คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1534

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรโดยผู้แทนตามกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาระงับข้อพิพาทที่ทำโดยผู้แทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสามีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกส่วนของภริยาที่เป็นสินบริคณห์ แม้ยังไม่ได้แบ่งมรดก
ทรัยพ์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามีแม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกันก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์ และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของภริยาที่สมรสใหม่ และสิทธิของสามีในการฟ้องเรียกทรัพย์สินมรดกที่เป็นสินบริคณห์
ทรัพย์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามี แม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกัน ก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของภริยาและสามี: สินเดิม สินบริคณห์ อำนาจฟ้อง
ทรัพย์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามี. แม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกัน.ก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462. โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469. และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534. เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของอัยการและขอบเขตการคุ้มครองผลประโยชน์มรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534. ต่อมาป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท. ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หากป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทนป.ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากป.อีก.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค.. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค.. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี. ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป. ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค. จากจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของ บ. โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป. ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป. ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป. ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป. อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของ ค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของ ค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค. เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างคดีมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่า ป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป.ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป.อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อทรัพย์สินร่วมกัน สิทธิความเป็นเจ้าของ และผลของการตกลงที่ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันออกเงินเช่าซื้อที่ดินในนามจำเลยจนได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนเช่าซื้อที่ดิน (ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือ) จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนประโยชน์ให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อโจทก์เรียกร้อง จำเลยจะยกเอาเหตุการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือขึ้นอ้างหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 262/2493)
หนังสือซึ่งไม่มีข้อความแสดงถึงการระงับข้อพิพาท ไม่อาจถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดี(ในฐานะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ)ไม่ได้
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้วจะฟ้องบิดาซึ่งเป็นผู้บุพพการีมิได้เป็นคดีอุทลุมต้องห้ามแม้บุตรยังเป็นผู้เยาว์และมีผู้แทนโดยชอบธรรมผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีอำนาจฟ้องแทนดุจเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อที่ดินร่วมกัน แม้ไม่มีหลักฐานการตั้งตัวแทน และผลของเอกสารที่มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันออกเงินเช่าซื้อที่ดินในนามจำเลยจนได้กรรมสิทธิ์.ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง.
แม้โจทก์จะไม่มีหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนเช่าซื้อที่ดิน (ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือ) จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนประโยชน์ให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อโจทก์เรียกร้อง. จำเลยจะยกเอาเหตุการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือขึ้นอ้างหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 262/2493).
หนังสือซึ่งไม่มีข้อความแสดงถึงการระงับข้อพิพาท ไม่อาจถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ. ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดี (ในฐานะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ)ไม่ได้.
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้ว. จะฟ้องบิดาซึ่งเป็นผู้บุพพการีมิได้. เป็นคดีอุทลุมต้องห้าม. แม้บุตรยังเป็นผู้เยาว์และมีผู้แทนโดยชอบธรรมผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีอำนาจฟ้องแทนดุจเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อที่ดินร่วมกัน สิทธิในทรัพย์สิน และข้อจำกัดการฟ้องแทนบุตร
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันออกเงินเช่าซื้อที่ดินในนามจำเลยจนได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนเช่าซื้อที่ดิน (ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือ) จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนประโยชน์ให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อโจทก์เรียกร้อง จำเลยจะยกเอาเหตุการณ์ตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือขึ้นอ้างหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 262/2493)
หนังสือซึ่งไม่มีข้อความแสดงถึงการระงับข้อพิพาท ไม่อาจถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดี (ในฐานะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ) ไม่ได้
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้ว จะฟ้องบิดาซึ่งเป็นผู้บุพพการีมิได้ เป็นคดีอุทลุมต้องห้าม แม้บุตรยังเป็นผู้เยาว์และมีผู้แทนโดยชอบธรรมผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีอำนาจฟ้องแทนดุจเดียวกัน
of 8