พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ และการใช้ดุลพินิจศาลในการเลื่อนคดีเนื่องจากเหตุป่วย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยอุทธรณ์มาตรา 198,200 และ 201 มีความหมายชัดเจนบังคับไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์แล้วเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งและกำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้อีกฝ่าย"และออกหมายนัดส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อความในหมายนัดว่า"ด้วยคดีเรื่องนี้ศาลได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ดังสำเนาอุทธรณ์แนบมาพร้อมหมายนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ทราบ" เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทราบเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1แก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการอุทธรณ์ คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ในการขอเลื่อนคดีครั้งที่ 2โจทก์มีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลมาแสดง ระบุว่าโจทก์มีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย เนื่องจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูงได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลและยังไม่มีกำหนดกลับบ้านการขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีเพราะตัวความป่วยเจ็บไม่สามารถมาศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่า โจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้และมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์เลื่อนคดีอีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์พร้อมทั้งพิพากษายกฟ้องในวันเดียวกัน โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้หากข้อกล่าวอ้างไม่น่าเชื่อถือ
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความใน ป.วิ.พ.มาตรา 307 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนตามคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ว.แพ่ง พิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้ว จึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้ว จึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา เห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป ตามคำร้องของ จำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลย ผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจอนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย ต้องพิจารณาเหตุผลและสามารถตรวจสอบความจริงได้
การอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แต่ศาลก็ต้องใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผล ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดที่ 2 ทนายผู้ร้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่า ว. กรรมการผู้จัดการของผู้ร้องป่วยปรากฏตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้องการขอเลื่อนคดีนัดที่ 2 จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่า ว. จะป่วยจริงตามใบรับรองแพทย์หรือไม่ ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยเห็นว่าผู้ร้องไม่เตรียมพยานปากอื่นมาศาลโดยมิได้แถลงว่าพยานที่เหลือมีข้อขัดข้องอย่างไรถึงไม่มาศาล ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับพยานปากอื่นของผู้ร้องมาหรือไม่มาศาลเท่านั้นหาใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะคู่ความอ้างว่าเจ็บป่วยตามมาตรา 40 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินเดือนข้าราชการเพื่อชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องโอนไม่ได้ มิใช่อายัดได้
การที่ส.ซึ่งเป็นข้าราชการสำนักพระราชวังทำหนังสือยินยอมให้กองคลัง สำนักพระราชวัง หักเงินเดือนของตนส่งชดใช้หนี้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้นั้นมีผลเท่ากับ ส. มอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทนตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิที่จะรับเงินเดือนของข้าราชการนั้นโอนกันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ย่อมจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้ ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้นควรทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายอายัดเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่นั้น เมื่อตามคำร้อง ของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งได้แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องของ โจทก์ก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินและการเพิกถอน หากราคาประเมินต่ำกว่าตลาดและชำระหนี้ได้ ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 จำนวน2 แปลง จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่าที่ดินแปลงที่ 2 มีราคาเพียงพอชำระหนี้ ขอให้ระงับการขายที่ดินแปลงที่ 1 กับอ้างว่าการประเมินราคาและการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองแปลงต่ำกว่าราคาท้องตลาดทำให้จำเลยที่ 3 เสียหาย หากเป็นจริงก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของ จำเลยที่ 3 เสียก่อนที่จะพิจารณาสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและการถอนฟ้อง: ศาลชอบที่จะยกคำร้องเพิกถอนการถอนฟ้องเมื่อข้ออ้างขัดกับเอกสารทางทะเบียน
ตามคำร้องลงวันที่ 24 ตุลาคม 2534 ของโจทก์ขอให้เพิกถอน คำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง อ้างว่า พ.และท. ได้พ้นจากตำแหน่งกรรมการของโจทก์ตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่8 กรกฎาคม 2534 แต่ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งออกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ปรากฏว่า พ.และท.ยังเป็นกรรมการของโจทก์อยู่ ทั้งในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้อ้างว่าได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของ โจทก์ภายหลังจากวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ไม่ เมื่อข้ออ้างตามคำร้อง ของโจทก์ที่ว่า พ.และท. พ้นจากตำแหน่งกรรมการของโจทก์ตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2534 ฟังไม่ได้เพราะขัดต่อหนังสือรับรองของ นายทะเบียนเช่นนี้แล้ว ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าว เสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดจำเลยที่ไม่เดินทางทันเวลานัดศาล ทำให้ศาลยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นเลื่อนการไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยไปตามคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องคำนวณระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางและออกเดินทางเสียแต่เนิ่น ๆเพื่อให้ทันเวลานัดของศาล เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องไม่ปรากฏว่ารถยนต์โดยสารที่จำเลยเดินทางมานั้น ใช้เวลาเดินทางมากกว่าปกติเกินกว่าที่คาดคิดแต่อย่างใดจึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยมาศาลไม่ทันเวลานัด เป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ไม่ออกเดินทางมาก่อนหน้านั้น ดังนั้น แม้จะฟังเป็นความจริงดังที่จำเลยอ้างในคำร้องก็ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยได้ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ทำการไต่สวนเสียก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิเรียกร้องของสมาชิก vs. อำนาจบังคับคดีเจ้าหนี้
ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นระเบียบบริหารงานภายในระหว่างสมาชิกเอง ตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ มาตรา 4 ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกเช่นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นในสหกรณ์ของจำเลย การไต่สวนคำร้อง (ในชั้นบังคับคดี) เป็นดุลพินิจของศาลว่าคำร้องฉบับใดมีความจำเป็นจะต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องหรือไม่ หากศาลเห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้อง ตามคำร้อง ก็ไม่เป็นเหตุที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมากล่าวอ้างได้ ศาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าป่วยเจ็บนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดู ว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องนั้น ตามมาตรา 41.