คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากป่วยไข้ การใช้ดุลพินิจของศาล และการไม่จำกัดการแสดงใบรับรองแพทย์
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีได้จะต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นตามที่บัญญัติไว้ในประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งศาลจะให้เลื่อนคดีหรือไม่ก็ได้ แต่ศาลก็ต้องใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลด้วย ในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นการนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่า ไม่สามารถมาศาลเพื่อซักค้านพยานโจทก์ได้เนื่องจากมีอาการปวดศีรษะ เจ็บคออันเนื่องมาจากไข้หวัด ซึ่งเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 หากข้ออ้างเป็นความจริง ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นควรให้เลื่อนคดีตามมาตรา 40 ดังกล่าว เมื่อโจทก์รับสำเนาคำร้องขอเลื่อนคดีแล้วแถลงคัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี โจทก์มิได้คัดค้านโดยตรงว่าจำเลยมิได้ป่วยเจ็บตามที่อ้างมา และมิได้คัดค้านว่าคำร้องของทนายจำเลยไม่เป็นความจริง จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บตามที่อ้างในคำร้อง การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยนั้น ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21 (4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานของศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีนั้น ตามมาตรา 41การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นมิได้มีความสงสัยในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าป่วยเจ็บตามคำร้องดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าทนายจำเลยป่วยเจ็บและไม่สามารถมาศาลได้ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้องของทนายจำเลย ส่วนข้อที่ว่าจำเลยยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาพิจารณาว่าสมควรให้เลื่อนคดี เพราะคู่ความอ้างว่าเจ็บป่วยตามมาตรา 40 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกเสียงข้างมาก ไม่ต้องขอศาลชี้ขาดหากไม่ใช่กรณีเสียงเท่ากัน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกันตามคำสั่งของศาลเมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 ยินยอมให้ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้เข้ารับโอนใบอนุญาตโรงเรียนสืบต่อจาก น. แต่ผู้ร้องที่ 2คัดค้าน ดังนี้เป็นการจัดการมรดกซึ่งผู้จัดการมรดกทำการตามหน้าที่โดยเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงเท่ากันในอันที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ที่ 3 เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวส่วนการที่ผู้ร้องที่ 2 โต้แย้งคัดค้านการที่ผู้ร้องที่ 1 ขอเข้าเป็นผู้รับโอนใบอนุญาตโรงเรียนนั้น หากต้องเสียหาย ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับผู้ร้องที่ 2เป็นคดีใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด - การพิจารณาเจตนาการขาดนัดและผลกระทบต่อสิทธิในการให้การ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่ขาดนัดพิจารณาสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ได้ หากการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยไม่จงใจ และศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม ในการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลจึงต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพื่อสิทธิตามกฎหมายของจำเลย
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา และการรับฟังพยานหลักฐานหักล้างข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าผู้ขอเป็นคนยากจน คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ จำเลยยื่นคำร้องขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยยากจน แต่ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องและคำให้การแล้วว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินส่วนของจำเลยให้โจทก์ในราคาสูงถึง 977,450 บาท ดังนี้แม้จำเลยจะมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดก็ไม่อาจรับฟังหักล้างข้อเท็จจริงที่ยุติดังกล่าวแล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยเสียได้โดยไม่ต้องไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์สั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาคดีและการจัดการผลประโยชน์จากที่ดินพิพาท
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อาจมีคำสั่งตามคำขอของคู่ความที่ขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน เพราะการสั่งในกรณีเช่นนี้กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(4) ประกอบมาตรา 264 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท1 ใน 8 ส่วน การที่โจทก์มีคำขอและศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจให้มีผู้จัดเก็บผลประโยชน์รายได้ในที่ดินเป็นดอกผลมาวางต่อศาลชั้นต้นเป็นรายเดือนจนกว่าศาลอุทธรณ์พิพากษานั้น ย่อมเป็นการสมควร เพราะหากศาลชี้ขาดตัดสินให้โจทก์ชนะคดีในที่สุดโจทก์ย่อมจะได้รับแบ่งที่ดินรวมทั้งดอกผลในทรัพย์สินส่วนที่เป็นของโจทก์ตามที่ขอบังคับมาในฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ศาลมีอำนาจสั่งขายที่ดินแยกแปลงได้ หากการขายรวมแปลงทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวมพร้อมกัน 7 แปลง จำเลยที่ 1 ร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขายที่ดินของจำเลยที่ 1 แยกทีละแปลง โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินราคาที่ดินแปลงหนึ่งไว้ในราคาตารางวาละ 2,000 บาท ราคาที่ดินทั้งแปลงมีจำนวนถึง 1,160,000 บาท แต่หนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยมีเพียง 421,000 บาท หากขายที่ดินแปลงดังกล่าวแปลงเดียวก็เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ หากความจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง ก็มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ทีละแปลงดังที่จำเลยที่ 1 ร้องขอได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 เสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ศาลชอบที่จะไต่สวนคำร้องขอขายที่ดินแยกแปลง หากมีเหตุผลที่อาจชำระหนี้ได้ด้วยการขายแปลงเดียว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 รวมพร้อมกัน 7 แปลง จำเลยที่ 1 ร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขายที่ดินของจำเลยที่ 1 แยกทีละแปลง โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินราคาที่ดินแปลงหนึ่งไว้ในราคาตารางวาละ 2,000 บาท ราคาที่ดินทั้งแปลงมีจำนวนถึง 1,160,000 บาท แต่หนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยมีเพียง 421,000 บาท หากขายที่ดินแปลงดังกล่าวแปลงเดียวก็เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ หากความจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง ก็มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลอาจพิจารณาอนุญาตให้ขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ทีละแปลงดังที่จำเลยที่ 1 ร้องขอได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 เสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่เนื่องจากจำเลยไม่นำพยานมาสืบพยาน ทำให้คำร้องไม่ได้รับการพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยโดยอ้างเหตุว่า คำร้องของจำเลยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จำเลยจะฎีกาคัดค้านในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพราะเห็นว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบด้วย และคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยเหตุผลแล้วเช่นนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลฎีกาหยิบยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยขึ้นไต่สวนต่อไปตามข้อฎีกาของจำเลยได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาเนื่องจากป่วย ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนสั่งปรับผู้ประกัน
จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยอ้างเหตุว่าป่วย และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง หากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าจำเลยป่วยจริง ก็ชอบที่จะไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยประวิงคดี จงใจไม่มาฟังคำพิพากษาและสั่งว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยมิได้มีการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบแม้ผู้ประกันร่วมจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ประกันร่วมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247,243(2),245(1) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม การมอบหมายให้ผู้อื่นชำระหนี้แทน และเหตุสุดวิสัย
จำเลยทั้งสองไม่นำเงินมาวางต่อศาลตามกำหนดโดยอ้างว่ามารดาป่วยกะทันหันต้องเดินทางไปเยี่ยมที่ต่างจังหวัดนั้น มิใช่ความจำเป็นถึงขนาดจะนำเงินมาวางศาลไม่ได้เพราะการนำเงินมาวางศาลมิใช่กิจการที่จำเลยทั้งสองจะต้องทำเองโดยเฉพาะตัว ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 205 ศาลยกคำร้องของจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องไต่สวน.
of 8