คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมีข้อห้ามโอน การนับระยะเวลาครอบครองเริ่มเมื่อพ้นระยะห้ามโอนเท่านั้น
แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ผู้คัดค้านได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่วันทำสัญญา แต่ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ผู้คัดค้านได้รับโฉนดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาจะปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และภายในระยะเวลาดังกล่าวทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอนผู้คัดค้านจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องได้ ผู้ร้องจะเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในข้อบังคับห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินที่มีข้อจำกัดการโอน: ที่ดินอยู่ภายใต้ข้อยกเว้นการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทมีกำหนดเงื่อนไขห้ามโอน 10 ปี การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาเป็นข้อวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องปฏิเสธ โจทก์เห็นว่าเมื่อการครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่เปลี่ยนแปลงไป โจทก์จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงใดต้องปฏิเสธ ดังนี้ ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ปัญหาจึงมีเพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะยึดที่ดินพิพาทหรือไม่ ซึ่งโจทก์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่จะต้องวินิจฉัย ที่ดินพิพาทต้องห้ามการโอนภายใน 10 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 วรรคท้าย บัญญัติว่า ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามวรรคหนึ่งที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี การยึดที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 แม้ผลของการยึดทรัพย์จะยังมิได้ทำให้สิทธิแห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเปลี่ยนไปก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ตกอยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่มีอำนาจที่จะยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินห้ามโอนกับการบังคับคดี: เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจยึดเมื่อที่ดินอยู่ในระยะห้ามโอน
ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 31 วรรคท้าย บัญญัติว่า ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดีการที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพิพาทไว้เพื่อรอการขายทอดตลาดเมื่อกำหนดเวลาห้ามโอนสิ้นสุดลง เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี แม้ผลการยึดทรัพย์จะมิได้ทำให้สิทธิแห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเปลี่ยนไปก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่มีอำนาจยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3 โมฆะหากไม่ทำตามแบบและฝ่าฝืนห้ามโอน แต่หากครอบครองหลังพ้นห้ามโอน ย่อมได้สิทธิครอบครอง
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายใน 10 ปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแม้โจทก์ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอนก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองต่อมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดห้ามโอนนั้น
เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่ผิดแบบและระยะเวลาห้ามโอน สิทธิครอบครองและการสละเจตนาครอบครอง
จำเลยได้ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้ ฉ. และได้ขายและมอบการครอบครองที่พิพาทให้โจทก์ แต่การซื้อขายที่พิพาททั้งสองครั้งดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และที่พิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายในสิบปีการซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยกับ ฉ.และระหว่างฉ. กับโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 31 ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่เมื่อจำเลยได้ขนย้ายออกไปจากที่พิพาทจึงถือว่าจำเลยได้สละเจตนาครอบครองโดยไม่ยึดถือที่พิพาทอีกต่อไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรกการที่ ฉ. กับโจทก์ได้ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอน ฉ. กับโจทก์ก็ยังไม่ได้สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าวแต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่พิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดห้ามโอนนั้น จำเลยไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาทอีก และเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ โจทก์จึงบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน ม.31: การโอนที่ดินภายใต้เงื่อนไขห้ามโอน และข้อยกเว้น
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ขายให้แก่จำเลยและจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขการห้ามมิให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 แม้จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะการโอนโดยทางนิติกรรม แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ว่าความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก ซึ่งการตกทอดทางมรดกก็มิใช่นิติกรรม จึงเป็นการเน้นให้เห็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่า แม้การที่ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนนี้ต้องเปลี่ยนมือไปเพราะการตกทอดทางมรดกซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายมรดกก็ยังต้องบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นการใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนโอนจะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินตามมาตรา 31 ประมวลกฎหมายที่ดิน: การโอนหลังบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
การใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497มาตรา 31 วรรคหนึ่ง จะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิโอนที่ดินตามมาตรา 31 แม้บอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว ก็ยังต้องติดเงื่อนไขห้ามโอน
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ขายให้แก่จำเลยและจำเลยได้ขอออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อจำเลย เป็นเจ้าของ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตกอยู่ ภายใต้เงื่อนไขการห้ามมิให้โอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แม้จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายและโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วก็ตาม แต่เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะการโอนโดยทางนิติกรรมแต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคสองว่าความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก ซึ่งการตกทอดทางมรดกก็มิใช่นิติกรรม จึงเป็น การเน้นให้เห็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่า แม้การที่ ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนนี้ต้องเปลี่ยนมือไปเพราะ การตกทอดทางมรดกซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายมรดกก็ยังต้อง บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นการใดที่เป็นเหตุให้ที่ดิน ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนโอนจะต้องโอนไปและการนั้น มิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจ โอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี โจทก์จึง ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็น ชื่อของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย น.ส.3 ที่ขัดต่อข้อจำกัดการโอนตามกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไป นอกจากตกทอดทางมรดกตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 31 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยทางมรดก และทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวโดยได้รับเงินกับมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองแล้ว แม้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยประกาศรับมรดกเสร็จแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายแล้ว
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 มีเจตนารมณ์จะปกป้องราษฎรให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี ดังนั้น การที่โจทก์กับผู้มีสิทธิ ในที่ดินทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยส่งมอบ การครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน แม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว ก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญานี้จึงเป็นโมฆะ และถึงแม้ต่อมา จะมีการยกเลิกความในมาตรา 31 มิให้ใช้บังคับกับที่ดินในคดีนี้ ก็ตามก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ได้อีก
of 6