คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 21 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน: ต้องบังคับจากลูกหนี้ชั้นต้นก่อน หากพิสูจน์ได้ว่ามีทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินให้แก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ใช้แทนจนครบ โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 838/2494) ดังนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับชำระหนี้นั้นจะต้องไม่เป็นการยากด้วย (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 980/2513)
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีที่ดิน 2 แปลง แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเลือกบังคับจากจำเลยคนใดก็ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินดังกล่าวอ้างอันจะบังคับชำระหนี้ให้โจทก์ได้หรือไม่ จึงควรที่ศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการไต่สวนในเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน ไม่ควรให้โจทก์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน: ต้องบังคับทรัพย์สินลูกหนี้ชั้นต้นก่อน และพิสูจน์ทรัพย์สินลูกหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินให้แก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ใช้แทนจนครบ โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 838/2494) ดังนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับชำระหนี้นั้นจะต้องไม่เป็นการยากด้วย (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 980/2513)
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีที่ดิน 2 แปลง แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเลือกบังคับจากจำเลยคนใดก็ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินดังกล่าวอ้างอันจะบังคับชำระหนี้ให้โจทก์ได้หรือไม่ จึงควรที่ศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการไต่สวนในเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน ไม่ควรให้โจทก์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องห้ามชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน ไม่ตรงกับประเด็นที่ฟ้อง และไม่มีเหตุให้บังคับวางประกัน
โจทก์ฟ้องว่า ป. ทำพินัยกรรมยกที่นาพิพาทให้โจทก์เมื่อ ป. ตายแล้ว จำเลยลอบไปขอรับมรดกที่นานั้นเจ้าพนักงานหลงเชื่อจึงทำนิติกรรมโอนที่พิพาทให้จำเลยขอให้ศาลแสดงว่าการโอนมรดกที่พิพาทนั้นเป็นโมฆะ และแสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ต่อมาในระหว่างการพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ห้ามชั่วคราวก่อนพิพากษา ความว่า โจทก์เคยให้ ช. เช่าทำนาในที่พิพาท แต่จำเลยให้ผู้อื่นเข้าไถหว่านในนาพิพาททำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้เปลืองไปเปล่าปีละ 2,500 บาท ขอให้ศาลไต่สวนและสั่งห้ามจำเลยและบริวารเข้าครอบครองทำนาพิพาท หรือมิฉะนั้นก็ให้จำเลยวางเงินประกันการเสียหายปีละ2,500 บาท คำขอของโจทก์ดังนี้ไม่เข้ากรณีแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) และมาตรา 264 ศาลอาจยกคำร้องโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและความจงใจของจำเลยก่อนมีคำสั่ง
การที่จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดศาลจะอนุญาตให้ยื่นได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า การที่จำเลยไม่ได้ยื่นภายในกำหนดนั้น เป็นเพราะจำเลยจงใจหรือไม่จงใจ หรือเพราะมีหรือไม่มีเหตุสมควรประการอื่น ถ้าปรากฎว่าจำเลยมิได้จงใจหรือจำเลยมีเหตุที่เกิดความจำเป็นแก่จำเลยอันสมควรผ่อนผันให้ได้ ก็ให้ศาลรับคำให้การไว้
ในกรณีดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฎชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลต้องพิจารณาเหตุผล หากมิได้จงใจหรือมีเหตุสมควร ศาลควรอนุญาต
การที่จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลจะอนุญาตให้ยื่นได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า การที่จำเลยไม่ได้ยื่นภายในกำหนดนั้น เป็นเพราะจำเลยจงใจหรือไม่จงใจ หรือเพราะมีหรือไม่มีเหตุสมควรประการอื่น ถ้าปรากฏว่าจำเลยมิได้จงใจหรือจำเลยมีเหตุที่เกิดความจำเป็นแก่จำเลยอันสมควรผ่อนผันให้ได้ ก็ให้ศาลรับคำให้การไว้
ในกรณีดังกล่าวนี้ ถ้าข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาต
of 8