พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6244/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, และหนี้ร่วมสมรส: หลักเกณฑ์การพิจารณาของศาล
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1522 กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เป็นกรณีเฉพาะเมื่อศาลพิพากษาให้หย่าหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ ดังนั้น แม้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ศาลชั้นต้นก็กำหนดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะได้ ปัญหาการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นพิพากษาเป็นประโยชน์แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองของโจทก์จำเลย
ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ 10,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ออกเงินดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ด้วย ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ ภายหลังก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างไร แสดงว่าบิดามารดาโจทก์มีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ว. ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่องจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1534 ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 โจทก์ต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง
แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้งจะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้นำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงินในการกู้ปี 2543 จำเลยได้ระบุในวัตถุประสงค์ขอกู้ว่า ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้ในปี 2546 เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ฟังได้ว่า จำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรสจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490
ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ 10,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ออกเงินดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ด้วย ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ ภายหลังก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างไร แสดงว่าบิดามารดาโจทก์มีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ว. ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่องจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1534 ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 โจทก์ต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง
แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้งจะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้นำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงินในการกู้ปี 2543 จำเลยได้ระบุในวัตถุประสงค์ขอกู้ว่า ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้ในปี 2546 เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ฟังได้ว่า จำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรสจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในสัญญา แม้ไม่ได้ลงชื่อ แต่รู้เห็นยินยอมและมีส่วนได้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านลงในที่ดินของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันในสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ลงชื่อคู่สัญญาในสัญญาจ้างผู้เดียวก็ตาม หนี้ค่าก่อสร้างบ้านที่จำเลยทั้งสองมุ่งหมายจะได้อยู่อาศัยต่อไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของสามีภริยาต่อหนี้ร่วม กรณีศาลพิพากษาเกินกรอบคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของร้านค้าและจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ตามคำฟ้องเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อหาว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านค้า ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านค้าซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการพิพากษาในเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงินต่างประเทศ การชำระหนี้เป็นเงินบาท และความรับผิดของภริยาในหนี้สินของสามี
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าทำสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ผู้กู้เงินจากโจทก์ โดยไม่ได้ฟ้องบริษัท ส. ด้วย แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 ทั้งจำเลยทั้งสองได้นำพยานเข้าสืบอันแสดงการยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมาแต่แรกจนเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะโต้แย้งแล้ว อันถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์มาในชั้นนี้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะวินิจฉัยให้อีกต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยให้
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียวเพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้น ที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการได้ ดังนั้น ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าฝ่ายนั้นไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ได้ความว่ามีเหตุดังกล่าวศาลจึงจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ส. มีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นให้การโต้แย้งทั้งมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัว แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาค้ำประกันก็ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าว ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณ นั้น เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียวเพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้น ที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการได้ ดังนั้น ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าฝ่ายนั้นไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ได้ความว่ามีเหตุดังกล่าวศาลจึงจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไป ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ส. มีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นให้การโต้แย้งทั้งมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัว แต่หนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาค้ำประกันก็ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าว ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณ นั้น เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทจำนอง - การบังคับชำระหนี้ - อัตราดอกเบี้ย - การชำระหนี้ด้วยเงินบาท
ธนาคารโจทก์ให้บริษัท ส. กู้ยืมเงิน โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกัน และจำเลยที่ 2 ภริยาจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นพยานและให้ความยินยอมต่อมาบริษัท ส. ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้ฟ้องบริษัท ส. เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองรับสำเนาคำฟ้องและยื่นคำให้การแล้ว มิได้โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7แต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใดอันเป็นเหตุที่จะต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 9 ทั้งจำเลยทั้งสองก็ยอมรับดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นสืบพยานโจทก์และนำพยานจำเลยทั้งสองเข้าสืบอีกด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาแต่แรกจนเป็นการล่วงเลยขั้นตอนหรือกระบวนการพิจารณาที่จะโต้แย้งในปัญหาดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป
การที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการนั้น มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิคู่กรณีมิให้นำเสนอต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ได้ ดังนั้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดกันแล้ว หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ ก็จะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 10 แต่คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันอาจมีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ซึ่งเป็นข้ออ้างที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ศาลไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่แต่อย่างใดถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส. แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตามแต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรส เพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 2ผู้ภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แม้ทางนำสืบของโจทก์จะไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีการเสนอกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (SingaporeInterbank OfferedRate:SIBOR) คิดกันในอัตราร้อยละเท่าใดต่อปีก็ตามแต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์และบริษัท ส. ตกลงกัน โดยเขียนเป็นสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยต่อปีได้ว่า SIBOR+0.8%+11.111%(SIBOR) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ส. จะรับผิดชดใช้ให้โจทก์มากน้อยเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับ SIBOR เท่านั้นหาได้หมายความว่าเมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ย SIBOR ว่าเป็นเท่าใดแล้ว จะให้ถือว่าการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ไม่เพราะหลังจากที่บริษัท ส. รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์แล้ว มีการคิดคำนวณดอกเบี้ยตามสูตรดังกล่าว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดมาตามอัตราดอกเบี้ยของ SIBOR ที่เป็นฐานคิดคำนวณนั้นเอง โดยที่บริษัท ส. มิได้โต้แย้งแต่ประการใด ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตรา 10.0847 ต่อปีหลังจากที่บริษัท ส. ผิดนัด จึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอันเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองเลือกที่จะชำระเงินด้วยเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทยก็ได้ตามแต่จะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกชำระเป็นเงินไทยก็ต้องชำระเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตามมาตรา 196 วรรคสอง ฉะนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้แก่ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าวในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของตนที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯมาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
การที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการนั้น มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิคู่กรณีมิให้นำเสนอต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นก็ได้ ดังนั้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดกันแล้ว หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีไม่มีการสืบพยาน เมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ ก็จะสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 10 แต่คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันอาจมีสิทธิยกข้อต่อสู้เกี่ยวกับข้อสัญญาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ซึ่งเป็นข้ออ้างที่บริษัท ส. มีอยู่ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ก่อนวันสืบพยานเพื่อให้ศาลไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยมิได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นว่าชอบหรือไม่แต่อย่างใดถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส. แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตามแต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 สามีก่อขึ้นในระหว่างสมรส เพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 2ผู้ภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แม้ทางนำสืบของโจทก์จะไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีการเสนอกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ (SingaporeInterbank OfferedRate:SIBOR) คิดกันในอัตราร้อยละเท่าใดต่อปีก็ตามแต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์และบริษัท ส. ตกลงกัน โดยเขียนเป็นสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ยต่อปีได้ว่า SIBOR+0.8%+11.111%(SIBOR) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ส. จะรับผิดชดใช้ให้โจทก์มากน้อยเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับ SIBOR เท่านั้นหาได้หมายความว่าเมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ย SIBOR ว่าเป็นเท่าใดแล้ว จะให้ถือว่าการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และบริษัท ส. ไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ไม่เพราะหลังจากที่บริษัท ส. รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์แล้ว มีการคิดคำนวณดอกเบี้ยตามสูตรดังกล่าว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดมาตามอัตราดอกเบี้ยของ SIBOR ที่เป็นฐานคิดคำนวณนั้นเอง โดยที่บริษัท ส. มิได้โต้แย้งแต่ประการใด ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตรา 10.0847 ต่อปีหลังจากที่บริษัท ส. ผิดนัด จึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอันเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองเลือกที่จะชำระเงินด้วยเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทยก็ได้ตามแต่จะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกชำระเป็นเงินไทยก็ต้องชำระเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตามมาตรา 196 วรรคสอง ฉะนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาว่าในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้แก่ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินจริง ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันดังกล่าวในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ทราบถึงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราอ้างอิง) ก็ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของตนที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯมาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การกู้เงินเพื่อซ่อมแซมบ้านและเลี้ยงดูบุตร ถือเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน
จำเลยที่ 1 นำเงินที่กู้มาได้ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านป้า เพราะป้าดูแลจำเลยที่ 1มาตั้งแต่เล็กรวมทั้งดูแลบุตรของจำเลยที่ 1 ด้วย การนำเงินกู้ไปซ่อมแซมบ้านของป้าก็เพื่อประโยชน์และความผาสุกของบุตรทั้งสามคนของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)จึงเป็นหนี้ร่วมที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาลงชื่อยินยอมการกู้ยืมเงินของสามี ถือเป็นหนี้ร่วมกัน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในหนังสือให้ความยินยอมซึ่งระบุว่า ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและกู้ยืมเงินจากโจทก์ได้โดยไม่คัดค้าน ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้หนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1ผู้เป็นสามีได้ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ตนฝ่ายเดียวในระหว่างสมรสและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวร่วมกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมทำนิติกรรมของคู่สมรสทำให้เกิดหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 สามีของจำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอม ซึ่งมีข้อความว่าตนยินยอมให้จำเลยที่ 1ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 3 ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อให้เกิดขึ้นและให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน ทางออกสู่ถนนสาธารณะสำคัญ จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดได้หากรู้เห็น
ข้อตกลงรับรองว่าที่ดินที่ซื้อขายมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ สามารถแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินได้ และไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะใช้บังคับกันได้ ดังนั้นแม้ ในสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ระบุข้อตกลง เรื่องทางออกสู่ถนนสาธารณะไว้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจาก ความรับผิดตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อปรากฏภายหลังว่า ที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะตามข้อตกลงเป็นผลให้ ที่ดินพิพาทมีราคาต่ำลง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่จำเลยที่ 2 ก็รับว่าที่ดินพิพาทได้มาหลังจากจำเลยทั้งสองแต่งงานกัน อันถือได้ว่าเป็นสินสมรส ซึ่งในวันทำสัญญาจะซื้อขายและวันจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2ได้ร่วมไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นให้ความยินยอมในการ ที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินเท่าใดแน่แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอย่างที่ดินที่มีทางออกสู่ ถนนสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ย่อมทำให้คุณค่าหรือราคาที่ดินพิพาทตกต่ำลง ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหาย ในส่วนนี้ให้ตามความเหมาะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-ทรัพย์สินส่วนตัว: การได้มาซึ่งที่ดินระหว่างสมรสโดยการยกให้ และสิทธิในการอ้างว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดก
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส กับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดิน ภายหลังจากประกาศใช้ พระราชบัญญัติให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อไม่ปรากฏมี หนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่า เป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะ ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิด ในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดก ของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและ โจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบ ในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่าย ในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วม ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่ ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องแต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต. ร่วมกันแสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของ ผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อย ทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ