พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยศาลอุทธรณ์นอกประเด็นเรื่องการรุกล้ำที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสารั้วพร้อมลวดหนามซึ่งรุกล้ำที่ดินโจทก์ออกไปจากที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 3 ให้การสู้คดีไว้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต ไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่ 3 ปลูกสร้างทาวน์เฮาส์รุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า การก่อสร้างรุกล้ำของจำเลยเป็นการก่อสร้างโดยสุจริตและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่ 3 เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่ 3 เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนโรงเรือนรุกล้ำที่ดิน: การปฏิบัติตามคำพิพากษาต้องครบถ้วนและตรวจสอบแนวเขตที่แท้จริง
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยแต่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่มีการทำแผนที่พิพาทต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องด้วยว่าจำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์กว้างประมาณ2.50เมตรยาวประมาณ8เมตรก็ตามก็เป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้นหากต่อมาภายหลังจากศาลพิพากษาไปแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทก็เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีการที่จำเลยทั้งสองเพียงแต่รื้อห้องน้ำมีความกว้าง2เมตรยาว3.3เมตรออกไปนั้นยังถือไม่ได้ว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วนแล้วชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ไปตรวจสอบดูว่าโรงเรือนของจำเลยทั้งสองยังคงรุกล้ำที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองของโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แนวเขตที่พิพาทและการปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจตรวจสอบการรื้อถอนหากยังไม่ครบถ้วน
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย แต่ในระหว่างการพิจารณาคดี ไม่มีการทำแผนที่พิพาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องด้วยว่า จำเลยทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์กว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร ก็ตาม ก็เป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น หากต่อมาภายหลังจากศาลพิพากษาไปแล้ว มีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตที่พิพาท ก็เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี การที่จำเลยทั้งสองเพียงแต่รื้อห้องน้ำมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3.3 เมตร ออกไปนั้น ยังถือไม่ได้ว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาถูกต้องครบถ้วนแล้ว ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ไปตรวจสอบดูว่าโรงเรือนของจำเลยทั้งสองยังคงรุกล้ำที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองของโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ดูแลบ่อปลา และการบังคับคดีขุดลอกคลอง: ข้อจำกัดในการฎีกาและอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ปัญหาว่าโจทก์ที่2เป็นเพียงผู้ดูแลบ่อปลาแทนโจทก์ที่1จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำฟ้องการจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ขุดลอกคลองให้อยู่ในสภาพเดิมให้โจทก์เป็นผู้กระทำโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิเพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเดิน: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี และสิทธิของผู้รับมรดก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่า เดิม พ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2800 ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514 ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง 2 วา ตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข 2 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า 10 ปี และบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์ และปักเสา 3 ต้น ขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข 4 และ 5 ตามลำดับ ทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภาระจำยอม คำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดิน กั้นทางเข้าออก ตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางจำเป็นเมื่อใช้ทางต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี แม้เจ้าของที่ดินจะกั้นรั้วก็ไม่อาจขัดขวางได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่าเดิมพ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่2800ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง2วาตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข2โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า10ปีและบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์และปักเสา3ต้นขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข4และ5ตามลำดับทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภารจำยอมคำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดินกั้นทางเข้าออกตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เดิมพ. ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วยเมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า10ปีโดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภารจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภารจำยอมดังกล่าวไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใดๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา1390 หากจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิได้อยู่แล้วโจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้วมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีส่งมอบสถานีบริการ: ศาลมีอำนาจออกหมายจับกักขังเฉพาะกรณีไม่มีวิธีอื่นในการบังคับ
การบังคับคดีให้จำเลยและบริวารออกจากสถานีบริการของโจทก์กับส่งมอบสถานีบริการนั้น โจทก์สามารถที่จะร้องขอให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้ จึงยังไม่อาจออกหมายจับจำเลยกับบริวารมากักขังได้ ส่วนเรื่องการส่งมอบเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดำเนินการสถานีบริการแก่โจทก์นั้นไม่มีวิธีอื่นใดที่โจทก์จะใช้บังคับได้ศาลจึงออกหมายจับจำเลยมากักขังไว้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ การรุกล้ำทางเดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยึดทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390
ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิสัญญาจะซื้อขาย และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองที่ดิน
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยในราคา 30,000 บาทได้วางมัดจำในวันทำสัญญา 25,000 บาท จำเลยได้เข้าปลูกสร้างโรงเรือนและอาศัยอยู่ในที่พิพาทตลอดมาเป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย จึงเป็นการยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์มิใช่เป็นการยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของ เมื่อโจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้จำเลยไม่ได้เพราะมีวัดคัดค้านการรังวัด โจทก์จึงคืนเงินให้จำเลยไปก่อน หากวัดตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ที่ของวัดจึงจะซื้อขายกันใหม่ ดังนั้นในช่วงนี้จึงจะถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทยังไม่ได้ แม้ภายหลังต่อมาจำเลยรื้อบ้านเดิม ซึ่งเป็นบ้านไม้และปลูกใหม่เป็นตึก ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถืออันเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาท คำขอของโจทก์ที่ว่าถ้า จำเลยไม่รื้อถอนให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอนโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้น ไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.