คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเรียกคืนราคารถเช่าซื้อที่หาย: ไม่ใช่ค่าเช่าซื้อ ใช้ อายุความ 10 ปี
อายุความเรียกให้ผู้เช่าซื้อใช้ราคารถยนต์เช่าซื้อที่หายส่งคืนไม่ได้ ไม่ใช่เรียกค่าเช่าซื้อ มีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 2 ปี ตามมาตรา 165(6)
พยานโจทก์เบิกความโดยอ่านเอกสารที่ส่งต่อศาลเป็นเอกสารที่จำเลยไม่ได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้อง ศาลอนุญาตให้พยานอ่านข้อความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของเจ้าของต่อการกระทำของตัวแทนที่ปรากฏแก่บุคคลภายนอก และผลของการยอมรับสารภาพหนี้ต่ออายุความ
เมื่อโจทก์ได้เชิด บ. หรือรู้แล้วยังยอมให้ บ. เชิดตัวเองออกแสดงว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตซึ่งมิได้ล่วงรู้ถึงความจริงเสมือนว่า บ. เป็นตัวแทนของโจทก์
จำเลยได้ตกลงซื้อรถพิพาทจาก บ. เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2511 ยังชำระเงินไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2512 ว่าจำเลยได้รับรถพิพาทไปในวันนั้นเอง การกระทำของจำเลยเช่นนี้ฟังตระหนักเป็นปริยายได้ว่าจำเลยยอมรับสารภาพแล้วว่ายังเป็นหนี้ค่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์อยู่ในวันนั้น โจทก์ฟ้องเรียกค่ารถยนต์และค่าเสียหายเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2514 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด-อายุความ-ค่าเสียหาย-อำนาจฟ้อง: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อที่ผิดนัด และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องคดีของโจทก์เองโดยลงชื่อ "บริษัทสยามกลการ จำกัด โดยนายปรีชา พรประภา และนายประเสริฐ ลีลาศเจริญ กรรมการ โจทก์" ในใบแต่งทนายความของโจทก์มีนายปรีชา พรประภา และนายประเสริฐ ลีลาศเจริญ กรรมการบริษัทโจทก์ลงนามและประทับตราของโจทก์เป็นการถูกต้องตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน หอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงเศรษฐการ โจทก์ไม่จำต้องนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความประกอบต่อศาลอีก
สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดใด หรือผิดสัญญาข้อใด ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และไม่ส่งมอบรถคืน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
(อ้างฎีกาที่ 601/2513)
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการผิดสัญญาเช่าซื้อและให้คืนรถที่เช่าซื้อไปไม่ได้มีคำขอว่า ถ้าหากจำเลยไม่ส่งคืนจะต้องใช้ราคาแทนด้วย และเป็นราคาเท่าใด ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยคืนรถยนต์ 3 คันที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าเสียหายอย่างเดียวว่าศาลกำหนดให้น้อยไป นอกจากนี้ในอุทธรณ์ของโจทก์ยังกล่าวไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่ติดใจร้องขอต่อศาลว่า ถ้าจำเลยไม่คืน (รถยนต์) จะให้ใช้ราคาแทน ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยในข้อที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และประเด็นข้อนี้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นอีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่คืนรถยนต์ ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายสำหรับรถ 3 คันที่ยังไม่ได้คืน เดือนละ 1,000 บาทต่อ 1 คัน ตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถคืน แต่ค่าเสียหายหลังจากวันฟ้องต้องไม่เกินคันละ 48,000 บาท เพียงเท่าที่รถยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ต่อไปไม่เกิน 4 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าซื้อ, อายุความค่าเสียหาย, และขอบเขตอำนาจศาลในการพิพากษาค่าเสียหายและราคาแทน
โจทก์ฟ้องคดีของโจทก์เองโดยลงชื่อ "บริษัทสยามกลการ จำกัดโดยนายปรีชาพรประภาและนายประเสริฐลีลาศเจริญ กรรมการ โจทก์"ในใบแต่งทนายความของโจทก์มีนายปรีชาพรประภา และนายประเสริฐลีลาศเจริญ กรรมการบริษัทโจทก์ลงนามและประทับตราของโจทก์เป็นการถูกต้องตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน หอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงเศรษฐการ โจทก์ไม่จำต้องนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความประกอบต่อศาลอีก
สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดใด หรือผิดสัญญาข้อใด ให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ส่งมอบรถคืน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(อ้างฎีกาที่ 601/2513)
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการผิดสัญญาเช่าซื้อและให้คืนรถที่เช่าซื้อไปไม่ได้มีคำขอว่า ถ้าหากจำเลยไม่ส่งคืนจะต้องใช้ราคาแทนด้วยและเป็นราคาเท่าใด ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และให้จำเลยคืนรถยนต์ 3 คันที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าเสียหายอย่างเดียวว่าศาลกำหนดให้น้อยไป นอกจากนี้ในอุทธรณ์ของโจทก์ยังกล่าวไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่ติดใจร้องขอต่อศาลว่า ถ้าจำเลยไมคืน (รถยนต์) จะให้ใช้ราคาแทน ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยในข้อที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และประเด็นข้อนี้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นอีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่คืนรถยนต์ ให้ใช้ราคาแทน จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้ ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายสำหรับรถ 3 คันที่ยังไม่ได้คืน เดือนละ 1,000 บาทต่อ 1 คันตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถคืน แต่ค่าเสียหายหลังจากวันฟ้องต้องไม่เกินเกินคันละ 48,000 บาท เพียงเท่าที่รถยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ต่อไปไม่เกิน 4 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดลงจากการแสดงเจตนาชัดเจนของผู้รับสัญญาและการปฏิเสธของทายาท
เมื่อ พ.ศ. 2495 ย.สามีของจำเลยทำหนังสือจ้างโจทก์ให้ยกร่องสวนในที่ดินของ ย.ให้เสร็จภายใน 3 ปี และปลูกมะพร้าวกับคอยดูแล 5 ปี แล้วจะยกที่ดินตอนเหนือให้โจทก์ 3 ไร่ ทำสัญญากันแล้วโจทก์ปลูกกระต๊อบอยู่ในที่ดินที่ตกลงกันไว้นี้ตลอดมา โจทก์ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2499 ย.ได้ขอออกโฉนดที่ดินแปลงนี้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2507 ย.ได้ขอแบ่งแยกที่ดินด้านเหนือออกเป็นอีกโฉนดหนึ่งต่างหากมีเนื้อที่ 3 ไร่ เป็นการแสดงเจตนาว่าจะแบ่งแยกให้โจทก์ตามสัญญา การที่โจทก์อยู่ในที่ดินแปลงที่ตกลงกันนี้ตลอดมาโดย ย.ไม่ทักท้วงและไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินส่วนนี้นับแต่ครบกำหนดตามสัญญา ทั้งยังได้ขอแบ่งแยกที่ดินเป็นอีกโฉนดหนึ่งต่างหาก มีเนื้อที่ 3 ไร่ตรงตามสัญญา เป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตลอดมา อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 จนเมื่อก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ราว 5 เดือน ย.ถึงแก่ความตายและจำเลยผู้เป็นทายาทปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นจึงสิ้นสุดลง อายุความเริ่มนับใหม่ตั้งแต่นั้น ไม่ว่าจะเป็นอายุความ 10 ปี หรือ 2 ปี คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความในการฟ้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาด: สิทธิของผู้สู้ราคาสูงสุดและการดำเนินการขายซ้ำเมื่อไม่ชำระราคาตามกำหนด
เมื่อ พ.ศ.2495 ย. สามีของจำเลยทำหนังสือจ้างโจทก์ให้ยกร่องสวนในที่ดินของ ย. ให้เสร็จภายใน 3 ปี และปลูกมะพร้าวกับคอยดูแล 5 ปี แล้วจะยกที่ดินตอนเหนือให้โจทก์ 3 ไร่ทำสัญญากันแล้วโจทก์ปลูกกระต๊อบอยู่ในที่ดินที่ตกลงกันไว้นี้ตลอดมา โจทก์ได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้วเมื่อ พ.ศ.2499 ย. ได้ขอออกโฉนดที่ดินแปลงนี้ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2507 ย. ได้ขอแบ่งแยกที่ดินด้านเหนือออกเป็นอีกโฉนดหนึ่งต่างหากมีเนื้อที่ 3 ไร่ เป็นการแสดงเจตนาว่าจะแบ่งแยกให้โจทก์ตามสัญญา การที่โจทก์อยู่ในที่ดินแปลงที่ตกลงกันนี้ตลอดมาโดย ย. ไม่ทักท้วงและไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินส่วนนี้นับแต่ครบกำหนดตามสัญญาทั้งยังได้ขอแบ่งแยกที่ดินเป็นอีกโฉนดหนึ่งต่างหากมีเนื้อที่ 3 ไร่ ตรงตามสัญญาเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตลอดมา อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 จนเมื่อก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ราว 5 เดือน ย. ถึงแก่ความตายและจำเลยผู้เป็นทายาทปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นจึงสิ้นสุดลง อายุความเริ่มนับใหม่ตั้งแต่นั้น ไม่ว่าจะเป็นอายุความ 10 ปี หรือ 2 ปี คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความในการฟ้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าข้าวโพด, การหักกลบลบหนี้, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยซื้อข้าวโพดและโจทก์ได้มอบข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหนังสือมาแสดง โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์เป็นผู้ประกอบกสิกรรมเรียกร้องเอาค่าข้าวโพดอันเป็น ผลิตผลแห่งกสิกรรมจึงมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 807-808/2510)
จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์แทนโจทก์โดยในขณะนั้นหนี้ค่าข้าวโพดของโจทก์ที่มีต่อจำเลยยังไม่ขาดอายุความ ถ้าโจทก์จะนำหนี้ค่าข้าวโพดมาหักกลบลบกับหนี้ค่าเช่าซื้องวดรถแทรกเตอร์ซึ่งจำเลยมีต่อโจทก์ย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 และเมื่อโจทก์ขอหักกลบลบหนี้ ก็ต้องหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าข้าวโพดที่เก่าที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 348

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: แยกพิจารณาตามมูลหนี้และประเภทความเสียหาย
ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ขาดประโยชน์ที่เอารถไปให้ผู้อื่นเช่าไม่ได้มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ส่วนค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้รถชำรุดบุบสลายมีอายุความ 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 563 จะนำอายุความตามมาตรา 164 ซึ่งเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยยกอายุความตามมาตรา 165 มีกำหนด 2 ปีขึ้นต่อสู้ แต่ในคดีแพ่งเพียงจำเลยยกอายุความขึ้นตัดฟ้อง การจะปรับบทมาตราใด เป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี
โจทก์มีรถไว้ให้เช่า การที่รถอยู่ในความครอบครองของจำเลยตลอดเวลาที่จำเลยผิดนัด โจทก์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์นั้นไม่ได้ ยิ่งเห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากการให้เช่าทรัพย์นั้น มิใช่ความเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นล่วงหน้าจำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากการเช่าซื้อและสภาพรถชำรุด ศาลปรับใช้บทมาตราตามสภาพข้อพิพาท
ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ขาดประโยชน์ที่เอารถไปให้ผู้อื่นเช่าไม่ได้ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้รถชำรุดบุบสลายมีอายุความ 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 จะนำอายุความตามมาตรา 164 ซึ่งเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยยกอายุความตามมาตรา 165 มีกำหนด 2 ปีขึ้นต่อสู้ แต่ในคดีแพ่งเพียงจำเลยยกอายุความขึ้นตัดฟ้อง การจะปรับบทมาตราใด เป็นหน้าที่ของศาลจะยกขึ้นปรับแก่คดี
โจทก์มีรถไว้ให้เช่า การที่รถอยู่ในความครอบครองของจำเลยตลอดเวลาที่จำเลยผิดนัด โจทก์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์นั้นไม่ได้ ยิ่งเห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากการให้เช่าทรัพย์นั้น มิใช่ความเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นล่วงหน้า จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างทนาย ค่าจ้าง และอายุความคดีเรียกค่าจ้าง
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายฟ้องผู้มีชื่อต่อศาล เมื่อโจทก์ยังดำเนินคดีไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่โจทก์ และเมื่อเลิกสัญญาแล้วจำเลยต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ และต้องคิดค่าจ้างตามรูปคดีหาใช่คิดแต่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นไม่ (อ้างฎีกาที่ 962/2509 และ 455/2506) และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้มีกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(15)
of 19