คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6059/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน และสิทธิครอบครองหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31โจทก์ซื้อที่พิพาทจากนาย ส. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับนายส.เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม โดยถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกัน แต่การที่โจทก์ยังยึดถือครอบครองที่ดินตลอดมาทั้งภายใน 10 ปี และหลัง 10 ปีนับจากวันห้ามโอนแล้ว โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินหรือไม่เพียงใดต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ ไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องหรือร้องขอต่อศาลว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อข้อห้ามโอนตามกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ แม้มีการตกลงภายหลัง
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปีจากโจทก์ แม้โจทก์จะได้สละการครอบครองและมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยครอบครอง ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว ก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาท
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน: การส่งมอบการครอบครองและโมฆะของนิติกรรม
การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไปในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน และมีข้อตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน หากมิได้มีการส่งมอบการครอบครองภายในระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวอาจถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่า ได้มีการส่งมอบการครอบครองที่ดินหรือโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นในระยะเวลาห้ามโอนแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามอย่างชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอน: การส่งมอบการครอบครองเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาโมฆะ
การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไปในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน และมีข้อตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน หากมิได้มีการส่งมอบการครอบครองภายในระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวอาจถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะเมื่อยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่า ได้มีการส่งมอบการครอบครองที่ดินหรือโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นในระยะเวลาห้ามโอนแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามอย่างชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอน: ผลโมฆะและการส่งมอบการครอบครอง
การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นไปในระหว่างระยะห้ามโอน และมีข้อตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน หากมิได้มีการส่งมอบการครอบครองภายในระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งจะตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตาม ป.ที่ดิน ผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมาย และสิทธิครอบครอง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการ-ทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาล-ชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่า ห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้อยู่เดิมจากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดิน น.ส.3ก. ที่มีข้อจำกัดตามมาตรา 31 ประมวลกฎหมายที่ดิน และผลของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่าห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตามแต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่เดิม จากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีข้อห้ามโอนสิทธิ การนับระยะเวลาครอบครองต้องพ้นระยะห้ามโอน
ผู้คัดค้านได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่ที่พิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาจะปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนี้อยู่ ยังไม่ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้คัดค้านจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่ผู้ร้องได้ ทั้งผู้ร้องจะเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในข้อบังคับห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 หาได้ไม่
of 6