คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1534

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ และอายุความมรดก: การละเลยอายุความโดยปริยาย
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้ โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลย แต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยวกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้น จนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้น เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เยาว์ & อายุความมรดกเมื่อจำเลยยังเจรจาแบ่งมรดกอยู่
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลยแต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยงกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้นจนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้นเพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์โดยพนักงานอัยการ และการละเลยอายุความมรดกจากการเจรจาต่อรอง
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้. โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน.
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลย. แต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยงกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้น.จนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี. ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น. ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192. จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้.
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้น. เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ การโอนที่ดินที่เป็นทางให้เสียเปรียบ และการพิพากษาแก้โฉนดตามส่วนที่ครอบครอง
การที่ศาลเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีเนื่องจากศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข. แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 จะบัญญัติว่า ผู้ที่ศาลเรียกเข้ามาเป็นคู่ความจะมีสิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีเท่านั้น การที่บิดาโจทก์ถูกเรียกเข้ามาในคดี ไม่ใช่เป็นการกระทำของโจทก์ เรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534
กฎหมายไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสาร ห้ามแต่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข
โจทก์ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทได้โอนที่พิพาทนั้นให้จำเลยด้วยความสมัครใจอันเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะขอให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนให้นั้นจำเลยมิได้เสียค่าตอบแทน โจทก์จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลย และขอให้เพิกถอนการโอนที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
แม้ในคำขอโจทก์จะไม่ได้ขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดก็ตาม แต่ที่ขอให้เพิกถอน ทำลายนิติกรรมให้จำเลยนั้น ก็เป็นการขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยอยู่ในตัวแล้ว การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยจึงไม่เกินคำขอ
จำเลยร่วมโอนที่พิพาทส่วนของตนและของโจทก์ไปให้จำเลยอื่น โจทก์จะขอให้เพิกถอนการโอนไปถึงส่วนของจำเลยร่วมด้วยไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนในส่วนของจำเลยร่วมด้วย จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างโฉนดพิพาทเป็นพยานก็ตามแต่โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดพิพาท เป็นส่วนสัดจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างโฉนดพิพาทเข้ามาในคดีด้วย ดังนี้ ศาลจึงหยิบยกขึ้นพิพากษาให้แก้โฉนดได้
โจทก์ขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยรวม 4 คนนั้น มีความหมายให้แสดงว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของคนละ 1 ใน 4 แม้จะขอมาในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมก็ตาม เมื่อได้ความว่าต่างได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะพิพากษาให้แยกส่วนตามที่ครอบครองเป็นส่วนสัดกันนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ การโอนที่ดินที่เป็นทางให้เสียเปรียบ และอำนาจศาลในการแก้ไขโฉนด
การที่ศาลเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีเนื่องจากศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข.แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 จะบัญญัติว่า ผู้ที่ศาลเรียกเข้ามาเป็นคู่ความจะมีสิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีเท่านั้น การที่บิดาโจทก์ถูกเรียกเข้ามาในคดี ไม่ใช่เป็นการกระทำของโจทก์ เรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534
กฎหมายไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสาร ห้ามแต่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข
โจทก์ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทได้โอนที่พิพาทนั้นให้จำเลยด้วยความสมัครใจอันเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะขอให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนให้นั้นจำเลยมิได้เสียค่าตอบแทนโจทก์จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลย และขอให้เพิกถอนการโอนที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
แม้ในคำขอโจทก์จะไม่ได้ขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดก็ตาม แต่ที่ขอให้เพิกถอน ทำลายนิติกรรมให้จำเลยนั้นก็เป็นการขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยอยู่ในตัวแล้วการที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยจึงไม่เกินคำขอ
จำเลยร่วมโอนที่พิพาทส่วนของตนและของโจทก์ไปให้จำเลยอื่นโจทก์จะขอให้เพิกถอนการโอนไปถึงส่วนของจำเลยร่วมด้วยไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนในส่วนของจำเลยร่วมด้วย จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างโฉนดพิพาทเป็นพยานก็ตาม แต่โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างโฉนดพิพาทเข้ามาในคดีด้วย ดังนี้ ศาลจึงหยิบยกขึ้นพิพากษาให้แก้โฉนดได้
โจทก์ขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยรวม 4 คนนั้น มีความหมายให้แสดงว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของคนละ 1 ใน 4 แม้จะขอมาในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมก็ตาม เมื่อได้ความว่าต่างได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะพิพากษาให้แยกส่วนตามที่ครอบครองเป็นส่วนสัดกันนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์พี่น้องเป็นผัวเมีย, การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, และผลกระทบต่อการฟ้องร้องเรียกทรัพย์
พี่น้องร่วมบิดามารดาได้เสียเป็นผัวเมียกัน เมื่อพ.ศ.2477 นั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียจะต้องถูกลงโทษลอยแพ ฉะนั้น พี่น้องดังกล่าวจึงมิใช่ผัวเมียที่ชอบด้วยกฎหมายแม้ต่อมา พ.ศ.2483 จะมีบุตรด้วยกันก็เป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา เว้นแต่บิดาจะจดทะเบียนหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องบิดาเรียกทรัพย์ที่ยืมไปคืนได้ไม่เป็นอุทลุม
แม้ชายอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และหญิงอายุสิบห้าปีบริบูรณ์จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยมิได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก็ตาม ก็หาถือว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ กฎหมายเพียงแต่ให้อำนาจบิดามารดาหรือผู้ปกครองร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการสมรสเสียได้เท่านั้น หากไม่มีการร้องขอให้เพิกถอนชายหญิงนั้นก็ย่อมบรรลุนิติภาวะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบุพการี: ผู้สืบสันดานฟ้องโดยผู้แทนโดยชอบธรรมก็เป็นบุพการีต้องห้าม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1534 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนนั้น รวมความถึงการที่ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนอย่างอื่นด้วย ฉะนั้น โจทก์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของผู้เยาว์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบุพการีโดยผู้แทน: มาตรา 1534 ห้ามฟ้องบุพการี แม้ผ่านผู้แทน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนนั้น รวมความถึงการที่ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการี โดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนอย่างอื่นด้วยฉะนั้น โจทก์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กในการจัดการทรัพย์สินมรดก
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิของตนเอง แต่เป็นการใช้สิทธิของผู้เยาว์ เพราะผู้เยาว์ใช้สิทธิด้วยตนเองยังไม่ได้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงใช้สิทธินั้นด้วยอำนาจกฎหมาย โดยมิต้องให้ผู้เยาว์มอบอำนาจดังเช่นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะเมื่อผู้เยาว์ไม่มีสิทธิฟ้องบุพพการี โดยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้แทนโดยชอบธรรม: สิทธิของบุตรผู้เยาว์และการห้ามฟ้องบุพพการี
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้น ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิของตนเอง แต่เป็นการใช้สิทธิของผู้เยาว์ เพราะผู้เยาว์ใช้สิทธิด้วยตนเองยังไม่ได้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงใช้สิทธินั้นแทนด้วยอำนาจกฎหมาย โดยมิต้องให้ผู้เยาว์มอบอำนาจดังเช่นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะ เมื่อผู้เยาว์ไม่มีสิทธิฟ้องบุพพการี โดยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แล้ว ผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องด้วย
of 8