คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 55

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้าต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ผู้ไม่มีสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
บทบัญญัติตามมาตรา 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กำหนดให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าระหว่าง ก. กับโจทก์ที่ยังมิได้จดทะเบียนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 โจทก์จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยว่าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน กรณีไม่แจ้งการครอบครองตามกฎหมาย และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินสาธารณสมบัติ
ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าเป็นที่ดินมือเปล่า ซึ่งได้ครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมตลอดมาก่อน ประมวลกฎหมายที่ดินฯใช้บังคับ แต่โจทก์ทั้งห้ามิได้แจ้งการครอบครองไว้ แม้ภายหลังจะมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ออกมายกเลิกความใน มาตรา 5 วรรคสองแห่ง พระราชบัญญัติ ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ก็ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิครอบครองขึ้นมาใหม่เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 58 ทวิ,59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ และระเบียบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 2 ข้อ 4 ซึ่งเป็นกรณีมีเหตุสมควรและไม่มีเจตนาฝ่าฝืน เมื่อโจทก์ทั้งห้าอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนซึ่งได้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมตลอดมา แม้มิได้แจ้งการครอบครองไว้แต่ก็ยังมีสิทธิครอบครองอยู่ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 58 ทวิและ 59 ทวิ และได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อขอให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยทั้งสามโต้แย้งว่าที่ดินโจทก์ทั้งห้าครอบครองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้าย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งห้าแล้วโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงเรียนเอกชนไม่ใช่กฎหมายคุ้มครองแรงงาน การฟ้องเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน
พระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง หรือเพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แม้ใน พระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะกำหนดการคุ้มครองการทำงานและการสงเคราะห์ครูใหญ่และครู หรือกำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงาน และการอุทธรณ์ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่และครูกับผู้รับอนุญาตหรือผู้จัดการแต่อย่างใด ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนเอกชนฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกรณีถูกจำเลยเลิกจ้างจึงหาจำต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 แต่อย่างใดไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอให้ศาลสั่งเป็นผู้พิทักษ์/ผู้อนุบาล และสิทธิในการฟ้องร้องความเสียหาย
จำเลยเป็นบุตรย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้มารดาเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนไร้ความสามารถได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 หรือ 29 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นบิดาจำเลยและสามีของมารดาจำเลยทั้งศาลมีอำนาจแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาได้ตามมาตรา 1463 แม้ตามปกติคู่สมรสจะเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลตามกฎหมายก็ตาม
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำการใด ๆ อันเป็นการอนุบาลคนไร้ความสามารถได้ แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเท่านั้น โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยได้ คดีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลแล้วตั้งโจทก์เป็นแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อยู่ในอำนาจศาล: จำเลยไม่อยู่บ้าน แม้ปิดหมายฎีกาแล้ว
คดีอาญานั้น ถ้าในชั้นฎีกา ปรากฏว่าจำเลยไม่มีตัวอยู่ ณ บ้านเรือนของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นสั่งปิดหมายและสำเนาฎีกาไว้ที่เรือนของจำเลยก็ยังไม่พอถือว่าจำเลยได้อยู่ในอำนาจศาล ศาลฎีกาจึงต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่ในอำนาจศาล: การส่งหมายและสำเนาฎีกาที่บ้านจำเลยไม่เพียงพอหากจำเลยไม่อยู่
คดีอาญานั้น ถ้าในชั้นฎีกา ปรากฎว่าจำเลยไม่มีตัวอยู่ ณ บ้านเรือนของจำเลยแม้ศาลชั้นต้นสั่งปิดหมายและสำเนาฎีกาไว้ที่เรือนของจำเลยก็ยังไม่พอถือว่าจำเลยได้อยู่ในอำนาจศาล ศาลฎีกาจึงต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบ