พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์ล้มละลายต้องดำเนินการให้ได้ราคาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
ภายหลังการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งราคาที่ดินซึ่งถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดทั้งสามแปลงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แม้ พ. จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่เมื่อที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวไม่ได้อยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันและผู้คัดค้านไม่ได้มีเจตนาที่จะขายทรัพย์สินเหล่านั้นรวมกันมาตั้งแต่ต้น การที่ผู้คัดค้านอนุญาตให้ขายที่ดินทั้งสามแปลงรวมกันไปตามคำร้องขอของ พ. ผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวนั้น จึงเป็นเหตุให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ดังนั้นการขายทอดตลาดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระหนี้จากการประมูลซื้อทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องขอขยายเวลา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดขยายระยะเวลานำเงินค่าซื้อทรัพย์มาวางครั้งหนึ่งแล้ว แต่ผู้ร้องไม่ใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ขยายให้นั้นดำเนินการชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอีกโดยอ้างเหตุเดียวกับที่ขอขยายระยะเวลาในครั้งแรก เนื่องจากการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็นดุลพินิจ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะพิจารณาสั่งตามที่เห็น สมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องครั้งหนึ่งแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะ กำหนดเวลาให้ผู้ร้องนำเงินค่าซื้อทรัพย์ไปชำระเพราะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดรวมรายการและราคาเหมาะสม แม้มีผู้สู้ราคาน้อยราย ไม่ถือเป็นเหตุให้การขายไม่ชอบ
ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอการที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไปจึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่ การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา2คนและทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการขายทอดตลาดผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดและเมื่อมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การเลื่อนการขาย, จำนวนผู้สู้ราคา, และอำนาจของผู้คัดค้าน
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอ การที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไป จึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309
การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า ต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้ แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา 2 คน และทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาด ผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้ สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด และเมื่อมีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจปรับด้วยป.วิ.พ. มาตรา 309
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดซ้ำและการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผลกระทบต่อความชอบด้วยกฎหมายของการขาย
แม้ว่าการยึดที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่2ในคดีแพ่งคดีอื่นซึ่งกระทำภายหลังจะเป็นการยึดซ้ำแต่เมื่อมีการโอนการยึดที่พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการขายทอดตลาดอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เช่นนี้การยึดซ้ำในคดีแพ่งดังกล่าวไม่มีผลทำให้การขายทอดตลาดในคดีล้มละลายไม่ชอบแต่อย่างใด ราคาประเมินของสำนักงานที่ดินจังหวัดเป็นเพียงราคาประเมินในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเท่านั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่พิพาทไปในราคาใกล้เคียงกับราคาประเมินของสำนักงานที่ดินหากแต่ต่ำกว่าราคาประเมินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งไว้โดยเทียบเคียงจากราคาในท้องตลาดอยู่มากการขายทอดตลาดที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ซ้ำในคดีล้มละลาย และการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้การยึดที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 205/2526 ของศาลชั้นต้น ซึ่งกระทำภายหลังจากที่ได้ยึดไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12250/2521 ของศาลแพ่ง เป็นการยึดซ้ำ แต่เมื่อการยึดที่พิพาทได้โอนมาไว้ในคดีล้มละลายนี้แล้ว และผู้คัดค้านได้ดำเนินการขายทอดตลาดในคดีนี้ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้าน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 เช่นนี้ การยึดซ้ำในคดีแพ่งดังกล่าวก็ไม่มีผลทำให้การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นการไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ และฎีกาผู้ซื้อทรัพย์ที่ว่า ไม่ว่าการยึดที่พิพาทซึ่งยึดไว้ในคดีแพ่ง 2 ครั้ง จะเป็นยึดซ้ำหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ร้องทราบถึงการยึดแล้วมิได้ร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงาน-บังคับคดีหรือศาลภายใน 8 วันนับแต่วันทราบ ผู้ร้องไม่มีสิทธินำมากล่าวอ้างในคดีนี้จึงไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป เป็นฎีกาไม่เป็นสาระ
ผู้คัดค้านขายที่พิพาทให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำเกินไป ไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจึงเป็นการขายที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123
ผู้คัดค้านขายที่พิพาทให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำเกินไป ไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจึงเป็นการขายที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้สู้ราคาสู้ราคาเกินกำหนด ผู้ขายมีสิทธิ์เคาะไม้ขายได้
ผู้คัดค้านได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้โดยกำหนดเงื่อนไขในการขายไว้ว่าผู้คัดค้านจะขานราคาครั้งแรกเป็นเงิน 11,400,000 บาท และผู้สู้ราคาจะต้องเสนอสู้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นเงินครั้งละ 100,000 บาท เมื่อผู้สู้ราคาเสนอสู้ราคาแล้วผู้คัดค้านจะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้ง หากมีผู้สู้ ราคาสูงขึ้นก็จะขานราคาและนับ 1 สามสี่ครั้งใหม่ การขานราคาแต่ละครั้งผู้คัดค้านจะบันทึกราคาไว้เป็นหลักฐานแล้วอ่านให้ผู้สู้ราคาซื้อทรัพย์ฟังด้วย หากไม่มีผู้ใดสู้ราคาอีกก็จะนับ 2 สามสี่ครั้ง เพื่อรอให้มีการสู้ราคาสูงขึ้น ถ้าหากไม่มีผู้ใดสู้ราคาแล้ว ผู้คัดค้านจะหยุดราคาไว้แล้วนำเสนอผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณาและมีคำสั่งว่าจะอนุมัติให้ขายหรือไม่ เมื่อมีคำสั่งประการใดผู้คัดค้านก็จะปฎิบัติตามคำสั่งนั้น ในกรณีมีคำสั่งอนุมัติให้ขายผู้คัดค้านจะนับ 3 และเคาะไม้โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาต่อไปอีก เป็นคำโฆษณาบอกขายที่ผู้คัดค้านได้แถลงไว้ก่อน เผดิมการสู้ราคา ซึ่งมีผลผูกพันผู้ซื้อตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510 เมื่อผู้คัดค้านเปิดประมูลการขายทอดตลอด ผู้เข้าสู้ราคาซื้อทรัพย์ได้เสนอราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้ทรัพย์เสนอราคาที่ 12,100,000 บาท ผู้คัดค้านได้ขานราคาและนับไปถึง 2 แล้ว ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดสู้ราคาให้สูงขึ้นไปอีกผู้คัดค้านจึงหยุดราคาไว้แล้วเสนอเรื่องให้ผู้อำนวยการขายทอดตลาดพิจารณา ระหว่างนี้ผู้ร้องได้เสนอราคาสูงขึ้นไปอีกเป็นเงิน 12,200,000 บาท แต่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมให้มีการสู้ราคาต่อไปและได้นับ 3 แล้วเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขายจากผู้อำนวยการขายทอดตลาด เช่นนี้การกระทำของผู้คัดค้านจึงชอบกฎหมาย การที่ผู้ร้องได้เสนอสู้ราคาสูงขึ้นไปอีกในระหว่างนั้น เป็นการสู้ราคาเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ผู้คัดค้านได้โฆษณาเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคาได้ การสู้ราคาดังกล่าวจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประมูลสู้ราคากันต่อไปอีก เพราะมิฉะนั้นแล้วการขายทอดตลาดก็อาจจะยืดเยื้อออกไปไม่มีที่สิ้นสุด การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายหรือในคดีอื่น ๆผลปฎิบัติย่อมจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือจะต้องขายให้เป็นผลดีทั้งแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้รวมตลอดถึงบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อมีการขายทอดตลาดไม่มีข้อโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาในท้องตลาด จึงไม่มีข้อที่จะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ การขายทอดตลาดของผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยล้มละลายในการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และขอบเขตอำนาจของคำสั่งกรมบังคับคดี
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 จะนำมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขาย-ทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จะนำ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม