คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีและการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดี จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
แม้เป็นชั้นบังคับคดีแต่เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์อันอาจให้ผู้อื่นเช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ1,000บาทไม่มีการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใดจึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยในคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา293หรือไม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อนดังนั้นแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)จะให้อำนาจศาลทำการไต่สวนตามเห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา293ได้จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย: ศาลใช้ดุลพินิจตามเหตุผลสมควร และจำกัดค่าธรรมเนียมศาลฎีกาเฉพาะประเด็นที่ฎีกา
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลียอันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้อง ของ ทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริงจึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์ป่วย: ศาลรับฟังเหตุผลและอำนาจการไต่สวน/ตรวจสอบของศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่น อ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ อ่อนเพลีย อันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้ว มิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บ จึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง
คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้น จึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดี และเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดี จำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้ จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายความป่วย ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้เลื่อนคดีได้ การใช้ดุลพินิจศาล
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นอ้างว่าทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาว่าความได้โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงซึ่งตามใบรับรองแพทย์ระบุว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดเจ็บคอต่อมทอนซิลอักเสบอ่อนเพลียอันเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา41หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีตามมาตรา40จำเลยแถลงคัดค้านแต่เพียงว่าศาลได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้วมิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายโจทก์ที่อ้างว่าป่วยเจ็บไม่เป็นความจริงจึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงตามที่อ้างมาในคำร้องและใบรับรองแพทย์นอกจากนี้หากศาลมีความสงสัยว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าทนายโจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้สงสัยในเรื่องที่ทนายโจทก์อ้างว่าป่วยเจ็บจึงรับฟังได้ว่าทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้อันเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้อง คดีนี้จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีเท่านั้นจึงควรเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทุกประการนั้นเป็นคำขอที่เกินเลยไปจากคำฟ้องฎีกาที่ฎีกาคัดค้านเฉพาะเรื่องการเลื่อนคดีและเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ใดควรชนะคดีจำเลยก็ไม่อาจฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้จำเลยจึงหาต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'บริวาร' ผู้เช่าตึกแถว: สัญญาโอนสิทธิการเช่าทำให้มีฐานะเป็นบริวารของผู้อ้างสิทธิเดิม
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้โจทก์และบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมิใช่บริวารของโจทก์ แต่จำเลยคัดค้านว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทจะต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์หรือไม่ ซึ่งการที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยปกติศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างและข้อคัดค้านของตนแล้วจึงจะวินิจฉัยชี้ขาด แต่คดีนี้ผู้ร้องมิได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยการที่ผู้ร้องเข้าครอบครองอ้างสิทธิในตึกแถวพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์ ดังนั้นแม้จะทำการไต่สวนและฟังข้อเท็จจริงได้ตามคำร้อง ก็คงต้องฟังว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์อยู่นั่นเอง ศาลชอบที่สั่งงดการไต่สวนเสียได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า ที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องโดยตรงแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจยกปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องโดยผู้พิพากษานายเดียวเป็นผู้ลงนามในคำสั่งนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษานายเดียวที่จะออกคำสั่งได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21 (2)อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและดุลพินิจศาลในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยวิธีปิดหมาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 23 วันแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดี ทนายจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1ที่ 2 จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความ ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ไม่ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ แม้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง ใช้คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี" ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาล คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 21 (4) ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ และดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี/ไต่สวนคำร้อง
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1ที่2โดยวิธีปิดหมายจำเลยที่1ที่2มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน23วันแต่จำเลยที่1ที่2เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่1ที่2ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่1ที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ที่2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่ได้ถือได้ว่าจำเลยที่1ที่2จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่1ที่2ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน15วันนับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การแม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองใช้คำว่า"ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี"ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาลคงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อนศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ และอำนาจดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1ที่2โดยวิธีปิดหมายจำเลยที่1ที่2มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน23วันแต่จำเลยที่1ที่2เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่1ที่2ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่1ที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ที่2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่ได้ถือได้ว่าจำเลยที่1ที่2จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่1ที่2ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน15วันนับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การแม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองใช้คำว่า"ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี"ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาลคงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อนศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, ดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี, และการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยวิธีปิดหมาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 23 วันแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ 2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความ ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคสอง ใช้คำว่า"ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี" ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาล คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: จำเลยต้องทราบการฟ้องและมีเจตนาไม่ยื่น
คำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยอ้างว่าขณะที่มีการปิดสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยนั้น จำเลยไปพักอาศัยอยู่กับบุตรที่ต่างจังหวัด การพิจารณาว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าจำเลยทราบว่าตนถูกฟ้องตามหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
of 8