การที่จำเลยที่ 2 ไม่เบิกความถึงสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11337/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในชั้นไต่สวนและพิจารณาเป็นกรรมเดียว คดีอาญา
การที่จำเลยเบิกความเท็จสองครั้งในคดีเดียวกันคือชั้นไต่สวนมูลฟ้องครั้งหนึ่งกับชั้นพิจารณาอีกครั้งหนึ่งเป็นเพียงการนำสาระสำคัญของข้อความในเรื่องเดียวกันมูลเหตุเดียวกันมากล่าวซ้ำตามครรลองของเรื่องโดยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวคือให้โจทก์ต้องรับโทษทางอาญาในคดีนั้นเท่านั้น แม้จะเป็นการเบิกความคนละคราวคนละวาระกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8928/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีหมิ่นประมาท: การเบิกความในภาพรวมที่ไม่เฉพาะเจาะจงข้อเท็จจริงสำคัญ ไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท บริษัท อ. บรรยายฟ้องว่า โจทก์กล่าวหา บริษัท อ. ยื่นเอกสารอันเป็นเท็จเพื่อให้คณะกรรมการฯ เข้าใจเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์ที่เสนอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศ ทั้งที่ขาดคุณสมบัติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดหาครุภัณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการฯ ตัดสินว่า ครุภัณฑ์ที่นำเสนอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนด ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่ประการใด คณะกรรมการฯ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้สั่งการเช่นนั้น และไม่เคยมีคณะกรรมการทั้งของเขตการศึกษาและผู้อำนวยการโรงเรียน ศ. เรียกโจทก์หรือตัวแทนโจทก์เข้าไปชี้แจงรายละเอียดแต่ประการใด การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการเต้าข่าวเป็นเท็จประสงค์ต่อผลทำให้บริษัท อ. ได้รับความเสียหายโดยตรง เป็นการใส่ร้ายใส่ความบริษัท อ. ต่อบุคคลที่ 3 อันมีเจตนาทุจริตจงใจทำให้บุคคลภายนอกเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัท อ. ไม่มีคุณภาพ ซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ดังนั้น ข้อสำคัญในคดีจึงมีว่า คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการสอบราคาของโรงเรียนบางเขตพื้นที่การศึกษาได้ตรวจสอบรายละเอียดของเอกสารและผลิตภัณฑ์ที่บริษัท อ. เสนอ และได้มีการเชิญตัวแทนของบริษัทดังกล่าวมาชี้แจงให้ถ้อยคำจนเป็นที่ประจักษ์ว่าบริษัท อ. ยื่นเอกสารอันเป็นเท็จเพื่อให้คณะกรรมการฯ เข้าใจเป็นเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์ที่เสนอมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศ ทั้งที่ขาดคุณสมบัติอันเป็นเหตุให้บริษัท อ. เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือไม่ การที่จำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ. และในฐานะทนายความโจทก์ เบิกความแต่เพียงว่า บริษัท อ. มีคุณลักษณะครบถ้วนตามที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด จึงได้ซื้อซองประกวดราคา จึงเป็นการเบิกความในภาพรวม ๆ มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับซอพต์แวร์หรือผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุในเกณฑ์คุณลักษณะซอพต์แวร์สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ข้อที่ 9 และข้อที่ 10 แต่ประการใด ทั้งยังเป็นการเบิกความถึงขั้นตอนของการซื้อซองประกวดราคาเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งเป็นมูลแห่งคดีและแตกต่างจากผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเท่านั้น คำเบิกความของจำเลยจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี แม้คำเบิกความของจำเลยจะเป็นเท็จก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและครบถ้วน
ความผิดฐานฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557 เวลากลางวันจำเลยเอาความเท็จฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงอุบลราชธานี โดยจำเลยบรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 โจทก์ปลอมสัญญากู้เงินของ ส. และ อ. ที่ทำสัญญากู้เงินไว้กับกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองบัวแดง และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 ปลอมเอกสารดังกล่าวจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนเมษายนทั้งสองฉบับ ด้วยเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินของกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองบัวแดงไปเป็นประโยชน์ของตน จำเลยทราบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดหรือปลอมเอกสารดังกล่าวตามที่จำเลยฟ้อง แต่ยังกลั่นแกล้งนำความเท็จมาฟ้องต่อศาลเพื่อต้องการให้โจทก์ได้รับโทษโดยโจทก์แนบสำเนาคำฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์กับสำเนาบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดมาท้ายคำฟ้องด้วย ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าคำฟ้องของจำเลยเป็นเท็จและความจริงโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ส่วนความผิดฐานเบิกความเท็จ ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคำเบิกความของจำเลยที่เป็นเท็จและบรรยายว่าความเท็จดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการพิจารณาคดีอาญา ซึ่งความจริงโจทก์ไม่ได้ปลอมเอกสารตามที่จำเลยเบิกความ หากศาลเชื่อว่าโจทก์กระทำความผิดจริงก็จะทำให้โจทก์ถูกพิพากษาลงโทษโดยโจทก์แนบคำเบิกความของจำเลยตามสำเนาคำให้การและสำเนาคำพิพากษาคดีก่อนมาท้ายคำฟ้อง ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องเป็นการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ทั้งสองข้อหาชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18211/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานเบิกความเท็จต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
ความผิดฐานเบิกความเท็จและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 และมาตรา 180 นั้น มีองค์ประกอบความผิดสำคัญประการหนึ่งว่า คำเบิกความและพยานหลักฐานอันเป็นเท็จจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดีที่เบิกความหรือนำสืบด้วย ดังนั้นประเด็นสำคัญในคดีมีว่าอย่างไร คำเบิกความและพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสามเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร จึงเป็นสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ให้ชัดแจ้งในฟ้อง แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเบิกความเท็จต่อศาลและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ร.57/2547 ของศาลชั้นต้น เรื่องร้องขัดทรัพย์ และบรรยายรายละเอียดที่จำเลยทั้งสามเบิกความอันเป็นเท็จและนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ พร้อมกับความเป็นจริงว่าอย่างไร ทั้งคำเบิกความและการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ในคดีดังกล่าวประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จและการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจข้อหาได้ดี แม้โจทก์แนบเอกสารท้ายฟ้อง สำเนาภาพถ่ายคำเบิกความของจำเลยทั้งสาม สำเนาภาพถ่ายบัญชีทรัพย์ สำเนาภาพถ่ายสัญญาซื้อขาย สำเนาภาพถ่ายบัญชียึดทรัพย์ สำเนาภาพถ่ายคำร้องขัดทรัพย์ และสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาเอกสารเหล่านั้นประกอบแล้วก็มิได้แสดงให้เห็นข้อสำคัญในคดีก่อนแต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14785/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีโกงเจ้าหนี้และการไม่เป็นผู้เสียหายในคดีเบิกความเท็จ
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 25 มีนาคม 2542 แต่โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์เพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549 โจทก์จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเช่นนั้น คดีในความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานความผิดนี้ จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเหตุเรื่องคดีขาดอายุความเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีขอแบ่งสินสมรส และบังคับคดีโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรส แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาแบ่งปันตามส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายตามส่วนที่เป็นของตนเอง ส่วนการที่จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หากจำเลยทั้งสองมีเจตนาก่อให้เกิดหนี้จริงก็เป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีขอให้บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าว ก็คงมีเพียงสิทธิบังคับคดีเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงมีสิทธิบังคับเอาจากสินสมรสที่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 สิทธิในการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลกระทบสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในคดีที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงเฉพาะที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น หากแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลเกี่ยวกับมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง ก็ไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีขอแบ่งสินสมรส และบังคับคดีโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรส แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาแบ่งปันตามส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายตามส่วนที่เป็นของตนเอง ส่วนการที่จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หากจำเลยทั้งสองมีเจตนาก่อให้เกิดหนี้จริงก็เป็นหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีขอให้บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าว ก็คงมีเพียงสิทธิบังคับคดีเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงมีสิทธิบังคับเอาจากสินสมรสที่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1488 สิทธิในการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลกระทบสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในคดีที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 ก็คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงเฉพาะที่เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น หากแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลเกี่ยวกับมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง ก็ไม่อาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการเบิกความเท็จ ขึ้นอยู่กับการได้รับความเสียหายโดยตรงจากกรรมสิทธิ์ที่ถูกกระทบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จและแสดงพยานหลักฐานเท็จในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับพวก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนโดยโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ช. ให้ดำเนินคดีแทน และคำฟ้องคดีนี้มิได้กล่าวว่าโจทก์มีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในบ้านพิพาทอย่างไร แม้สำเนาคำฟ้องคดีก่อนระบุว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพิพาทจาก ช. แต่ก็ปรากฏตามคำฟ้องดังกล่าวว่า โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้จดทะเบียนการซื้อขายบ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และโจทก์ยังเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยถามค้านว่า บ้านพิพาทยังคงเป็นของ ช. จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนเสื่อมเสียกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท จึงมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) อันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จต้องระบุข้อสำคัญในคดีอาญา ศาลต้องพิจารณาได้ว่าคำเบิกความนั้นมีผลต่อการพิจารณาคดีหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เบิกความว่าอย่างไรและความจริงเป็นอย่างไร แล้วบรรยายฟ้องต่อไปถึงการกระทำต่างๆ ของจำเลยแล้วสรุปว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการเบิกความโดยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้ศาลเชื่อตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 อันเป็นข้อสาระสำคัญของคดี โดยโจทก์ไม่บรรยายให้เห็นว่า ในคดีอาญาดังกล่าว ประเด็นและข้อความที่เป็นเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอย่างไร เช่นนี้ ศาลย่อมไม่อาจพิเคราะห์ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องโจทก์เป็นข้อสำคัญในการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหรือไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จและนำสืบอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาล พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)