พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความซื้อขายที่ดิน: สิทธิขับไล่เมื่อผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีสาระสำคัญอยู่ 4 ประการคือ (1) จำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ (2) โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคา 2,600,000 บาท โดยแบ่งการชำระราคาเป็น 2 งวด (3) โจทก์ตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยเมื่อได้รับชำระเงินค่าซื้อขายจากจำเลยครบถ้วนและ (4) ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดข้อหนึ่ง ยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งบังคับคดีได้ทันที อันเป็นที่เห็นได้ว่าสัญญามิได้ระบุไว้เลยว่าหากจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินตามสัญญาแล้ว ให้การซื้อขายที่ดินเป็นอันเลิกกันและให้โจทก์บังคับขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 ทวิ ฉะนั้น ในเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความคำพิพากษาและคำบังคับของศาลชั้นต้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้โดยชัดแจ้ง ก็ต้องถือว่าจำเลยยังมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ตามมาตรา 296 ทวิ ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจที่จะขอหมายบังคับคดีต่อศาลให้ขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครองปรปักษ์ และการบังคับคดี
การแย่งการครอบครองที่ดินจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ร. เพราะร. ได้ยกให้ ว. ก่อนตาย ว. ได้ครอบครองทำประโยชน์มาประมาณ20 ปี โดยโจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง แล้ว ว. ได้ขายให้จำเลย จำเลยจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อจาก ว. ไม่ได้บุกรุก เห็นได้ว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่จึงไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ศาลมีอำนาจเพิกถอน/แก้ไขกระบวนการ
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตาม น.ส. 3 รวม 12 แปลง เป็นของโจทก์และขับไล่จำเลย และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ส่งมอบที่ดิน 12 แปลงแก่โจทก์ตามคำพิพากษา หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่หลายร้อยไร่และยังมีปัญหาโต้แย้งแนวเขต ที่ดินกับจำเลย จะมีปัญหาในการบังคับคดี ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งในเนื้อที่ดินพิพาท จึงให้นัดไต่สวน ต่อมาเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบางส่วนแล้วศาลชั้นต้น มีคำสั่งงดการไต่สวนโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหาก ถ้าการบังคับคดีเป็นที่เสียหายแก่จำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งเช่นนั้นได้
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดี: ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เป็นกฎหมายเฉพาะเหนือกว่า ป.พ.พ. มาตรา 213
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษา: ศาลมีอำนาจยกเลิกคำสั่งงดบังคับคดีได้หากจำเลยยังไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดบังคับให้จำเลยเปิดถนนพิพาทโดยให้จำเลยนำแผงเหล็กที่ปิดกั้นออกและขนย้ายวัสดุก่อสร้างบนถนนพิพาทออกไปให้จำเลยใช้ค่าทดแทนไปจนกว่าจะเปิดถนนพิพาทและขนย้ายวัสดุก่อสร้างเสร็จจำเลยเพียงแต่ขนย้ายวัสดุก่อสร้างออก เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่งตามคำพิพากษาเท่านั้น แต่จำเลยไม่รื้อรั้วกำแพงที่ปิดกั้นถนนพิพาทออก จึงมีผลเท่ากับจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้เปิดถนนพิพาท และการที่จำเลยที่ 3 สร้างรั้วกำแพงขึ้นใหม่ในถนนพิพาท เป็นการจงใจก่อเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากถนนพิพาทได้โดยปกติสุข ที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไปแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการบังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของโจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่
จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไปแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดีได้ ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการบังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของโจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่: ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ที่มีเงื่อนไขการชำระค่าเสียหายผูกพันกับการออกจากอสังหาริมทรัพย์
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้วยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วยจึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ68,000บาทนับแต่วันที่28มิถุนายน2526เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลยเช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใดจึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิวรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัวดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(1)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์: ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารหากไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้วยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วยจึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินเดือนละ68,000บาทนับแต่วันที่28มิถุนายน2526เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลยจึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใดกรณีพอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา286ทวิวรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัวดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(1)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่ - ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารหากไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเมื่อคดีมีลักษณะเป็นการฟ้องแย้งเพื่อส่งมอบอสังหาริมทรัพย์
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว ยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วย จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ68,000 บาท นับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลย เช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใด จึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาและการบังคับคดีขับไล่: ผลของการชำระค่าเสียหายและผลบังคับคดี
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว ยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วย จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (1) เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ 68,000 บาท นับแต่วันที่ 28 มิถุนายน2526 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลย เช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใด จึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 296จัตวา (1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องและบังคับรื้อถอนได้ แม้จำเลยให้การว่าซื้อโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสารั้วพร้อมลวดหนามซึ่งรุกล้ำที่ดินโจทก์ออกไปจากที่ดินโจทก์จำเลยที่3ให้การสู้คดีไว้แต่เพียงว่าจำเลยที่3ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่3ปลูกสร้างทาวน์เฮาสส์รุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการก่อสร้างรุกล้ำของจำเลยเป็นการก่อสร้างโดยสุจริตและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่3แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่3รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์หากจำเลยที่3ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่3เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นหากจำเลยที่3ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิได้อยู่แล้วโจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่3เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่3เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)