คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อคู่สัญญายอมรับข้อตกลงและไม่คัดค้านการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การจำเลยและนัดชี้สองสถาน ก่อนถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนตามที่ได้ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งว่าสำเนาให้โจทก์ถ้าจะคัดค้านให้ยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือในวันชี้สองสถาน เมื่อถึงวันนัดชี้สองสถานฝ่ายโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงว่าได้ลงนามในสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการกับจำเลยจริงและแถลงไม่ติดใจคัดค้านคำร้องของจำเลย เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิสัญญาอนุญาโตตุลาการ: คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสิ้นไป
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามสัญญาจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตามสัญญา ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ตรวจรับงานและไม่ชำระเงินค่าจ้าง โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวก่อนเช่นกัน และเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยสละผลบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยปริยายแล้ว จำเลยจึงหาอาจยกเอาข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: โจทก์-จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 19 แล้วไม่อ้างสิทธิอีก
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามข้อตกลงในสัญญาจำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและมีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตาม สัญญาจ้างเหมาข้อ 19 ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ตรวจรับงาน และไม่ชำระเงินค่าจ้าง ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อ 19 ก่อนเช่นกันและเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตาม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 สละผลบังคับ ตามสัญญาข้อ 19 โดยปริยายแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำ ข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ปฏิบัติอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิสัญญาอนุญาโตตุลาการ: เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องร้อง
ระหว่างโจทก์ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินอ่างเก็บน้ำตามสัญญาจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา โดยมิได้เสนอข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อนตามสัญญา ส่วนโจทก์เมื่อเห็นว่าตนเองทำงานแล้วเสร็จตามสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ตรวจรับงานและไม่ชำระเงินค่าจ้าง โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวก่อนเช่นกันและเมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันนัดสืบพยานให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าโจทก์และจำเลยสละผลบังคับตามสัญญาดังกล่าวโดยปริยายแล้ว จำเลยจึงหาอาจยกเอาข้อสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้โจทก์ ปฏิบัติอีกได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนตามกฎหมาย: การเชิดตัวแทนและผลผูกพันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง
แม้สัญญาจ้างเหมาเรือจะไม่ระบุว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนหรือกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่สินค้าคือปูนซีเมนต์ที่บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ที่สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อนำมายังประเทศไทยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ใบตราส่งก็ระบุว่าผู้รับตราส่งหรือผู้รับสินค้าคือจำเลยที่ 1 เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง ประเทศไทยแล้ว นายเรือก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ไปทำการขนสินค้าตามหนังสือบอกกล่าวความพร้อมซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า/ผู้รับสินค้า ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ทำการกักสินค้า จำเลยที่ 1 ได้ติดต่อบริษัท ค. ให้ติดต่อฝ่ายโจทก์ให้ปล่อยสินค้าโดยระบุว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินค่าระวางเรือจำนวน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเรื่องค่าเรือเสียเวลาจำนวน 1,550,000 บาท โดยให้ธนาคารทำสัญญาค้ำประกัน ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน 1,550,000 บาท ด้วย เมื่อขนถ่ายสินค้าเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเรือเสียเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามตามหนังสือทวงถามซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าเหมาเรือ จำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าเรือเลย สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างบริษัท ค. ขนถ่ายสินค้านั้นปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 ให้บริษัท ค. จัดเตรียมเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายสินค้าทำนองให้กระทำการแทนเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทน
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ-เงื่อนไขบังคับก่อน-การจำหน่ายคดี-ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์และจำเลยได้ร่วมลงนาม เมื่อมิได้กำหนดเวลาการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการไว้ จึงนำบทบัญญัติมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการภายในกำหนดอายุความตามกฎหมาย
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการยังอยู่ในกำหนดเวลาที่โจทก์จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการได้ แต่โจทก์มิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อน จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องจึงชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เนื่องจากตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ได้ระบุไว้แล้วว่า ให้คู่สัญญาตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เป็นการมิได้ปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเอกสารที่เกี่ยวกับสัญญาอนุญาโต-ตุลาการหรือระเบียบข้อบังคับของสมาคมประกันวินาศภัยมาให้ตรวจสอบ ซึ่งจำเลยก็ได้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีการไต่สวนก่อนจำหน่ายคดีของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนฟ้องคดี หากไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี
สัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์และจำเลยได้ร่วมลงนามด้วยนั้น มิได้กำหนดเวลาการเสนอ ข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการไว้ จึงนำบทบัญญัติตาม มาตรา 9 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ คู่สัญญาจึงต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายเมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการยังอยู่ในกำหนดเวลาที่โจทก์จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการได้ แต่โจทก์มิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อนจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องจึงชอบที่จะขอให้ศาล มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนได้ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฯมาตรา 10 เมื่อสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการข้อ 10 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด" การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเอกสารที่เกี่ยวกับสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือระเบียบข้อบังคับของสมาคมประกันวินาศภัยมาให้ตรวจสอบซึ่งจำเลยก็ได้ส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลแล้ว ทั้งตามฎีกาโจทก์ก็มีได้อ้างว่ามีเหตุอะไรที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุอื่นที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้แต่อย่างใด จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีการไต่สวนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9325/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: โจทก์ฟ้องศาลโดยไม่ผ่านอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลขาดอำนาจพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างทำของไว้โดยมีข้อตกลงว่า หากมี กรณีพิพาทอันเกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการชี้ขาดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเทศไทยเป็นอนุญาโตตุลาการ ตามข้อความดังกล่าว เป็นการตกลงให้มีการระงับข้อพิพาทโดยทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จำต้อง ปฏิบัติตามสัญญา เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9058/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม & สิทธิฟ้องคดี – เช็คชำระหนี้จากสัญญาแต่งตั้งตัวแทน – อนุญาโตตุลาการไม่ตัดสิทธิฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ถึงแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าชำระหนี้อะไร ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ให้มีอำนาจในการตกลงข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามสัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายสินค้า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามเช็คเกิดจากสัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายสินค้าและจำเลยไม่ยอมตกลงชำระหนี้ตามเช็คแก่โจทก์ เพราะค้างชำระหนี้โจทก์ไม่ถึงจำนวนตามเช็ค แสดงว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น ทั้งข้อสัญญาดังกล่าวบอกแต่เพียงว่า เมื่ออนุญาโตตุลาการได้ทำการตกลงข้อขัดแย้งแล้วให้ถือว่าข้อตกลงนั้นสิ้นสุดและยอมรับกันเท่านั้น ไม่มีข้อความใดบังคับว่าคู่กรณีจำต้องมอบข้อพิพาทในอนุญาโตตุลาการทุกกรณีไป จึงไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนฟ้องร้องคดี หากไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อกำหนดให้นำกฎของแก๊ฟต้า ข้อที่ 119 มาใช้บังคับ โดยต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาตโตตุลาการชี้ขาดก่อนตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการที่ 125 และเป็นที่ตกลงกันโดยชัดแจ้งว่าเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการที่จะฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้มีคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎดังกล่าว กรณีต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
เมื่อจำเลยส่งเอกสารทั้งหมดที่จะใช้อ้างอิงในคดีต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน แม้จะเป็นชั้นไต่สวนคำร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หรือไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่ตน ทั้งมิได้นำสืบแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ศาลย่อมฟังเอกสารนั้นได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ยอมปฏิบัติและยอมรับในกระบวนพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องต่อศาลไทยเสียก่อน ที่อนุญาโต-ตุลาการจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องและมิใช่การตัดสิทธิศาลไทยแต่อย่างใด
of 5