พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13854/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่าเช่าที่ดินโรงเรียนเอกชน และการคืนค่าขึ้นศาล
จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน 709,532.42 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยปรับลดลง 1,704,192.58 บาท คำชี้ขาดจึงเป็นไปตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์บางส่วนแล้ว แต่สำหรับในส่วนที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดเห็นด้วยกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นั้น หากโจทก์ไม่พอใจในคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลได้ เมื่อในส่วนที่จำเลยที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ผู้รับประเมินไม่พอใจในคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้มีคำชี้ขาดแล้วว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามการประเมินของจำเลยที่ 1 เพราะฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำชี้ขาดในส่วนนี้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
นอกจากค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว โจทก์ยังเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน ค่าบัตรร่วมงานประจำปี ค่าสมาชิกศิษย์เก่า แม้โจทก์เป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศาสนาให้การศึกษาและดำเนินกิจการด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนยากจน นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของครูและพนักงานในโรงเรียน และนักเรียนบางรายซึ่งติดค้างไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9
สำหรับโรงเรียนของโจทก์เป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นหาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของดำเนินกิจการเอง ทางนำสืบไม่ปรากฏโรงเรียนที่ตั้งในเขตเดียวกับโรงเรียนโจทก์มาเทียบเคียงได้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่มีการแบ่งทำเลเพื่อกำหนดค่าเช่ามาตรฐานสอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีโรงเรียนเอกชนอื่นแตกต่างออกไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังมีคำชี้ขาดลดค่ารายปีแต่ละปีโดยคำนวณลดลงปีละ 3 เดือน ตามที่โจทก์อ้างว่ามีการหยุดเทอมภาคฤดูร้อน ทั้งที่ปรากฏตามทางนำสืบว่า โจทก์มีการเรียกเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อนแสดงว่ามีการเรียนการสอนในระยะเวลาดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นคุณแก่โจทก์ในส่วนนี้ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
นอกจากค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว โจทก์ยังเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน ค่าบัตรร่วมงานประจำปี ค่าสมาชิกศิษย์เก่า แม้โจทก์เป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศาสนาให้การศึกษาและดำเนินกิจการด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนยากจน นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของครูและพนักงานในโรงเรียน และนักเรียนบางรายซึ่งติดค้างไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9
สำหรับโรงเรียนของโจทก์เป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นหาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของดำเนินกิจการเอง ทางนำสืบไม่ปรากฏโรงเรียนที่ตั้งในเขตเดียวกับโรงเรียนโจทก์มาเทียบเคียงได้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่มีการแบ่งทำเลเพื่อกำหนดค่าเช่ามาตรฐานสอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีโรงเรียนเอกชนอื่นแตกต่างออกไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังมีคำชี้ขาดลดค่ารายปีแต่ละปีโดยคำนวณลดลงปีละ 3 เดือน ตามที่โจทก์อ้างว่ามีการหยุดเทอมภาคฤดูร้อน ทั้งที่ปรากฏตามทางนำสืบว่า โจทก์มีการเรียกเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อนแสดงว่ามีการเรียนการสอนในระยะเวลาดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นคุณแก่โจทก์ในส่วนนี้ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9174/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าเช่าไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องคดีภาษี ศาลไม่รับพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีตามกฎหมายสำหรับโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2541 ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าจากโจทก์ตามมูลหนี้สัญญาเช่าอาคารพิพาทซึ่งการที่โจทก์ผู้เช่าจะผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความรับผิดในมูลหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 สิทธิเรียกร้องค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่โจทก์ฟ้อง และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งจึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรข้ามกำหนดระยะเวลา แม้จะยื่นฟ้องผิดศาลก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิมโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้รับไว้ และมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้โจทก์ต่อมาโจทก์กลับนำคดีมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยศาลภาษีอากรกลางจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง โจทก์จึงมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อเกินกำหนดระยะเวลายื่นคำฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลางขยายให้ ซึ่งถือเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เองและกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ถือเป็นระยะเวลาให้ฟ้องคดีที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ถือเป็นอายุความ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้ นอกจากนี้แม้ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่การที่โจทก์เข้าใจผิดในข้อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นฟ้องผิดศาลไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะใช้ดุลพินิจขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ขอขยายระยะเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8561/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การแจ้งเตือนตามคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ทางแพ่ง
จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์เตือนให้นำเงินค่าภาษีอากรค้างไปชำระ เนื่องมาจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรโดยมิให้ถือจำนวนเงินตามเช็คที่เรียกเก็บไม่ได้เป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ในปีภาษี 2534 จำเลยจึงคิดคำนวณภาษีอากรใหม่โดยหักจำนวนเงินภาษีอากรที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้แก้ไขนั้นออกจึงเป็นการแจ้งเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น แม้ตามหนังสือแจ้งเตือนจะระบุการคำนวณภาษีการค้าใหม่มาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ศาลฎีกาให้ลดเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินลง จำเลยจึงปรับปรุงลดยอดรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าให้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ให้เสียภาษีอากรน้อยลงโจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าจำนวนค่าภาษีอากรที่ค้างชำระตามที่จำเลยคำนวณใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระเพราะขาดอายุความ จำเลยหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่งของโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2522 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การแก้ไขชื่อที่ถูกต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลย
การขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจที่พิมพ์อักษรบางตัวผิดไปในฟ้อง ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งสามารถกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2), 181 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ช.กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8593/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารสำเนาเป็นพยาน การพิสูจน์การส่งออกสินค้า และข้อจำกัดการรับรองสำเนาเอกสารโดยเจ้าหน้าที่
บัญชีสินค้าสำหรับเรือเป็นเอกสารที่ พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 51 กำหนดให้นายเรือหรือตัวแทนเรือต้องจัดทำขึ้นโดยมีรายละเอียดของสินค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อสินค้าขาออกและยื่นต่อศุลกสถานภายใน 6 วันเต็มนับแต่วันที่ได้ออกใบปล่อยเรือขาออก จึงเป็นเอกสารที่สามารถนำมาสืบได้ว่าผู้ยื่นใบขนส่งสินค้าขาออกส่งสินค้าไปต่างประเทศตามใบขนส่งสินค้าขาออกจริงหรือไม่ แต่การรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแพ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 93 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17 เมื่อบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่โจทก์นำสืบในคดีนี้เป็นสำเนาเอกสาร และจำเลยก็ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านการนำเอกสารดังกล่าวมาสืบว่าสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่โจทก์ใช้อ้างอิงต่อศาลภาษีอากรกลางทั้งหมดไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับว่าสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือดังกล่าวถูกต้อง และทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหาย หรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับบัญชีสินค้าสำหรับเรือมาได้โดยประการอื่น ทั้งผู้ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารไม่ปรากฏว่าเป็นหัวหน้ากรม กอง แผนก หรือผู้รักษาการแทนตำแหน่งดังกล่าวของโจทก์ที่มีหน้าที่ดูแลเอกสารหรือรับรองความถูกต้องของเอกสารสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่ารายปีจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและกรณีคืนเงินภาษี
หลังจากรับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้ทำคำให้การแก้คดีแล้ว จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การตลอดมารวม 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 จำเลยทั้งห้าจึงมีหน้าที่ที่จะต้องจดจำกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การที่ตนร้องขอขยายระยะเวลาไว้เอง และต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโดยเคร่งครัด หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันภายในกำหนดนั้น ก็ต้องร้องขอขยายระยะเวลาต่อไปตามความจำเป็นอีก การที่ต้องมีกำหนดระยะเวลาให้คู่ความแต่ละฝ่ายปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนในการดำเนินกระบวนพิจารณาก็เพื่อเร่งรัดให้ทุกฝ่ายดำเนินกระบวนพิจารณาภายในเวลาอันสมควร หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดละเลยหน้าที่นั้นก็ต้องถือว่าไม่ติดใจดำเนินกระบวนพิจารณาตามหน้าที่ของตน แม้กระนั้นกฎหมายก็ยังให้โอกาสในการกล่าวอ้างแก้ตัวผ่อนปรนหลักเกณฑ์เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หากว่าฝ่ายนั้นมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจจักก้าวล่วงเสียได้ แต่ในกรณีของจำเลยทั้งห้านั้น คงปรากฏตามคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 แต่เพียงว่า ทนายจำเลยทั้งห้าเข้าใจผิดหลงว่าครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 โดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงทำให้เข้าใจผิดหลงไปได้เช่นนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุอันอาจจูงใจให้ทนายจำเลยทั้งห้าเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปได้เช่นนั้น ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังเป็นข้อแก้ตัวอันควรได้ แม้ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม 2545 จำเลยทั้งห้าจะยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การอีกครั้งหนึ่งว่า การขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมีเหตุผลสมควรประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 นั้น ก็ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคท้าย สำหรับปัญหาที่ว่าคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยทั้งห้าฉบับหลังเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
แม้ปีภาษี 2544 โจทก์จะมิได้นำค่ารายปีของส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกตามรายการทรัพย์สินดังกล่าวมารวมคำนวณกับค่ารายปีของโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบนั้น แต่เมื่อโจทก์สำแดงรายการเครื่องจักรกลไกตามที่จำเลยที่ 1 ทักท้วงประจำปีภาษี 2545 แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องกำหนดค่ารายปีของส่วนควบสำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกนั้น เพื่อหาจำนวนเงินที่เครื่องจักรกลไกแต่ละเครื่องสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 8 วรรคสอง เพื่อคิดค่าภาษี และในกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องจักรกลไกดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของเครื่องจักรกลไก ขนาด ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่เครื่องจักรกลไกนั้นได้รับประโยชน์ตามความในวรรคสามของมาตรา 8 นั้น แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2475 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน กล่าวคือ ในกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น แต่จำเลยที่ 1 พิจารณากำหนดค่ารายปีโดยคำนึงแต่เพียงว่าเครื่องจักณกลไกดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 999,452,799.66 บาท และโจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 ถึง 4,275,982,415.29 บาท เสียภาษีสรรพสามิต 15,439,793,946.26 บาท แสดงว่าโจทก์สามารถใช้เครื่องจักรหาผลประโยชน์ได้เป็นเงินจำนวนสูงมากจึงกำหนดค่ารายปีจากข้อมูลดังกล่าวเป็นเงินจำนวนสูง ทั้งที่ค่ารายปีตามความในมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ หมายถึงจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้การเช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการเช่าทรัพย์สินนั้นหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีสอดคล้องกับค่าเช่าดังกล่าวมากที่สุด โดยกรณีเงินได้ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องจักรนั้นผลิตสินค้าออกจำหน่ายเป็นเพียงที่มาของเงินได้ของผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ ซึ่งนำไปสู่การจัดเก็บภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมีหลักการคนละอย่างกับการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ให้จัดเก็บจากฐานค่ารายปี โดยถือตามเกณฑ์การหาประโยชน์ในการให้เช่าหรือควรให้เช่าได้เป็นสำคัญ ซึ่งหากมีผู้เช่าเครื่องจักรนี้ไปใช้ผลิตสินค้าจำหน่าย ค่าเช่าเครื่องจักรย่อมเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของผู้เช่า ซึ่งควรต้องต่ำกว่าผลประโยชน์ที่ผู้เช่าจะได้จากการใช้เครื่องจักรผลิตสินค้าจำหน่าย มิฉะนั้นก็จะไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เช่าแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีจากมูลค่าเครื่องจักรโดยมีที่มาจากรายได้ของโจทก์ที่ได้จากการใช้เครื่องจักรกลไกของโจทก์ผลิตสินค้าจึงเป็นการประเมินภาษีตามดุลพินิจของตนฝ่ายเดียวโดยไม่สมเหตุสมผลและมิได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 วรรคสองและสามแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ และภาระภาษีที่ตกแก่โจทก์ การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยทั้งห้าจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การให้เช่าเป็นวิธีการหนึ่งในการหาประโยชน์โดยตรงจากทรัพย์สิน แม้มูลค่าทรัพย์สินซึ่งนำออกให้เช่าจะเป็นฐานอย่างหนึ่งที่ผู้ให้เช่าย่อมต้องคำนึงถึงเป็นประการสำคัญก็ตาม แต่ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดในการคำนวณหาจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ เช่น ต้องพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาที่เช่าทรัพย์นั้น รวมทั้งการเสื่อมราคาของทรัพย์สินด้วย เป็นต้น ส่วนกรณีการฝากเงินต่อธนาคารอันทำให้ผู้ฝากได้มาซึ่งผลประโยชน์โดยได้รับดอกเบี้ยตอบแทนจากธนาคารตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่ฝากนั้น น่าจะพอถือเป็นตัวเลขในการหาประโยชน์จากทรัพย์สินได้อย่างหนึ่งรวมทั้งยังต้องพิจารณาจากข้อมูลอื่น ๆ อีก เพื่อคำนวณหาค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นว่าผันแปรเพิ่มขึ้นเพียงใดหรือไม่ อย่างไร เมื่อการประเมินของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดค่ารายปีตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น ประกอบกับทางพิจารณาไม่ปรากฏข้อมูลอื่นที่จะกำหนดค่ารายปีได้ดีกว่าการกำหนดตามทางเลือกที่โจทก์เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาหาค่ารายปีของส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกดังกล่าวจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารของรัฐจึงสมควรถือตามข้อเสนอของโจทก์ดังกล่าว ประกอบกับจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การตามรูปคดีนี้ จึงชอบที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเหล่านั้นเป็นฐานในการคำนวณหาค่ารายปีของส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก
แม้ปีภาษี 2544 โจทก์จะมิได้นำค่ารายปีของส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกตามรายการทรัพย์สินดังกล่าวมารวมคำนวณกับค่ารายปีของโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบนั้น แต่เมื่อโจทก์สำแดงรายการเครื่องจักรกลไกตามที่จำเลยที่ 1 ทักท้วงประจำปีภาษี 2545 แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องกำหนดค่ารายปีของส่วนควบสำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกนั้น เพื่อหาจำนวนเงินที่เครื่องจักรกลไกแต่ละเครื่องสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 8 วรรคสอง เพื่อคิดค่าภาษี และในกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องจักรกลไกดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของเครื่องจักรกลไก ขนาด ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่เครื่องจักรกลไกนั้นได้รับประโยชน์ตามความในวรรคสามของมาตรา 8 นั้น แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2475 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน กล่าวคือ ในกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่ารายปีโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่าที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น แต่จำเลยที่ 1 พิจารณากำหนดค่ารายปีโดยคำนึงแต่เพียงว่าเครื่องจักณกลไกดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 999,452,799.66 บาท และโจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 ถึง 4,275,982,415.29 บาท เสียภาษีสรรพสามิต 15,439,793,946.26 บาท แสดงว่าโจทก์สามารถใช้เครื่องจักรหาผลประโยชน์ได้เป็นเงินจำนวนสูงมากจึงกำหนดค่ารายปีจากข้อมูลดังกล่าวเป็นเงินจำนวนสูง ทั้งที่ค่ารายปีตามความในมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ หมายถึงจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้การเช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการเช่าทรัพย์สินนั้นหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีสอดคล้องกับค่าเช่าดังกล่าวมากที่สุด โดยกรณีเงินได้ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องจักรนั้นผลิตสินค้าออกจำหน่ายเป็นเพียงที่มาของเงินได้ของผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ ซึ่งนำไปสู่การจัดเก็บภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมีหลักการคนละอย่างกับการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ให้จัดเก็บจากฐานค่ารายปี โดยถือตามเกณฑ์การหาประโยชน์ในการให้เช่าหรือควรให้เช่าได้เป็นสำคัญ ซึ่งหากมีผู้เช่าเครื่องจักรนี้ไปใช้ผลิตสินค้าจำหน่าย ค่าเช่าเครื่องจักรย่อมเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของผู้เช่า ซึ่งควรต้องต่ำกว่าผลประโยชน์ที่ผู้เช่าจะได้จากการใช้เครื่องจักรผลิตสินค้าจำหน่าย มิฉะนั้นก็จะไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เช่าแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีจากมูลค่าเครื่องจักรโดยมีที่มาจากรายได้ของโจทก์ที่ได้จากการใช้เครื่องจักรกลไกของโจทก์ผลิตสินค้าจึงเป็นการประเมินภาษีตามดุลพินิจของตนฝ่ายเดียวโดยไม่สมเหตุสมผลและมิได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 วรรคสองและสามแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ และภาระภาษีที่ตกแก่โจทก์ การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยทั้งห้าจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การให้เช่าเป็นวิธีการหนึ่งในการหาประโยชน์โดยตรงจากทรัพย์สิน แม้มูลค่าทรัพย์สินซึ่งนำออกให้เช่าจะเป็นฐานอย่างหนึ่งที่ผู้ให้เช่าย่อมต้องคำนึงถึงเป็นประการสำคัญก็ตาม แต่ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดในการคำนวณหาจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ เช่น ต้องพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาที่เช่าทรัพย์นั้น รวมทั้งการเสื่อมราคาของทรัพย์สินด้วย เป็นต้น ส่วนกรณีการฝากเงินต่อธนาคารอันทำให้ผู้ฝากได้มาซึ่งผลประโยชน์โดยได้รับดอกเบี้ยตอบแทนจากธนาคารตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่ฝากนั้น น่าจะพอถือเป็นตัวเลขในการหาประโยชน์จากทรัพย์สินได้อย่างหนึ่งรวมทั้งยังต้องพิจารณาจากข้อมูลอื่น ๆ อีก เพื่อคำนวณหาค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นว่าผันแปรเพิ่มขึ้นเพียงใดหรือไม่ อย่างไร เมื่อการประเมินของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดค่ารายปีตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น ประกอบกับทางพิจารณาไม่ปรากฏข้อมูลอื่นที่จะกำหนดค่ารายปีได้ดีกว่าการกำหนดตามทางเลือกที่โจทก์เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาหาค่ารายปีของส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกดังกล่าวจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารของรัฐจึงสมควรถือตามข้อเสนอของโจทก์ดังกล่าว ประกอบกับจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การตามรูปคดีนี้ จึงชอบที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเหล่านั้นเป็นฐานในการคำนวณหาค่ารายปีของส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขายอาคารให้กรมสรรพากร ทำให้เสียสิทธิหักภาษีซื้อ
การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีข้อตกลงให้โจทก์สร้างอาคารห้างสรรพสินค้าบนที่ดินเช่าด้วยทุนทรัพย์และสัมภาระของโจทก์และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาทันทีที่ลงมือปลูกสร้าง แล้วโจทก์มีสิทธิเช่าอาคารดังกล่าวมีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่กรมการศาสนาได้รับมอบอาคารนั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามสัญญาเช่าใช้สิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่เช่า อาคารที่สร้างขึ้นจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ประกอบมาตรา 144 วรรคสอง กรมการศาสนาจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด การที่โจทก์ตกลงให้อาคารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนานั้นถือได้ว่ากรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้นมาโดยนิติกรรมด้วยการจำหน่ายจ่ายโอนของโจทก์ อันต้องตามบทนิยามคำว่า "ขาย" ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าดังกล่าวให้แก่กรมการศาสนา
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท
เมื่อโจทก์ได้ขายอาคารห้างสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนาให้แก่กรมการศาสนาและการขายนั้นเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมการศาสนามาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 83 และมาตรา 84 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี แต่ถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อตามาตรา 82/3 ผู้ประกอบการดังกล่าวมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาหรือมีสิทธิขอคืน พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียหรือขอคืนของแต่ละเดือนภาษีแยกต่างหากจากกัน การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดจนการขอคืนภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องแยกกระทำเป็นรายเดือนต่างหากจากกัน การที่โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 17 เดือนภาษี และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 18 เดือนภาษี โดยแยกจำนวนเงินเป็นรายเดือนภาษีที่มีการประเมินและขอคืนภาษี จึงถือได้ว่ามี 18 ข้อหาแยกต่างหากจากกัน มิใช่เพียงข้อหาเดียว การเสียค่าขึ้นศาลจึงต้องเสียเป็นรายข้อหาตามรายเดือนภาษี มิใช่เสียรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท