พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธคำสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
คำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหาพิมพ์ลายนิ้วมือนอกจากมีวัตถุประสงค์เป็นการตรวจสอบข้อมูลบุคคลเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ต้องหา ตรวจสอบประวัติอาชญากรเพื่อประกอบการพิจารณาเงื่อนไขในการเพิ่มโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 92 และมาตรา 93 และยังกระทำเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมพยานหลักฐานในคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 (1) และถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอบสวน อันเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน ซึ่งรัฐย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมและเก็บข้อมูลของบุคคลได้ภายในขอบเขตความจำเป็น ทั้งยังสามารถนำข้อมูลจากการพิมพ์ลายนิ้วมือมาประกอบการดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ แก่จำเลยได้ แม้คดีนี้และคดีก่อนการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งมิอาจนำประวัติการกระทำความผิดในครั้งก่อนหรือครั้งหลังมาเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 94 แต่การพิมพ์ลายนิ้วมือมิใช่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มโทษเพียงประการเดียว ดังนั้น ที่จำเลยปฏิเสธไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งพนักงานสอบสวนโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิ่มโทษจำเลยไม่ได้เนื่องจากเคยต้องโทษในคดีก่อนและพ้นโทษแล้วก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยกระทำความผิดในคดีก่อนเมื่ออายุ 14 ปีเศษและจำเลยได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงสามารถหยิกยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ขณะกระทำความผิดในคดีก่อนจำเลยมีอายุ 14 ปีเศษ เมื่อความผิดที่ได้กระทำในขณะมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 94 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ประกอบกับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วกลับมากระทำความผิด คดีนี้อีกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าจำเลยพ้นโทษในคดีก่อนตั้งแต่ก่อนวันที่ 24 มีนาคม 2548 แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 2 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในคดีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
ขณะกระทำความผิดในคดีก่อนจำเลยมีอายุ 14 ปีเศษ เมื่อความผิดที่ได้กระทำในขณะมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 94 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ประกอบกับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวแล้วกลับมากระทำความผิด คดีนี้อีกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 แสดงให้เห็นว่าจำเลยพ้นโทษในคดีก่อนตั้งแต่ก่อนวันที่ 24 มีนาคม 2548 แล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 2 บัญญัติให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในคดีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดลหุโทษ ไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 บัญญัติว่า "ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยกระทำความผิดบัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน" ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่บัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ทั้ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 อันรวมถึง มาตรา 102 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาปรับแก่คดีนี้ด้วย ดังนี้ ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถจึงเป็นความผิดลหุโทษ เมื่อ ป.อ. มาตรา 94 บัญญัติว่า "ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น ไม่ว่าจะได้กระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตามความในหมวดนี้" ซึ่งหมายความว่า ความผิดลหุโทษไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษในการกระทำความผิดอีกตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 94 มาปรับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 17 ด้วยเช่นกัน กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ต้องนำหลักเกณฑ์จากประมวลกฎหมายอาญามาใช้
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในคดีก่อนฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองมีกำหนด 6 เดือน ในขณะที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี แล้วมากระทำผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคดีนี้อีก จะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา97 ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 94 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้: ค่าปรับก่อนสินบนนำจับฝิ่น เนื่องจากค่าปรับมีผลต่อการจำไถ่โทษ
เงินสินบนนำจับฝิ่นเถื่อนเมื่อจำเลยมีทรัพย์ต้องชำระค่าปรับจนเต็มก่อนแล้วจึงจ่ายเป็นสินบนนำจับ ประมวลแพ่ง ม.328 หนี้ที่ถึงกำหนดพร้อมกันรายใดที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ การชำระหนี้ต้องเปลื้องรายนั้นก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการหักเงินค่าปรับและเงินสินบลในคดีอาญา
เงินสินบลกับเงินค่าปรับจะหักอย่างไหนก่อน