พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายทรัพย์มรดกและสินสมรส, อายุความมรดก, สิทธิของทายาทและผู้รับโอน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่อยู่กินกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่มีสินเดิม ฝ่ายชายได้ 2 ส่วนฝ่ายหญิงได้ 1 ส่วน
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
การยกให้ที่ดินที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สมบูรณ์ สำหรับปัญหาการครอบครองปรปักษ์นั้น มิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา จึงไม่รับวินิจฉัย
สินสมรสในส่วนของ ป. นั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. สามีของป. จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่จะจัดการจำหน่ายจ่ายโอนได้เพราะมิใช่มรดกของ ท. การที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์สินส่วนนี้ของ ป.ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 ต่อมา จึงไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่
สำหรับสินสมรสส่วนของ ท.นั้น เป็นมรดกของ ท. ซึ่ง ป.ภริยาของ ท. กับจำเลยที่ 1 น้องของ ท.มีสิทธิได้รับคนละกึ่งหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.มีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของ ท.โดยทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1724 การขายทรัพย์มรดกเป็นเรื่องอยู่ภายในขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกอย่างหนึ่งดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 1736 และมาตรา 1740 บัญญัติให้อำนาจไว้ แต่ถ้าผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือโดยสมยอมกัน ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237
จำเลยที่ 3 รับโอนที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป.จากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏว่าได้สมรู้หรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือรับโอนโดยไม่สุจริตอย่างไร ทั้งเป็นการรับโอนโดยมีค่าตอบแทน แม้การโอนก่อนหน้านี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะไม่สุจริต ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เป็นมรดกของ ท.ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 คงต้องเพิกถอนเฉพาะการโอนในส่วนที่เป็นสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วน เท่านั้น
จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นสินสมรสของ ท.และ ป. จากจำเลยที่ 1 โดยทราบว่ายังมีผู้อื่นนอกจากจำเลยที่ 1 ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. และจำเลยที่ 1ยังมิได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนในฐานะผู้จัดการมรดกมีส่วนได้ทรัพย์มรดกรายนี้ในฐานะทายาทด้วยครึ่งหนึ่ง จึงให้เพิกถอนการโอนเฉพาะในส่วนที่เกินสิทธิของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโฉนดนี้ไม่เต็มทั้งแปลงโดยรับโอนเพียง 16 ไร่เศษ ในจำนวน 22 ไร่เศษ กล่าวคือต้องเพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เกิน 1 ใน 3 ส่วน ของที่ดิน และเมื่อนำส่วนที่เพิกถอนไปรวมกับส่วนที่จำเลยที่ 1รับโอนไว้เองจำนวน 6 ไร่แล้ว ได้จำนวน 2 ใน 3 ส่วน ครบจำนวนตามสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของผู้จัดการมรดกยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสินสมรสส่วนของ ป. 1 ส่วนนั้น ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท.จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจอ้างอายุความมรดกมาตัดสิทธิ ป.เจ้าของหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เกี่ยวกับสินสมรสส่วนของ ท. 2 ส่วน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.นั้น การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยที่ 1 จะยกอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินสมรส แม้เป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
แม้จะเป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งผู้ให้ จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 3 ได้รับการยกให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 3 มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้อง เสียเปรียบ เพียงแต่จำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว ศาลก็เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตของผู้ซื้อช่วง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 แม้ผู้ขายช่วงจะกระทำการฉ้อฉล
ที่ดินของลูกหนี้โอนขายแก่ ส. ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อที่ดินรับโอนโฉนดจาก ส. โดยสุจริตและชำระราคาที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกันให้แก่ ส. แล้วย่อมได้รับความคุ้มครองตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์นำยึดที่ดินของผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514-1515/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาจากเหตุเนรคุณและการฉ้อฉลในการโอนทรัพย์สิน
ผู้ให้ซึ่งเป็นมารดาผู้รับพูดกับผู้รับว่า อย่าขายที่นาพิพาทเลยผู้รับกลับเถียงว่านาของกู จะขาย จะทำไม มึงยกให้กูแล้วอีแม่หมาๆ อีดอกทอง เมื่อไหร่มึงจะตาย ดังนี้ถือได้ว่าผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ให้มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้ว
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514-1515/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาจากเหตุประพฤติเนรคุณและการฉ้อฉลของผู้รับ
ผู้ให้ซึ่งเป็นมารดาผู้รับพูดกับผู้รับว่า อย่าขายที่นาพิพาทเลย ผู้รับกลับเถียงว่านาของกู จะขาย จะทำไม มึงยกให้กูแล้ว อีแม่หมาๆ อีดอกทอง เมื่อไหร่มึงจะตาย ดังนี้ถือได้ว่าผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ผู้ให้มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้ว
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าก่อนล้มละลาย และผลกระทบเมื่อผู้รับโอนรายหลังมิได้เป็นคู่ความ
ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 3 วัน บุคคลล้มละลายได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้กับเจ้าหนี้ของตนเพื่อให้เจ้าหนี้นั้นโอนขายสิทธิการเช่าต่อไปและเอาเงินมาชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นั้นก็โอนสิทธิการเช่าตึกนั้นไปและได้เอาเงินที่ได้รับไปแต่ผู้เดียว เป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ต้องยกเสีย
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ต้องยกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าก่อนล้มละลาย และผลกระทบต่อผู้รับโอนรายต่อๆ ไป
ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 3 วัน บุคคลล้มละลายได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้กับเจ้าหนี้ของตน เพื่อให้เจ้าหนี้นั้นโอนขายสิทธิการเช่าต่อไปและเอาเงินมาชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นั้นก็โอนสิทธิการเช่าตึกนั้นไปและได้เอาเงินที่ได้รับไปแต่ผู้เดียว เป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย คำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ ต้องยกเสีย
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย คำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ ต้องยกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมฉ้อฉลเจ้าหนี้และการซื้อขายโดยไม่สุจริต ส่งผลให้คำร้องขัดทรัพย์เป็นโมฆะ
โจทก์คัดค้านคำร้องขัดทรัพย์ และขอให้ยกคำร้อง
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยยกทรัพย์ให้บุตรเป็นการฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและบุตรเอาทรัพย์นี้ไปขายให้ผู้ร้อง ซึ่งรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์เสีย
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยยกทรัพย์ให้บุตรเป็นการฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและบุตรเอาทรัพย์นี้ไปขายให้ผู้ร้อง ซึ่งรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์ฉ้อฉลเจ้าหนี้และการซื้อขายโดยผู้รับซื้อไม่สุจริต ทำให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิในทรัพย์
โจทก์คัดค้านคำร้องขัดทรัพย์ และขอให้ยกคำร้อง
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยยกทรัพย์ให้บุตรเป็นการฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และบุตรเอาทรัพย์นี้ไปขายให้ผู้ร้อง ซึ่งรับซื้อไว้โดยไม่สุจริตศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์เสีย
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยยกทรัพย์ให้บุตรเป็นการฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และบุตรเอาทรัพย์นี้ไปขายให้ผู้ร้อง ซึ่งรับซื้อไว้โดยไม่สุจริตศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริต แม้การซื้อขายมีเจตนาฉ้อฉลก่อนฟ้องคดี
ตามมาตรา 238 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตเช่นในคดีร้องขัดทรัพย์ (โจทก์นำยึดทรัพย์ที่อ้างว่าเป็นของจำเลยผู้ร้อง ร้องว่าทรัพย์นั้นผู้ร้องซื้อจากจำเลยแล้ว ขอให้ถอนการยึด โจทก์คัดค้านโดยอ้างว่าการซื้อขายไม่เป็นไปโดยสุจริต เพราะจำเลยโอนทรัพย์ให้ผู้ร้องโดยการสมยอมกัน)ผู้ร้องได้โอนทรัพย์นั้นให้บุคคลภายนอกไปอีกทอดหนึ่งแล้วถ้าโจทก์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้สำเร็จผลแห่งการเพิกถอนนั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้รับโอนไป(อีกทอดหนึ่งนั้น)โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล