คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจพิจารณาขยายเวลาโดยไม่ต้องไต่สวน เหตุผลไม่พิเศษไม่อนุญาตได้
ศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 253 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงิน และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 (4) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 253 วรรคสามได้ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลอีกหรือไม่
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายเวลาวางเงินของโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่20 ตุลาคม 2540 ของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาวันเดียวกันก็เพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ อันเป็นเงื่อนไขที่ศาลจะสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินให้แก่โจทก์นั่นเอง และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 253 วรรคสาม โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอีกว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องและคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 บัญญัติว่า การขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ว่าตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้งครั้งสุดท้ายที่ติดต่อกันตัวโจทก์แจ้งว่ายังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป หากแต่เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้ออ้างดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของผู้ร้องก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีมรดก ศาลอุทธรณ์ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(2) และ (4) มิได้บัญญัติว่าคำขออันใดจะทำได้แต่ฝ่ายเดียวห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นมีโอกาสคัดค้านก่อน และถ้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามคำขอนั้น เมื่อตามคำร้องของทนายผู้ร้องยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้ร้องถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของทนายผู้ร้องเสียก่อนแล้วส่งมายังศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของทนายผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบ 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา และการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21(2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21(4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดนอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่า ถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดี เพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ข้อที่ปรากฏในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกันนอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบและการประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้หากพยานหลักฐานในสำนวนชัดเจน
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคหนึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา21(4)แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้วเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นมิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหากตกลงแบ่งกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วนและที่ดินที่มีชื่ออ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วนหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้นกรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ส่วนที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองเป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับตามคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้นถ้าคู่ความไม่ตกลงกันก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อนถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งทั้งยังขัดขวางการแบ่งโจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนเพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคาระหว่างกันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งถอนการบังคับคดี: การไต่สวนทางลัดและการพิจารณาพยานหลักฐานเพียงพอ
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งถอนการบังคับคดีได้แนบเอกสารต่างๆที่โจทก์ได้ติดต่อดำเนินการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดสวรรคโลกในการขายทอดตลาดแทนหลายครั้งตลอดมาโดยมีจ่าศาลจังหวัดสวรรคโลกรับรองสำเนาถูกต้องและในวันนัดไต่สวนคำร้องศาลได้สอบถามทนายโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงว่าเหตุที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนการบังคับคดีเนื่องจากไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีดังกล่าวจากศาลจังหวัดสวรรคโลกศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่สอบถามไว้ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้ดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆในการบังคับคดีสมบูรณ์เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนต่อไปและการที่ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจนได้ความดังกล่าวมาถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้วฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยไม่ไต่สวนคำร้องของโจทก์ต่อไปจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการเพื่อชำระหนี้จากการประกอบกิจการพาณิชย์ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307เป็นเวลาประมาณ8เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดและจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริงจำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดและจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใดการที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอยๆว่าจำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้างพฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควรกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาแต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชย์ - พฤติการณ์ประวิงคดี
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นเวลาประมาณ 8 เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด และจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริง จำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใด การที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอย ๆ ว่า จำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้าง พฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควร กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 และตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่ แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาในคดีขับไล่: ข้อจำกัดการโต้แย้งดุลพินิจ และอำนาจศาลในการงดบังคับคดี
แม้เป็นชั้นบังคับคดี แต่เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์อันอาจให้ผู้อื่นเช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ1,000 บาท ไม่มีการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ อุทธรณ์ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใด จึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยในคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือให้งดการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 293 หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน ดังนั้นแม้ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) จะให้อำนาจศาลทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ได้ จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน
of 8