พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีเจตนาแปลงหนี้ และการขู่ว่าจะดำเนินคดีอาญาไม่ถือเป็นการข่มขู่
บุตรจำเลยเช่ารถยนต์รวม 3 คัน ซึ่งเป็นของโจทก์ ส. และ น. บุตรจำเลยกลับนำรถยนต์ไปจำนำผู้มีชื่อแล้วไม่สามารถนำรถยนต์มาคืนเพราะไม่มีเงินค่าไถ่รถที่จำนำไว้ โจทก์แจ้งความเพื่อนดำเนินคดีแก่บุตรจำเลย ก. บุตรเขยแจ้งแก่จำเลยว่า ว. ได้นำรถของโจทก์ไปจำนำไว้และได้มีการแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว ขอให้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินพิพาทเกี่ยวกับการที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากจำเลยเป็นมารดาของ ว. ซึ่งเช่ารถยนต์ของโจทก์กับพวกไปและนำรถไปจำนำแล้วไม่มีเงินค่าไถ่รถยนต์คืน โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาบุตรสาวจำเลยและได้เจรจากัน ต่อมาจำเลยจึงได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ การที่โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงิน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่บุตรของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 สัญญากู้ยืมเงินจึงมีผลใช้บังคับได้ และการที่จำเลยซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์มาทำสัญญากู้เนื่องจากบุตรจำเลยมีหนี้กับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงใช้บังคับได้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญากู้พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินและการชำระหนี้ แม้มีข้ออ้างเรื่องการถูกข่มขู่ แต่หากยอมผ่อนชำระหนี้ ย่อมถือว่าได้รับเงินจริง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1164 กรรมการจะมอบอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดของตนให้แก่ผู้จัดการ หรือให้แก่อนุกรรมการซึ่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นกรรมการด้วยกันก็ได้ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องทำตามคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งกรรมการทั้งหลายได้กำหนดให้เป็นการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจของกรรมการให้แก่ผู้จัดการหรืออนุกรรมการไปจัดการแทนในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นการภายในอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนการที่นิติบุคคลจะฟ้องคดีย่อมเป็นอำนาจของนิติบุคคลนั้นเองที่จะกระทำโดยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคล หากไม่ทำการฟ้องคดีเอง ก็ย่อมมีอำนาจตั้งตัวแทนให้จัดการฟ้องคดีแทนนิติบุคคลได้ ในกรณีเช่นนี้ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคล กรรมการและผู้ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ว่าด้วยลักษณะตัวแทน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะต้องแต่งตั้งตัวแทนจากบุคคลที่เป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการของบริษัทเท่านั้น ตัวการจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้ให้เป็นตัวแทนดำเนินการฟ้องคดีแทนตน
จำเลยทำสัญญากู้และสัญญาจำนำกับธนาคารโจทก์เนื่องมาจากจำเลยบริหารงานในบริษัท ส. ผิดพลาดและขาดทุนจนต้องขอร้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเงินส่วนตัวมาชำระหนี้ให้แก่บริษัทที่จำเลยบริหารงานผิดพลาด ดังนี้ แม้จะมีการบีบบังคับหรือข่มขู่จากโจทก์ว่าจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหรือจะปิดบริษัท หากจำเลยไม่ยอมทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินและสัญญาจำนำระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ
การที่จำเลยยินยอมให้ธนาคารโจทก์นำเงินที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ซึ่งจำเลยก็ยอมรับโดยได้ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หลังจากทำสัญญากู้เงินจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีกเพราะจำเลยให้การรับแล้วว่าโจทก์นำเงินกู้ดังกล่าวไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหรือฎีกาได้อีกว่า โจทก์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยกู้ยืมไปชำระให้แก่บริษัทดังกล่าว เพราะเป็นการแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ข้อกล่าวอ้างและฎีกาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีโดยถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากโจทก์ตามที่จำเลยยอมรับ โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีก เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมิได้นำเอกสารที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมมารับฟังด้วย แม้การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์จะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 และ 88 หรือไม่ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้นเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยทำสัญญากู้และสัญญาจำนำกับธนาคารโจทก์เนื่องมาจากจำเลยบริหารงานในบริษัท ส. ผิดพลาดและขาดทุนจนต้องขอร้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเข้ามาดำเนินการแก้ไข โดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเงินส่วนตัวมาชำระหนี้ให้แก่บริษัทที่จำเลยบริหารงานผิดพลาด ดังนี้ แม้จะมีการบีบบังคับหรือข่มขู่จากโจทก์ว่าจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหรือจะปิดบริษัท หากจำเลยไม่ยอมทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินและสัญญาจำนำระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ
การที่จำเลยยินยอมให้ธนาคารโจทก์นำเงินที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ซึ่งจำเลยก็ยอมรับโดยได้ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์หลังจากทำสัญญากู้เงินจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีกเพราะจำเลยให้การรับแล้วว่าโจทก์นำเงินกู้ดังกล่าวไปชำระหนี้ของจำเลยให้แก่บริษัท ส. จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหรือฎีกาได้อีกว่า โจทก์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยกู้ยืมไปชำระให้แก่บริษัทดังกล่าว เพราะเป็นการแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ข้อกล่าวอ้างและฎีกาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีโดยถือว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากโจทก์ตามที่จำเลยยอมรับ โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงอีก เป็นการวินิจฉัยคดีโดยมิได้นำเอกสารที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมมารับฟังด้วย แม้การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์จะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 และ 88 หรือไม่ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้นเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาข้อกฎหมายในเรื่องนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่โมฆียะ แม้จะถูกข่มขู่ หากการแจ้งหนี้และการงดจ่ายไฟเป็นสิทธิที่ทำได้ตามสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใดๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการงดจ่ายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่จำเลย หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่ทำไปหลังถูกแจ้งหนี้ค่าละเมิดจากการใช้ไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ ทำให้โมฆียะ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใด ๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใด ๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายโรงงานเกินกำลังผลิตที่ได้รับอนุญาตและการชำระเงินทดแทนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือนั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลังการผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.โรงงานพ.ศ.2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดยนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่า โจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยมหรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐจะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมาคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิดหีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้นนโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชนด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบกิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึง พ.ร.บ.น้ำตาลทราย พ.ศ.2511พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 และ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512ประกอบกัน ซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐ โดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงานของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงานตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติอันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขหรือหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนดไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษเพื่อขยายโรงงานน้ำตาล การทำสัญญาไม่ขัดกฎหมายและมีผลผูกพัน
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้ง ให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือ นั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลัง การผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลัง การผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดย นำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยม หรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือ ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐ จะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมา คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิด หีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้น นโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชน ด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบ กิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึงพระราชบัญญัติน้ำตาลทราย พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ประกอบกันซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐโดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิต ที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงาน ของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงาน ตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการ ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติ อันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่ง เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษ ให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้ง โรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุง แก้ไขหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนด ไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่เป็นโมฆะ แม้ทำภายใต้สถานการณ์ถูกกดดันจากคดีอาญา เพราะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องมูลหนี้โดยชอบ
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1ให้โจทก์ โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นจากการเจรจาหลังแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการข่มขู่
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่เพื่อให้ลงลายมือชื่อในบันทึกการชำระหนี้ที่ไม่มีมูล เป็นโมฆะ
โจทก์มิได้สมัครใจซื้อรถบรรทุก 10 ล้อ คันเกิดเหตุจากจำเลย จำเลยมิได้เจ้าของรถคันดังกล่าวแล้วแต่กลับกล่าวหาว่าโจทก์ถอดเอาอุปกรณ์ของรถคันดังกล่าวไปขายอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แล้วบังคับให้โจทก์ซื้อรถคันดังกล่าวในราคา55,000 บาท หากไม่ซื้อก็จะดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหายักยอกทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขู่โจทก์จนโจทก์ จำต้องยอมลงลายมือชื่อในบันทึกการชำระหนี้พิพาท และยอมมอบเช็คจำนวนเงิน 55,000 บาท ให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลย ดังกล่าวมาถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม แต่ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจให้โจทก์มีมูล ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่เสรีภาพของโจทก์ เป็นภัย อันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันถูกจำเลย ข่มขู่เอานั้น บันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ได้บอกล้างแล้ว บันทึกการชำระหนี้ดังกล่าว จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้นโจทก์ไม่จำต้องรับผิด ตามบันทึกการชำระหนี้ดังกล่าวนั้น